พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ. 2528 ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้น หามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน 120 วัน ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ จำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน 120 วัน ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ จำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาดลาสายหรือกลับก่อนเวลาเลิกงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา165(9)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164. การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518กำหนดไว้เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาด ลา สาย หรือกลับก่อนเวลาเลิกงาน ตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา 165 (9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดไว้ เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่
การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดไว้ เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างสอนพิเศษนอกเวลางาน แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับแต่ไม่ร้ายแรง
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง2ชั่วโมงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรง ศาลฎีกาพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง 2 ชั่วโมง ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ได้รับอนุญาตออกจากงานเพื่อสอนพิเศษ แม้ไม่ร้ายแรง แต่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง 2 ชั่วโมงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีสั่งให้ทำงานเกินเวลาพักโดยไม่ได้รับความยินยอม และไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชมโดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00น.ถึง17.00น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง12.00น.ถึง13.00น.การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดาถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้วการที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ6วรรคท้ายไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ทำงานในวันหยุดพักกลางวันช่วงเทศกาล และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชม โดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00 น.ถึง 17.00 น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง 12.00 น. ถึง13.00 น.การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้วการที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคท้ายไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพักกลางวันช่วงเทศกาล ถือมิได้เป็นเหตุยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชม โดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00 น.ถึง 17.00 น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง 12.00 น. ถึง 13.00 น. การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว การที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่ คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ: ผลต่อสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์อ้างว่าโจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้องจำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือนโจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้าแต่ถึงกำหนดจ่ายเงินจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายและไม่รับกลับเข้าทำงานอีกการกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลงแต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้