คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนกัน สัญญากู้เงิน และการชำระหนี้ด้วยเช็ค: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์มีฐานะเป็นทั้งบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์และจำเลยรับว่าโจทก์มีอำนาจให้กู้ยืมเงินในฐานะเป็นบริษัทเงินทุนได้แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าในฐานะที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ โจทก์มีอำนาจให้กู้ยืมเงินหรือไม่ต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ถือว่าไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 หุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องปฏิบัติการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1129 แม้หุ้นจะมิได้มีชื่อจำเลยก็จะถือว่ามิใช่หุ้นของจำเลย และโจทก์มิได้ซื้อหุ้นให้จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ซื้อขายหุ้น ให้จำเลย และจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อขายหุ้นแก่โจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์เพื่อชำระหนี้ การที่จำเลยได้รับเช็คจำนวนเงินตามที่กู้และนำเช็คนั้นไปชำระหนี้โจทก์จนเป็นเหตุให้หนี้ระงับไป ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้แล้วสัญญากู้จึงบริบูรณ์มีมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้างโดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาลโดยทำสัญญาไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับจำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใดเพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาสัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญยาประกันต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใดๆก็ดีถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า'ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161,167และตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกันต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้อง ของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลย จึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งนายจ้าง กรณีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและลูกจ้างทราบคำสั่ง
จำเลยประกอบกิจการสถานบริการบังกะโลมีคำสั่งมิให้พนักงานหยุดงานในวันที่ 5,6,7 เมษายนเพราะจำเลยมีความประสงค์จัดการแสดงอาหารและบริการของจำเลย เพื่อเรียกร้องความสนใจแก่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จึงสั่งให้พนักงานจัดแสดงอาหารตกแต่งสถานที่และประดับไฟ ให้สวยงามกว่าปกติ การแสดงดังกล่าวย่อมมีความสำคัญ ต่อกิจการของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อันเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง หยุดงานหรือไม่มาทำงาน ในวันที่ 6,7 โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบย่อมมีผลกระทบกระเทือน ต่อกิจการของจำเลยโดยตรง ถือว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลย เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ45กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้างเมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยแสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้นนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้วนายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้างสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่12มิถุนายน2525ถึงวันที่12มิถุนายน2526โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้างและนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ2ครั้งคือวันที่1และวันที่16ของเดือนดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่16มิถุนายน2526เป็นต้นไปเมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเริ่มนับจากวันเลิกจ้าง ส่วนค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีเริ่มนับจากวันจ่ายค่าจ้างปกติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว กรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกินหนึ่งปี และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปีเมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้วถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมาและในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน3ปีแล้วโจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2526ไปแล้วส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่2พฤศจิกายน2526โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527จำนวน6วันให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ45 ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน2526และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2พฤศจิกายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้องเมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป.
of 216