คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการไม่จดประเด็นข้อพิพาท: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) วรรคแรก เมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวัน การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2523 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา การถูกสั่งพักงาน ถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญา ไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาท ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ซ้อนในคดีแรงงาน: ผลของการถอนฟ้อง, คดีค้างพิจารณา, และขอบเขตคำพิพากษา
โจทก์ทุกคนในคดีนี้ยกเว้นโจทก์ที่ 17 และที่ 47 เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้ลงชื่อในคำฟ้องหรือแต่งตั้งบุคคลอื่นดำเนินคดีแทน ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะโจทก์ที่ลงชื่อในคำฟ้องและยกฟ้องโจทก์ที่มิได้ลงชื่อดังกล่าว โจทก์ที่ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมิได้มีการกำหนดให้คำพิพากษาผูกพันนายจ้างและลูกจ้างอื่นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องเนื่องจากมิได้ลงชื่อในคำฟ้องและมิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนด้วย และเมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทของโจทก์อื่นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ในคดีนี้บางคนเคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง และได้ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางอนุญาต จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกา ศาลแรงงานกลางไม่รับอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลฎีการะหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อคดีก่อนยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกาแล้ว โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ ฟ้องของโจทก์เฉพาะโจทก์ที่เคยฟ้องจำเลยมาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ส่วนการถอนฟ้องของโจทก์ดังกล่าวอันจะทำให้มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่การถอนฟ้องได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ผลของการถอนฟ้องและการพิจารณาคดีค้างพิจารณา
โจทก์ทุกคนในคดีนี้ยกเว้นโจทก์ที่17และที่47เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้ลงชื่อในคำฟ้องหรือแต่งตั้งบุคคลอื่นดำเนินคดีแทนศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะโจทก์ที่ลงชื่อในคำฟ้องและยกฟ้องโจทก์ที่มิได้ลงชื่อดังกล่าวโจทก์ที่ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาศาลฎีกาพิพากษายืนดังนี้เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมิได้มีการกำหนดให้คำพิพากษาผูกพันนายจ้างและลูกจ้างอื่นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา53คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องเนื่องจากมิได้ลงชื่อในคำฟ้องและมิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนด้วยและเมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทของโจทก์อื่นดังกล่าวฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ในคดีนี้บางคนเคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและได้ขอถอนฟ้องศาลแรงงานกลางอนุญาตจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกาศาลแรงงานกลางไม่รับอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลฎีการะหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อคดีก่อนยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกาแล้วโจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ฟ้องของโจทก์เฉพาะโจทก์ที่เคยฟ้องจำเลยมาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173ส่วนการถอนฟ้องของโจทก์ดังกล่าวอันจะทำให้มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องฯตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176นั้นจะต้องเป็นกรณีที่การถอนฟ้องได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนแรงงาน: หนังสือแจ้งผลสอบข้อเท็จจริงไม่ใช่คำสั่งโต้แย้งสิทธิ
จำเลยที่2เป็นนายทะเบียนตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งมีหน้าที่พิจารณาการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานสหพันธ์นายจ้างหรือสหพันธ์แรงงานกับสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างตลอดจนหน้าที่อื่นๆอันเป็นการรับจดทะเบียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยร้องเรียนต่อจำเลยที่2ว่าการประชุมใหญ่ของสภาองค์การลูกจ้างฯเป็นโมฆะและจำเลยที่2ได้มีหนังสือถึงโจทก์แสดงข้อเท็จจริงและความเห็นที่จำเลยที่2ตรวจสอบจากหลักฐานต่างๆโดยมิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำเช่นนั้นจึงมิใช่คำสั่งเรื่องการเป็นโมฆะมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนการจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้สิทธิประโยชน์ไม่ต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีการโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่างๆที่มีอยู่เช่นเดิมและให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันการที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงและจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้นพฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวงถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการจ้างงานระหว่างหน่วยงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติหน้าที่กับการประปานครหลวงตามความประสงค์ของโจทก์อันเนื่องมาจากจำเลยโอนกิจการการประปาบางบัวทองของจำเลยให้การประปานครหลวงนั้นเป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง แม้การประปานครหลวงจะไม่นับอายุงานต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี การโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่นเดิม และให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกัน การที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวง และจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้น พฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดแจ้งและผู้ส่งต้องยินยอม
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน 2 ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่ง จำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิด สำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วย แล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่ง ผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์ เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทย ผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตก สินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง กรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ไม่ โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเอง เมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง โจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงที่ต้องชัดแจ้ง
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน2ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่งจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วยแล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่งผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทยผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกสินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทยหามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใดความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งการที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเองเมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งโจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง500เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อเกิดความเสียหายในไทย และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
แม้ผู้ขายสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จ้างจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งซึ่งมีสัญชาติเดนมาร์กให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย แต่เมื่อของที่ขนส่งทางทะเลได้มาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วพบว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกของสูญหายไปบางส่วนมูลคดีนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่ ป.พ.พ.มาตรา609วรรคสองบัญญัติว่ารับขนของทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา4(5)แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา625นั่นเองเมื่อข้อความดังกล่าวระบุไว้ด้านหลังของใบตราส่งโดยไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.
of 216