พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย และสิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จกรณีพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมา ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลย ทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอน เมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย: สิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่1ลงวันที่6ตุลาคมพ.ศ.2519พ.ศ.2519ออกใช้บังคับแล้วจำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมาดังนั้นการที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลยทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอนเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิ่มวงเงินค้ำประกันนอกเหนือหน้าที่ ไม่เป็นเหตุให้เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์เพิ่มวงเงินค้ำประกันจาก30,000บาทเป็น50,000บาทเป็นคำสั่งอันนอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของโจทก์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันเพิ่มขึ้นได้ตามความประสงค์ของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิ่มวงเงินค้ำประกันที่ไม่เกี่ยวข้องงาน ย่อมต้องจ่ายค่าชดเชย
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์เพิ่มวงเงินค้ำประกันจาก 30,000 บาท เป็น 50,000 บาท เป็นคำสั่งอันนอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันเพิ่มขึ้นได้ตามความประสงค์ของจำเลย ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงและค่ารับรองของพนักงานขายต่างจังหวัด: พิจารณาว่าเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าชดเชย
ตามลักษณะงานของลูกจ้างลูกจ้างต้องออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละประมาณ25วันระหว่างออกไปปฏิบัติงานนั้นนายจ้างจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าที่พักและค่าอาหารแก่โจทก์วันละ230บาทและมีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายเพราะโจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานส่วนเงินค่ารับรองวันละ15บาทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดนั้นแม้จะมีจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่ายแต่โดยลักษณะของเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่ารับรองลูกค้าของนายจ้างที่ลูกจ้างไปติดต่อด้วยจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการทำงานของลูกจ้างมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงและค่ารับรองลูกจ้าง: พิจารณาเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่
ตามลักษณะงานของลูกจ้าง ลูกจ้างต้องออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 25 วัน ระหว่างออกไปปฏิบัติงานนั้นนายจ้างจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าที่พักและค่าอาหารแก่โจทก์วันละ 230 บาท และมีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายเพราะโจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงิน เบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ส่วนเงินค่ารับรองวันละ 15 บาทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดนั้น แม้จะมีจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย แต่โดยลักษณะของเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่ารับรองลูกค้าของนายจ้างที่ลูกจ้างไปติดต่อด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการทำงานของลูกจ้าง มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งไม่ผิดกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เกินความจำเป็นและเป็นธรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่1นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงานเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา99แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำจึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนหากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา99ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้โจทก์มีอำนาจฟ้อง. จำเลยที่1ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม10ข้อตกลงกันได้3ข้อคงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก7ข้อต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ยังมีอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา22วรรคสามการที่จำเลยที่1ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่8แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่9เดือนเดียวกันโดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้องและจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นสิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1จึงไม่สิ้นไป. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตนมิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงันฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้างดังนั้นถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบการนัดหยุดงานเป็นช่วงๆเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับเพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลังๆจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งเป็นธรรมได้ ไม่จำกัดเพียงครั้งเดียว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงาน เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำ จึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน หากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา 99 ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรงจากการมึนเมาและประพฤติตนไม่เหมาะสม
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงานพูดจาก้าวร้าวท้าทายส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไปเป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัยทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชาและเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไปถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง: มึนเมาในที่ทำงาน, ก้าวร้าว, ละทิ้งหน้าที่
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงาน พูดจาก้าวร้าวท้าทาย ส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไป เป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัย ทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชา และเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย