คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ บุญภินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่าเมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้วหากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใดจำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่า เมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้ว หากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใด จำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วน ต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์ โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม มาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: การรับผิดของลูกจ้างและนายจ้างจากการกระทำละเมิด
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่า เมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้ว หากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใด จำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพ, ค่าบำเหน็จ, และการหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้: ประเด็นทางกฎหมายแรงงาน
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2521ข้อ 3.4กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพ, ค่าจ้าง, เงินบำเหน็จ และการหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 3.4 กำหนดว่า 'ค่าจ้าง' หมายความว่า เงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วย แต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการ หรือประโยชน์อย่างอื่น' ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น' ตามคำจำกัดความข้างต้น และตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพ จึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้
ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัว พ.ศ.2525 เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงาน เป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงานเป็นสภาพการจ้าง และเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้ จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386-3387/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ, เงินประกันตัว และสภาพการจ้างในคดีแรงงาน
การหย่อนสมรรถภาพในการทำงานไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นประการใดประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ3.4กำหนดว่า'ค่าจ้าง'หมายความว่าเงินที่องค์การทอผ้าจ่ายให้แก่พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวันรวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบด้วยแต่ไม่รวมเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลาโบนัสเบี้ยเลี้ยงเบี้ยกรรมการหรือประโยชน์อย่างอื่น'ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างจึงมิใช่'ประโยชน์อย่างอื่น'ตามคำจำกัดความข้างต้นและตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพจึงนำค่าครองชีพมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จได้ ระเบียบองค์การทอผ้าว่าด้วยการหักเก็บรายได้ของพนักงานไว้เป็นเงินประกันตัวพ.ศ.2525เป็นเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงานเป็นกรณีที่เกี่ยวแก่ประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานเป็นสภาพการจ้างและเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิตามระเบียบดังกล่าวเพื่อบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ร้านค้าสวัสดิการของจำเลยที่ค้างชำระโดยหักคืนจากเงินประกันตัวที่โจทก์วางไว้จึงเป็นคดีพิพาทตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชอบที่ศาลแรงงานจะรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอบังคับดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง: ค่าจ้างจากบริษัทอื่น จำเลยเป็นเพียงตัวแทนจ่าย ไม่เป็นนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรี มีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัท น.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรี โดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัท น. แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ ต่อมาบริษัท น. และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัท ซ. จำกัด โดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัท ซ. จำกัด มีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่า ค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัท ซ. จำกัด ไม่ใช่ของจำเลย จำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัท ซ. จำกัด มาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: ค่าจ้างจากบริษัทอื่นมิใช่จากจำเลย ทำให้จำเลยไม่มีฐานะนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรีมีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัทน.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรีโดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัทน.แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ต่อมาบริษัทน.่และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัทซ.จำกัดโดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัทซ.จำกัดมีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัทซ.จำกัดไม่ใช่ของจำเลยจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัทซ.จำกัดมาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้นจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างจากบริษัทอื่น มิใช่นายจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรี มีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัท น.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรี โดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัท น. แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ต่อมาบริษัท น. ่และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัทซ. จำกัด โดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัท ซ. จำกัดมีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัท ซ. จำกัด ไม่ใช่ของจำเลยจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัท ซ. จำกัด มาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'วัตถุก่อสร้าง' ตามกฎหมายภาษีอากร: ทองเหลืองรูปตัวที/แอล จัดเป็นวัตถุก่อสร้างที่ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ.2517 บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 4 บัญญัติว่า 'หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) ฯลฯ (6) กลอน บานพับ คานเหล็กเหล็กฉากผลิตภัณฑ์โลหะใด ๆ ที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม (4)' กลอน บานพับ คานเหล็ก เหล็กฉาก เป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง แต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอน บานพับ คานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วย ทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่น ๆ ป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้ และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัด ก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่าย ทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับ ดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด 4(6) แห่งบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.2517 และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
of 216