คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงเพื่อฆ่า แม้ไม่ถูกตัวผู้เสียหาย และเหตุผลการลดโทษตามมาตรา 78
จำเลยกับผู้เสียหายเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทำทีขอนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของพลตำรวจส.เมื่อสบโอกาสจำเลยแย่งเอาอาวุธปืนของพลตำรวจส.แล้ววิ่งไปทางบ้านพักที่เกิดเหตุครั้งพบผู้เสียหายและอยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ2.50เมตรจำเลยชักอาวุธปืนออกยิงผู้เสียหายทันทีพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยได้ทะเลาะโต้เถียงกับผู้เสียหายหรือผู้เสียหายได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อจำเลยซึ่งมีลักษณะเป็นการข่มเหงการที่จำเลยและผู้เสียหายต่างเป็นภรรยาของสิบตำรวจโทพ.ไม่ว่าจำเลยจะเป็นภรรยามาก่อนหรือไม่ก็ตามจำเลยจะอ้างว่าตนถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่แต่การที่จำเลยเบิกความยอมรับว่าจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปในวันเกิดเหตุและกระสุนปืนของจำเลยได้ลั่นขึ้นนั้นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลถือเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยความตกลงและผลกระทบด้านค่าชดเชย สิทธิการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างวันหยุด
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกันตามมติที่ประชุมของพนักงานบริษัทเพราะบริษัทดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรประกอบกับค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ เป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง บริษัทจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์และจำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันที่ 28 ของเดือนจำเลยบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2529 การเลิกจ้างย่อมมีผลในวันที่ 28 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างในคราวถัดไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันบอกกล่าว จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 รวม 57 วัน คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดวันฟังคำพิพากษานั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งแต่มิได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411-2415/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยความยินยอมของลูกจ้าง ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเรียกประชุมพนักงานของบริษัท ชี้แจงให้ทราบว่าบริษัทประสบปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ ขอให้ที่ประชุมลงมติเลิกสัญญาจ้างพนักงาน เมื่อมติของที่ประชุมพนักงานบริษัทตกลงเลิกสัญญาจ้างจึงมีผลเท่ากับจำเลยเลิกสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นการให้ลูกจ้างออกจากงาน ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการแสดงเจตนาครอบครองด้วยการถมที่และล้อมรั้ว
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิเหนือที่พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมก็ดีโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ดีหรือที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดีพร้อมกับฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่จำเลยนั้นฟ้องแย้งของจำเลยก็คือเหตุผลอันเดียวกับที่ให้การไว้ซึ่งจำเลยชอบที่จะอ้างสิทธิต่างๆขึ้นใช้ยันโจทก์เพราะไม่แน่ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงในรูปใดฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและไม่เคลือบคลุม การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่นแม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แม้เจ้าของเดิมมิได้เข้าอยู่หรือมอบหมายให้ผู้อื่นอยู่แทน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิเหนือที่พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมก็ดีโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ดีหรือที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดีพร้อมกับฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่จำเลยนั้นฟ้องแย้งของจำเลยก็คือเหตุผลอันเดียวกับที่ให้การไว้ซึ่งจำเลยชอบที่จะอ้างสิทธิต่างๆขึ้นใช้ยันโจทก์เพราะไม่แน่ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงในรูปใดฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและไม่เคลือบคลุม. การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่นแม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การถมที่และล้อมรั้วถือเป็นการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิเหนือที่พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมก็ดี โดยการครอบครองปรปักษ์ก็ดี หรือที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดีพร้อมกับฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ให้โจทก์ไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่จำเลยนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยก็คือเหตุผลอันเดียวกับที่ให้การไว้ ซึ่งจำเลยชอบที่จะอ้างสิทธิต่าง ๆ ขึ้นใช้ยันโจทก์ เพราะไม่แน่ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงในรูปใด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและไม่เคลือบคลุม
การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่น แม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ, ค่าชดเชย, และสิทธิในการรับค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเงินบำเหน็จ, ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, และสิทธิการหักเงินบำเหน็จในกรณีเกษียณอายุ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณเงินบำเหน็จและค่าชดเชย, สิทธิการหักเงินบำเหน็จ, และสิทธิค่าทำงานในวันหยุดของกัปตันเรือ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า '..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือน คูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท' คำว่า เงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริง ค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจา และการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัย โดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้ และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะ กำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วย โจทก์ซึ่งเป็นกัปตัน หรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 43 และ 36(1)
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 9 (ค) ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้ จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วย ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง ทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้ว จึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขัดคำสั่งย้ายงาน และขอบเขตโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับ
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษทางวินัยไว้ 2 สถานคือสถานเบาและสถานหนัก ข้อ 18 ก. เป็นโทษสถานเบาซึ่งกำหนดข้อห้ามในเรื่องไม่มีความสำคัญ ข้อ 18 ก.23 กำหนดว่าละเลยไม่เอาใจใส่ต่อประกาศและคำสั่งต่าง ๆ ของโรงแรม จึงหมายความว่าเป็นเรื่องที่จำเลยออกประกาศหรือคำสั่งใด ๆ ที่กำหนดถึงการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญนัก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานขายจัดเลี้ยง การที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลยได้ ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อยอันจะพึงได้รับโทษสถานเบา เมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดความผิดในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีต้องปรับด้วยบทกฎหมายที่มีอยู่คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า
คำว่าค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมายความรวมถึงค่าทนายความด้วย คู่ความจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระ
of 216