พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นมาตรการดูแลความประพฤติโดยผู้ปกครอง และจำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,297 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม มาตรา 75 ลงโทษจำคุก6 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จัดการแก่จำเลยตาม มาตรา 74(2) โดยมอบตัวให้บิดาจำเลยเป็นผู้ปกครองดูแลระมัดระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายหรือกระทำผิดใด ๆ ขึ้นอีกภายในกำหนด 3 ปี พร้อมกับวางเงื่อนไขคุมประพฤติ จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและมาตรการกำกับดูแลเยาวชนกระทำผิดอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83,297 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม มาตรา 75 ลงโทษจำคุก 6 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จัดการแก่จำเลยตาม มาตรา 74 (2) โดยมอบตัวให้บิดาจำเลยเป็นผู้ปกครองดูแลระมัดระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายหรือกระทำผิดใด ๆ ขึ้นอีกภายในกำหนด 3 ปี พร้อมกับวางเงื่อนไขคุมประพฤติ จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเด็กและเยาวชน: การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ.2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันควบคุมตัวเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16(4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า 'ลงโทษ' อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วยเพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรม อันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า 'ลงโทษ' อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วยเพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรม อันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันกักขังเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นสถานฝึกอบรม
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็ก พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ