พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ย กรณีลูกจ้างลากิจ/ลาป่วยเกินกำหนด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การลากิจ/ลาป่วย, และการคำนวณวันเลิกจ้าง
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด 45 วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไป ยอมให้เลิกจ้างได้ ดังนี้ แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี อีก ก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้น ส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า หากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้าง ทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนด & เลิกจ้างมีเหตุผล: ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง ไม่รับอุทธรณ์ & ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเกินกำหนดสิบห้าวันโดยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบแม้ศาลแรงงานกลางจะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาก็หาทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบแล้วนั้นกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบไม่ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย บทบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522และบทบัญญัติในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เรื่องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นกฎหมายทั้งสามฉบับนี้มีวัตถุประสงค์และมีที่ใช้ต่างกันจะเทียบเคียงแปลปรับเข้าด้วยกันมิได้การที่จะวินิจฉัยว่าการใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522หรือมิใช่นั้นจะต้องพิเคราะห์ว่ามีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญนายจ้างเชื่อว่าลูกจ้างมีส่วนพัวพันกับการพยายามฆ่าย. ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างทำให้นายจ้างไม่ไว้วางใจลูกจ้างจึงสั่งเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุเพียงพอ แม้ลูกจ้างมิได้กระทำผิด
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น จักต้องพิเคราะห์ว่ามีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ บางกรณีแม้ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดแต่นายจ้างขาดทุน นายจ้างก็อาจเลิกจ้างผู้นั้นเสียได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีการลอบฆ่า ย.ผู้จัดการบริษัทจำเลย แต่ไม่มีพยานหลักฐานแสดงแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเชื่อว่ามีส่วนพัวพันกับการพยายามฆ่า ย.จึงไม่ไว้วางใจโจทก์ เป็นการเลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงเงินสะสม: เงินสะสมกับค่าเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อไม่เกี่ยวข้องกัน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วง
เงินสะสมที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยกับค่าเสียหายของจำเลยอันเนื่องจากการที่โจทก์ปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครองอยู่โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้น จำเลยหามีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เมื่อหักกลบลบหนี้ไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และไม่ได้ศึกษาต่อ
บุตรของผู้ตายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 50(3) มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบกำหนดตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน แต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หากขาดคุณสมบัติดังกล่าวแล้วแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้จะมิได้กำหนดให้ส่วนแบ่งของบุตรของผู้ตายเป็นอันยุติหรือเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในข้อ 50 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้ส่วนแบ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นอันยุติก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นอันยุติไปโดยผลของข้อ 50(3) เมื่อส.บุตรของผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของ ส.จึงเป็นอันยุติ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ ส. และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้สิทธิของ ส.โอนหรือตกทอดไปยังโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรอีกผู้หนึ่งของผู้ตาย หรือมิได้กำหนดให้จำเลยต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส. มาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณค่าจ้าง และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการฟ้องร้อง
ข้อที่จำเลยให้การว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงจงใจขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์ นั้น จำเลยมิได้แสดงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการอย่างไร หรือขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในเรื่องใด เป็นคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่มีประเด็นที่จำเลยนำสืบ ส่วนคำให้การเรื่องข่มขู่อาฆาตจะทำร้ายหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์และข่มขู่จะทำความเสียหายแก่เครื่องจักรของจำเลย มีความหมายอยู่ในตัว โจทก์ย่อมเข้าใจ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การว่า การข่มขู่กล่าวด้วยถ้อยคำอย่างไรก็เป็นรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ คำให้การของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทสำหรับคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่เคยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าข้อตกลง หากทำเกินข้อตกลง จำเลยก็ได้จ่ายค่าทำงานดังกล่าวไปแล้ว เป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง จึงมีประเด็นข้อพิพาท แม้จำเลยจะมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุแห่งการปฏิเสธอันทำให้ไม่มีสิทธิสืบหักล้าง แต่โจทก์ก็มีหน้าที่สืบให้สมฟ้อง จะอ้างว่าจำเลยยอมรับตามฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานหาได้ไม่.
แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่ง ๆ ไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่า เวลาทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลา เวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐาน เพื่อคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ
โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้ คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ระบุว่า 'ข่มขู่ลูกจ้างอื่น' ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับ เช่น ตักเตือน ลดเงินเดือนพักงาน หรือไล่ออกจากงาน มิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียว แสดงว่า แม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับ ทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่น หามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่ การกระทำของโจทก์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า.
ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า 'เดือน' ไว้ว่า ให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใด ๆ ในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินดังนั้น เงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือน กรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือน เงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วน แม้โจทก์จะทำงาน 14 วัน หยุด 14 วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ 14 วันแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือน เพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น
แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่ง ๆ ไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่า เวลาทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลา เวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐาน เพื่อคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ
โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้ คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ระบุว่า 'ข่มขู่ลูกจ้างอื่น' ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับ เช่น ตักเตือน ลดเงินเดือนพักงาน หรือไล่ออกจากงาน มิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียว แสดงว่า แม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับ ทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่น หามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่ การกระทำของโจทก์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า.
ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า 'เดือน' ไว้ว่า ให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใด ๆ ในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินดังนั้น เงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือน กรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือน เงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วน แม้โจทก์จะทำงาน 14 วัน หยุด 14 วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ 14 วันแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือน เพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานประกอบการรับฟังความผิดอาญา แม้ประจักษ์พยานเบิกความไม่สอดคล้องกับคำให้การเดิม
กรณีที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาสืบหรือประจักษ์พยานไม่ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายโดยเบิกความขัดกับคำให้การชั้นสอบสวนโดยปราศจากเหตุผลหากโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นก็อาจใช้ประกอบกันเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วย: การเลิกจ้างเป็นธรรมเมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และการมอบอำนาจเลิกจ้างชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่พนักงานขับรถตามตำแหน่งได้ จำเลยไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์จะมีโอกาสหายจากโรคดังกล่าวหรือไม่ และไม่สามารถหางานอื่นที่เหมาะสมให้ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้