พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตกับประกันอุบัติเหตุ: การตีความตามสัญญาจ้างและกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889ได้วางหลักไว้ว่าในสัญญาประกันชีวิตการใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ตายได้ความว่าหากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้การจ่ายเงินก็โดยอาศัยความมรณะของผู้ตายจึงเป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายมาตราดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้จัดการประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายตามที่ได้ตกลงไว้แล้วส่วนสาเหตุการตายเป็นเพียงเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันและผู้รับประกันจะตกลงกันในการจ่ายเงินเท่านั้นไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตกลับกลายเป็นไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ดื่มสุรานอกเวลางาน แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่ลูกจ้างออกไปดื่มสุรานอกบริเวณโรงงานตั้งแต่เวลา22 ถึง 24 นาฬิกา จะเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดว่าเป็นความผิดอันมีโทษถึงปลดออก ไล่ออกแสดงว่านายจ้าง มิได้ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าว เป็นการ "ละทิ้งการงานไปเสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดงานที่ไม่ได้รับอนุญาตและการเลิกจ้าง: กรณีเหตุสมควร vs. ละทิ้งหน้าที่
โจทก์ขอลาหยุดงาน 3 วันต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จำเลยไม่อนุญาต แต่โจทก์ก็หยุดงานไป 4 วันเพื่อเดินทางไปจัดเตรียมงานสมรสของบุตรสาวที่ต่างจังหวัดตามประเพณีของท้องถิ่น ดังนี้การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย หากลูกจ้างเพียงไม่ขยันขันแข็ง ไม่ถือว่าจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28(2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้น จะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างานลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่า ลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างานลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่า ลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับอย่างชัดเจน การทำงานไม่ขยันไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28 (2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้นจะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างาน ลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่าลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างาน ลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่าลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายรถยนต์คันที่มีข้อพิพาท แม้จะซื้อขายและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ผู้ขายจะได้รถยนต์มาโดยการโอนต่อนายทะเบียน และการขายให้ผู้ซื้อก็ได้โอนต่อนายทะเบียนก็ดี ก็ไม่ตัดสิทธิ์เจ้าของอันแท้จริงที่จะติดตามเอาคืน การที่เจ้าของอันแท้จริงติดตามเอารถคืนจากผู้ซื้อเช่นนี้ เป็นการรอนสิทธิ์ของผู้ซื้อ การที่ผู้ซื้อยินยอมคืนรถให้แก่เจ้าของอันแท้จริงเอง แต่เมื่อความปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถคันนั้นเป็นของเจ้าของ การที่ผู้ซื้อคืนรถให้แก่เจ้าของที่แท้จริง จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ถึงการซื้อขายรถยนต์จะได้ทำการโอนซื้อขายกันทางทะเบียน ผู้ขายก็ยังคงมีความรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธิ์อยู่ เมื่อผู้ซื้อมิได้รู้ในขณะซื้อขายว่ามีเหตุรอนสิทธิ์เกิดขึ้น ผู้ขายก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบ กระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด
แม้การซื้อขายรถยนต์จะได้กระทำในกองทะเบียนกรมตำรวจ โดยมีการตรวจสอบ กระทำโดยสุจริตและเปิดเผยก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาด