คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประจำ vs. ลูกจ้างชั่วคราว: วัตถุประสงค์การจ้างสำคัญกว่าจำนวนวันทำงาน
ข้อแตกต่างระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการจ้าง ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนวันทำงานหรือค่าจ้างในแต่ละเดือน ถ้านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างไว้เป็นประจำก็ถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ แต่ถ้าตกลงจ้างไว้เพียงเพื่อให้ทำงานซึ่งมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรือเป็นงานตามฤดูกาลก็ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว เมื่อจำเลยจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างประจำหรือจ้างชั่วคราว และมิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ แต่ลักษณะงานของจำเลยเป็นงานซึ่งมีอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำเสร็จครั้งหนึ่งแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกันไปโดยไม่มีงานให้ทำอีก ต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานไปตามปกติจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ข้อตกลงที่ให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ โดยจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานนั้น เป็นข้อตกลงกำหนดจำนวนวันทำงานและค่าจ้างกันเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าบริการโรงแรมไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ใช้คำนวณค่าชดเชยไม่ได้
เงินค่าบริการที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นเงินที่นายจ้างคิดเพิ่มจากผู้ที่มาใช้บริการของโรงแรมอีกร้อยละสิบของค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าที่พักและค่าบริการต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ของนายจ้างจะเก็บรวบรวมไว้ หากมีความเสียหายที่เกิดจากผู้ที่มาใช้บริการนายจ้างก็จะนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปชดใช้ค่าเสียหาย เหลือเท่าใดจึงนำไปแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่ากัน ซึ่งในแต่ละเดือนเป็นจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้ที่มาใช้บริการและค่าเสียหายดังกล่าว ดังนี้ เงินค่าบริการจึงเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าแทนลูกจ้างโดยประสงค์ให้ตกเป็นของลูกจ้างทั้งหมด และกรณีนายจ้างเรียกเก็บไม่ได้ เพราะไม่มีผู้มาใช้บริการ นายจ้างก็ไม่มีข้อผูกพันว่าจะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างจ่ายให้แก่นายจ้างโดยตรงเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินโดยทั่วถึงกันเท่านั้น มิใช่เป็นการเรียกเก็บค่าบริการเอาเป็นของนายจ้างเองแล้วจัดแบ่งแก่ลูกจ้างในภายหลัง เงินค่าบริการจึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประพฤติชั่วร้ายแรง: การพกพาอาวุธปืนและประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานได้หากลูกจ้างประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การที่ลูกจ้างพกพาอาวุธปืนและนำไปจ่อหน้าอกเด็กชาย ต. ในขณะที่ลูกจ้างมึนเมาสุรา กระสุนปืนลั่นโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กชาย ต.ถึงแก่ความตาย ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้ และลูกจ้างยังถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ อีกกระทงหนึ่งซึ่งศาลได้พิพากษาจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้อีกเช่นเดียวกันกรณีดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างได้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุที่นายจ้างจะไล่ออกจากงานได้ตามระเบียบดังกล่าวแล้ว การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม และนายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1715/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำผิดวินัยต้องตักเตือนก่อนเลิกจ้าง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 7.5 ที่ว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้างและข้อ 7.6 ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลาทำงาน และไม่หลับนอนในระหว่างการทำงาน แต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) ส่วนจะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ ข้ออื่นหรือไม่ คำสั่งเลิกจ้างหาได้ระบุความผิดดังกล่าวไว้ไม่ จึงไม่มีประเด็นสำหรับความผิดนั้นและไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยในข้อบังคับบริษัทต่างชาติ: ศาลวินิจฉัยตามคำแปลภาษาไทยที่ยื่นต่อศาล
การที่ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ได้รวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้นต้องถือว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวไม่มีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วย เอกสารภาษาต่างประเทศเมื่อจำเลยทำคำแปลเป็นภาษาไทยมาแล้วถือว่าถูกต้องตามเอกสารนั้นจำเลยจะโต้แย้งภายหลังว่าคำแปลไม่ถูกต้องหาได้ไม่ ป.พ.พ.มาตรา14จะใช้บังคับในกรณีมีเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งทำขึ้นเป็นสองภาษาแต่ข้อบังคับการทำงานของจำเลยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษส่วนภาคภาษาไทยเป็นคำแปลเท่านั้นศาลจึงย่อมวินิจฉัยตามภาษาไทยที่แปลมานั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในรถยนต์หลังซื้อขายและอำนาจฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ที่ 1 ขอซื้อรถยนต์จากบริษัท ส.โดยมีข้อสัญญาไม่ให้โจทก์ที่ 1 จำหน่ายจ่ายโอนหรือให้ผู้อื่นครอบครองใช้รถยนต์คันนั้น ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบริษัท ส. ก็ทราบและไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญากับโจทก์ที่ 1 คงรับเงินค่างวดรถจากโจทก์ที่ 1 ตลอดมา เมื่อโจทก์ที่ 1 ขายรถให้โจทก์ที่ 2 แล้วก็ได้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ที่ 2 ใช้ประโยชน์ในรถคันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 รับโอนรถคันพิพาทมาโดยชอบ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดทำให้รถเสียหายได้
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานซ้ำหลังได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
เอกสารมีข้อความว่า '......เรียนนายบุญมีเนื่องด้วยท่านได้ประพฤติผิดระเบียบของห้างดังนี้......16 ขาดงานบ่อยไม่ตั้งใจทำงาน......ถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบของห้าง ฯ จึงขอแจ้งให้ท่านทราบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป โดยการลงโทษดังนี้เตือนด้วยวาจา......' ท้ายเอกสารนี้โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบต่อท้ายลายมือชื่อผู้ตักเตือนไว้ เอกสารดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความผิดที่กระทำ และให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป จึงมีลักษณะเป็นการตักเตือนโจทก์ในความผิดนั้นแล้ว หาใช่เป็นเพียงบันทึกการเตือนด้วยวาจาไม่ เมื่อโจทก์ขาดงานเป็นการละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองแทนกัน การคืนเงินที่เสียไป และลาภมิควรได้
คดีเดิมศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าโจทก์ไม่มีอำนาจชำระหนี้จำนองเป็นหน้าที่ของจำเลยจะนำเงินไปชำระแก่ผู้รับจำนองคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความการที่โจทก์ชำระหนี้จำนองโดยตนมิได้เป็นหนี้และมิได้มีเจตนากระทำแทนจำเลยจึงไม่ทำให้โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองแต่ทำให้ที่พิพาทของจำเลยปลอดจากภาระจำนองเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ต้องชำระหนี้จำนองอีกกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยได้ที่พิพาทโดยปลอดภาระจำนองโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้เสียไปในการไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การพิสูจน์รายจ่าย และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่. คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517แต่ไม่เต็มตามที่อ้าง. ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517จริงแต่ไม่เต็มตามที่อ้าง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.
of 216