พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดคำสั่งโยกย้าย และขอบเขตโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับ
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษทางวินัยไว้2สถานคือสถานเบาและสถานหนักข้อ18ก.เป็นโทษสถานเบาซึ่งกำหนดข้อห้ามในเรื่องไม่มีความสำคัญข้อ18ก.23กำหนดว่าละเลยไม่เอาใจใส่ต่อประกาศและคำสั่งต่างๆของโรงแรมจึงหมายความว่าเป็นเรื่องที่จำเลยออกประกาศหรือคำสั่งใดๆที่กำหนดถึงการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญนักจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานขายจัดเลี้ยงการที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลยได้ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อยอันจะพึงได้รับโทษสถานเบาเมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดความผิดในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะกรณีต้องปรับด้วยบทกฎหมายที่มีอยู่คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เมื่อโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า. คำว่าค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานหมายความรวมถึงค่าทนายความด้วยคู่ความจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ หากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ส. กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้น จึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรค 2(2) ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ สัญญาเป็นโมฆะ
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส.และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรค2(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวไม่ผูกพันบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามป.วิ.พ.มาตรา138วรรคสอง(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนเมื่อเลิกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายหากไม่ได้กำหนดวันหยุดให้ลูกจ้าง
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีรวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุหาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่และไม่ปรากฏว่าหัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากองและหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ45แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างวันพักผ่อนประจำปี แม้สั่งให้ใช้สิทธิก่อนเกษียณ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันหยุด
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปี รวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุ หาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่ และไม่ปรากฏว่า หัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากอง และหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ 45 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเกษียณอายุ แม้นายจ้างมีหนังสือแจ้งให้ใช้สิทธิลาพักผ่อน แต่ยังไม่ได้กำหนดวันหยุด
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีรวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุหาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่และไม่ปรากฏว่าหัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากองและหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ45แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การคลังสินค้า ต้องนับตามระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วิธีคำนวณบำเหน็จ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานพ.ศ.2528ข้อ9วรรค2ประกอบกับข้อ11ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น.ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลาดังนั้นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอกซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ14นั้นเป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้วโดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงานอนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง6เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น1ปีมาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ ต้องนับตามข้อบังคับขององค์กร โดยระยะเวลาทำงานไม่ครบ 5 ปี ไม่มีสิทธิรับ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงาน พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรค 2 ประกอบกับข้อ 11 ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์ และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น. ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลา ดังนั้น เกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอก ซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ 14 นั้น เป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้ว โดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน อนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง 6 เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น 1 ปี มาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้ จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จไม่ผูกพันลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 10 นั้น แม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ข้อบังคับข้อ 12 วรรคแรกจะระบุว่า 'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น' ก็ตาม แต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า 'ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่ 30 พฤษภาคม 2526' เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์