คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 284

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4456/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีอาญา และการแก้ไขโทษฐานข่มขืนกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดหลายกระทงรวมในฟ้องเดียวกัน ซึ่งแต่ละกระทงเป็นข้อหาแยกจากข้อหาอื่นได้ และศาลอาจสั่งให้แยกสำนวนพิจารณาความผิดกระทงใดต่างหากก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นเนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องและผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ และเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ถือได้ว่าเป็นคำสั่งที่ทำให้ประเด็นแห่งคดีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นซึ่งแยกต่างหากจากข้อหาอื่นได้นั้นเสร็จสำนวนแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำคุกให้หนักขึ้นตามพฤติการณ์ร้ายแรง แต่ไม่ริบรถจักรยานยนต์
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางพาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุ จากนั้นใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้เสียหายตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารและฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: องค์ประกอบความผิด พรากผู้เยาว์, พาไปอนาจาร, ข่มขู่, และการบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรพราก น. ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจาก ว. ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย กับจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยพูดข่มขู่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายที่ 2 สวมใส่ชุดนักเรียนแต่หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติ ว่าหากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมไปกับจำเลย จำเลยจะนำเรื่องที่ผู้เสียหายที่ 2 หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติดังกล่าวไปแจ้งให้ทางโรงเรียนที่ผู้เสียหายที่ 2 ศึกษาอยู่และผู้ปกครองผู้เสียหายที่ 2 ทราบ เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 ถูกลงโทษหรือว่ากล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 เกิดความกลัวตามคำข่มขู่ของจำเลยดังกล่าว และยอมไปกับจำเลย อันเป็นการขู่เข็ญหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม และจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการจับแขนและดึงตัวผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปสวมกอดเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 2 ขัดขืน แล้วจำเลยได้หอมที่บริเวณหน้าผากของผู้เสียหายที่ 2 โดยจำเลยมีเจตนาล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 หรือพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารอย่างไร และไม่ได้บรรยายถ้อยคำตาม ป.อ. มาตรา 284 ว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็พอเข้าใจได้แล้วว่า จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย พาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมและพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดแล้ว ทั้งการบรรยายฟ้องก็หาจำต้องเคร่งครัดถึงกับต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ, 284, 318 แล้ว นอกจากนี้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ และมาตรา 284 ในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเพียงกรรมเดียว โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดนั้นว่าเป็นหลายกรรมต่างกัน ทั้ง ป.อ. มาตรา 90 มิใช่กฎหมายซึ่งอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวในคำขอท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจารด้วยกำลังประทุษร้าย และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา องค์ประกอบความผิดและขอบเขตการลงโทษ
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นนั่งรถยนต์แล้วให้ผู้เสียหายขับไป อันเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย และใช้อำนาจผิดคลองธรรม โดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ถึงแม้ว่าความผิดฐานใช้อุบายหลอกลวงไปเพื่อการอนาจารกับความผิดฐานขู่เข็ญและใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อการอนาจารจะเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน แต่ลักษณะของการกระทำต่างกัน องค์ประกอบในการกระทำความผิดจึงต่างกัน แม้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11059/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ที่ไม่ครบองค์ประกอบ และขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันพา ก. ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษยังไม่เกิน 18 ปีไปเสียจาก ข. ผู้เป็นบิดาเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือใช้วิธีการข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด สำหรับองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าพา ก. ไปเสียจาก ข. ก็ตาม ก็เป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดโดยปราศจากองค์ประกอบของการพรากไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร คำว่า "พาไป" กับคำว่า "พรากไป" มีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้คำขอท้ายฟ้องจะอ้างมาตรา 319 มาด้วยก็ตาม กรณีจะแปลรวมไปถึงว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 ด้วยหาได้ไม่ จึงไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงแปลได้เพียงว่าโจทก์ฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 284 เท่านั้น
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันโดยใช้อุบายหลอกลวงพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 อันเป็นข้อหาหลัก แม้ทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 ด้วยซึ่งเป็นข้อหาเพิ่มเติม ถือว่าได้สอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบและได้ทำการสอบสวนทั้งความผิดตามมาตรา 284 และ 319 ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 284 ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามความผิดมาตรา 284 ตามที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืน กระทำชำเรา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท – กระทำชำเราเด็กและพาผู้อื่นไปอนาจาร – ลงโทษตามบทหนัก
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามมาตรา 284 วรรคแรก จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมเป็น 2 กระทง จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 6 และมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์-อนาจาร และหลักการฟ้องคดีอาญาที่ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพรากและพาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เยาว์อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งเป็นบุคคลอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา โดยใช้อุบายหลอกลวงเท่านั้น คำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายให้ปรากฏไม่ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจาร คำฟ้องของโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะระบุอ้างขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วย และทางพิจารณาจะฟังได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารด้วยก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 284 วรรคแรก ดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวแก้ในคำแก้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพาไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์ เมื่อผู้เสียหายสมัครใจติดตามไปอยู่กินเป็นสามีภริยา
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ ได้หนีตามจำเลยที่ 1 ไปเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีภริยาอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ถือว่าเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 และเมื่อได้ความว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์เต็มใจหนีตามจำเลยที่ 1 ไปด้วยเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารและการกระทำชำเราผู้เยาว์ ศาลแก้เป็นความผิดตามมาตรา 283 ทวิ
พฤติการณ์ของผู้เสียหายและจำเลยส่อแสดงว่าผู้เสียหายยินยอมไปกับจำเลยและร่วมประเวณีกันยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 15 ปีเศษ เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปและร่วมประเวณีกับผู้เสียหายเช่นนี้ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่า แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยพาบุคคลอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
of 11