คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเด็ดขาด คำสั่งคณะกรรมการกลางไม่มีผลผูกพัน
ตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าม กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิหม่าม ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้อง ผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามฯ แก้ไขคำสั่งไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าน กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่ และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่านรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิสลามผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องคดีนี้มีใจความสำคัญว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับพวกในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดถอน พ. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการประจำมัสยิดออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนสมบัติ และเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด ทำให้เกิดการแตกแยกต่อมาจำเลยในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ประชุมมีมติและคำสั่งให้แก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังกล่าวเป็นว่าให้ภาคทัณฑ์ พ.กับพวกและให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปดังเดิม เช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 โดยมีระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ใช้บังคับซึ่งในหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าวนี้บัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยเฉพาะโดยมิได้ระบุให้สิทธิกรรมการที่ถูกถอดถอนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ ต่างกับหมวด 3 ในข้อ 21 เรื่องจริยาของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่ว่า กรณีที่กรรมการอิสลามประจำมัสยิดถูกถอดถอนจากตำแหน่งเพราะละเมิดจริยาตามหมวด 3มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้เมื่อปรากฏว่าตามคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้วินิจฉัยให้ พ.ออกจากตำแหน่งอิหม่ามมัสยิดร.ด้วยสาเหตุตามหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขาดคุณสมบัติตามหมวด 1เป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ โดยอาศัยสาเหตุแห่งการละเมิดจริยาตามหมวด3 เป็นข้ออ้างเพิ่มเติมเท่านั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในการฟ้องคดีเป็นโมฆะ
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการ คณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมัสยิด: กรรมการหมดวาระ ย่อมขาดอำนาจดำเนินคดีแทน
คณะกรรมการมัสยิดได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 เมษายน2522 ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด(สุเหร่า) และวิธีดำเนิน การอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด(สุเหร่า) พ.ศ.2492 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ข้อ 12 กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ4 ปี ฉะนั้นการที่คณะกรรมการมัสยิดดังกล่าวมาประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2526 และลงมติมอบอำนาจให้ พ.เป็นผู้แทนโจทก์เพื่อดำเนินคดีอันเป็นระยะเวลาที่ล่วงพ้นวาระในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมัสยิดไปแล้ว เช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจเพราะบุคคลเหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะเป็นกรรมการมัสยิดแล้ว จึงไม่มีผลทำให้มัสยิดโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาที่ว่าคำสั่งของจำเลยในการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการถอดถอนกรรมการมัสยิด: คอเต็บมีสถานะเป็นกรรมการ ย่อมอยู่ภายใต้ระเบียบการถอดถอนได้
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนนั้น ได้มีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ.2492 กำหนดไว้ ตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว อิหม่าม คอเต็บบิหลั่น ต่างก็คือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนหนึ่งในจำนวนไม่เกิน 15 คน ตามระเบียบข้อ 4 ที่ว่าอิหม่าม คอเต็บบิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่งนั้น หมายความว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ไม่ต้องออกตามวาระ 4 ปี ตามระเบียบข้อ 12 เมื่อถึงวาระเลือกตั้งใหม่ ถ้าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีตัวอยู่และดำรงตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้นๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็อยู่ได้ตลอดไปจนชรา ทุพพลภาพ หรือพิการ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง แล้วยกขึ้นเป็นกิติมศักดิ์ในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่เรียบร้อยคณะกรรมการดังกล่าวอาจพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยที่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดังกล่าวแล้ว จึงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งได้ตามระเบียบข้อ 13 หาใช่ว่าเป็นอิหม่ามคอเต็บ บิหลั่น แล้วจะได้เป็นอยู่จนชรา ทุพพลภาพหรือพิการเสมอไปทุกคนไม่
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13(ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมัสยิดต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ถูกต้อง กรรมการและผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบ กรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งกรรมการมัสยิด: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบอย่างครบถ้วน การแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินมัสยิดเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง ยักยอกทรัพย์
ตามคำฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทุกคนซึ่งเป็นกรรมการของมัสยิดกุฎีหลวงได้สมคบกันยักยอกทรัพย์สินของมัสยิดซึ่งเป็นนิติบุคคล. ฉะนั้น ผู้เสียหายในคดีนี้ก็คือมัสยิดกุฎีหลวงและผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนได้ก็ต้องเป็นกรรมการของมัสยิดตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 7. โจทก์มีฐานะเป็นแต่เพียงสัปบุรุษและผู้รับมอบอำนาจจากสัปบุรุษเท่านั้น. ไม่มีหน้าที่จัดการในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิดแต่ประการใด. จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) ไม่มีอำนาจฟ้อง.
การที่โจทก์กล่าวหาว่ากรรมการมัสยิดทั้งชุดสมคบกันทำให้มัสยิดเสียหายถึงหากจะเป็นความจริง. ก็มีทางแก้ได้โดยให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดถอดถอนกรรมการมัสยิดเสียตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490. แต่จะฟ้องเองโดยลำพังไม่ได้.
of 2