พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของบริษัทย่อย ผู้ถือหุ้นไม่อาจเรียกร้องแทนได้
กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทมีเงื่อนไขความคุ้มครองกรณีภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีที่มีสาเหตุมาจากผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 และกำหนดนิยามของคำว่าผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 ว่าหมายถึงผู้จัดส่งสินค้าซึ่งจัดส่งสินค้าหรือบริการโดยตรงให้แก่โรงงานหรือสถานประกอบการของ ฟ. กับกำหนดนิยามของผู้จัดส่งสินค้าชั้น 2 ว่าหมายถึงผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการโดยตรงให้แก่ผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้จัดส่งสินค้าโดยตรงให้แก่บริษัท ต. ไม่สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าวัสดุอุปกรณ์จนทำให้บริษัท ต. ไม่อาจผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ได้ กรณีจึงถือได้ว่าบริษัท ต. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 2 จากที่พยานโจทก์เบิกความประกอบกับตามเอกสารแนบท้ายสัญญาซื้อขายรถยนต์ นิติบุคคลที่เป็นผู้ซื้อรถยนต์สำหรับจำหน่ายในประเทศไทยคือบริษัท ด. และนิติบุคคลที่เป็นผู้ซื้อรถยนต์สำหรับจำหน่ายนอกประเทศไทยคือ ท. ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประกอบสำเร็จหรือรถยนต์แบบผลิตเป็นชิ้นส่วนตลอดจนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซึ่งผลิตโดยบริษัท ต. คือ บริษัท ด. และ ท. มิใช่โจทก์ ต้องถือว่าบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ ของบริษัท ด. และ ท. มิใช่ของโจทก์ และเมื่อบริษัท ด. เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. จึงเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 และ ท. เป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในมลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงอักษรย่อ LLC ที่ต่อท้ายชื่อของกิจการแล้ว น่าเชื่อว่าเป็นกิจการประเภทบริษัทจำกัดความรับผิดตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ลงทุนในบริษัท บริษัท ด. และ ท. จึงเป็นคนละนิติบุคคลกับโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกิจการของบริษัท ด. และ ท. โดยผ่านการถือหุ้นร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ด้วยอาศัยวิธีการใดก็ตาม ความเสียหายและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทจากจำเลยสำหรับกรณีที่เกิดภาวะธุรกิจหยุดชะงักของบริษัท ด. และ ท. หากจะพึงมี ก็มิใช่ความเสียหายและสิทธิเรียกร้องของโจทก์
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีตามคำฟ้องเพราะโจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและต้องจัดทำงบการเงินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการของบริษัทย่อยเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของส่วนของเจ้าของทั้งหมด ก็จะต้องแสดงผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของโจทก์และความเสียหายของบริษัทย่อยก็จะถูกนำมารวมอยู่ในงบการเงินของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่ามีการจัดทำงบการเงินตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่กิจการของโจทก์ บริษัท ด. และ ท. ก็ยังคงมีการดำเนินกิจการในฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและกัน และย่อมมีการจัดทำงบการเงินของแต่ละกิจการไว้ต่างหากจากกันตามกฎหมาย การจัดทำงบการเงินของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการจัดทำรายงานทางการเงินเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ บริษัท ด. และ ท. เป็นกิจการเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการแสดงฐานะของกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่ก็หาได้มีผลทำให้โจทก์ บริษัท ด. และ ท. ควบเข้ากันเป็นนิติบุคคลเดียวกันในทางกฎหมาย นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีในศาลโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนกันและกันได้แต่อย่างใด ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยจึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของโจทก์จากการที่มีบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแทนบริษัท ด. และ ท. ในความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีตามคำฟ้องเพราะโจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและต้องจัดทำงบการเงินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการของบริษัทย่อยเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของส่วนของเจ้าของทั้งหมด ก็จะต้องแสดงผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของโจทก์และความเสียหายของบริษัทย่อยก็จะถูกนำมารวมอยู่ในงบการเงินของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่ามีการจัดทำงบการเงินตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่กิจการของโจทก์ บริษัท ด. และ ท. ก็ยังคงมีการดำเนินกิจการในฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและกัน และย่อมมีการจัดทำงบการเงินของแต่ละกิจการไว้ต่างหากจากกันตามกฎหมาย การจัดทำงบการเงินของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการจัดทำรายงานทางการเงินเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ บริษัท ด. และ ท. เป็นกิจการเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการแสดงฐานะของกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่ก็หาได้มีผลทำให้โจทก์ บริษัท ด. และ ท. ควบเข้ากันเป็นนิติบุคคลเดียวกันในทางกฎหมาย นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีในศาลโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนกันและกันได้แต่อย่างใด ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยจึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของโจทก์จากการที่มีบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแทนบริษัท ด. และ ท. ในความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้หักเงินชำระตามกรมธรรม์ไม่ได้ และกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำหรับรถบรรทุกคันเกิดเหตุส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกําหนดให้จำเลยร่วมที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต ส่วนจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับความเสียหายต่อชีวิตกำหนดไว้เป็นเงิน 35,000 บาท และจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย แสดงว่าในกรณีที่ผู้รับประกันภัยได้ชําระค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไป 35,000 บาท แล้ว ย่อมนํามาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยที่ผู้รับประกันภัยต้องชําระทั้งหมด 300,000 บาท ได้ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองอีกเพียง 265,000 บาท การจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 เช่นนี้ เฉพาะแต่ค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งผู้รับประกันภัยชําระแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเท่านั้นที่ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ไม่รวมถึงค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ส่วนค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 265,000 บาท นั้น เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติไว้เฉพาะว่าเป็นความคุ้มครองความเสียหายในส่วนใด ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้จึงถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ซึ่งรวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิเรียกร้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุว่าการบังคับตามคําพิพากษาไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1139 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 จัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์แล้วนําหุ้นของโจทก์ที่ลดลงไปเพิ่มในสัดส่วนการถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ แล้วศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อโดยไม่ชอบขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การโอนหุ้นตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับมาถือหุ้นของโจทก์ตามเดิม ซึ่งเลขหมายใบหุ้นบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถือครองอยู่ และบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนไปให้บุคคลอื่นแล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมาจึงเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยตรง จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคําพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาโต้แย้งคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้
ที่จำเลยที่ 2 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้โจทก์เพื่อตอบแทนการที่โจทก์จะช่วยเหลือทำงานจนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับประทานบัตรและประกอบธุรกิจเหมืองแร่ เป็นเพียงการบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ชําระค่าหุ้นด้วยแรงงานซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถชําระค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (5) ส่วนที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นหากฟังว่าโจทก์ชําระค่าหุ้น โจทก์ก็ได้รับค่าหุ้นคืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว และบรรยายต่อมาว่า โจทก์ได้รับหุ้น ต่อมาจำเลยที่ 2 ชําระค่าหุ้นดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์แล้ว ถือเป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้ชัดแจ้งเท่านั้น คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ขัดแย้งกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การและนําสืบในทำนองว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นจึงไม่ใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ตกลงมอบหุ้นให้โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์จะทำงาน แต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงและจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาโดยตลอด จึงได้มีการพูดคุยปรับสัดส่วนในการถือหุ้นของโจทก์ ซึ่งโจทก์ให้ความยินยอมในการปรับลดหุ้นทุกครั้ง หลังจากจำเลยที่ 2 ปรับลดหุ้นของโจทก์ไปเป็นของตนเองแล้วได้ขายหุ้นให้ พ. ซึ่งชําระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ครบถ้วนและยังพยายามหาทางเอากิจการของจำเลยที่ 1 ไปเป็นของตนเอง โดยมีพฤติการณ์ร่วมกันกับโจทก์ในการถอดถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำให้การของจำเลยที่ 2 โดยรวมพอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้การและต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้ของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้นําส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชําระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง ข้ออ้างที่ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าหุ้นคืนแล้วก็ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นหลักฐาน ทั้งไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานจนเสร็จแต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 นําสืบว่า จำเลยที่ 2 ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก์ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ ทั้งไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังที่จำเลยที่ 2 อ้าง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์ แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งจนเหลือเพียง 500 หุ้น โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จำนวน 3,000 หุ้น ตามที่มีอยู่เดิม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์จำนวน 2,500 หุ้น ไปเป็นของตนเองโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 อยู่จำนวน 4,000 หุ้น ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 หุ้น
ที่จำเลยที่ 2 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้โจทก์เพื่อตอบแทนการที่โจทก์จะช่วยเหลือทำงานจนกว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับประทานบัตรและประกอบธุรกิจเหมืองแร่ เป็นเพียงการบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ชําระค่าหุ้นด้วยแรงงานซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถชําระค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (5) ส่วนที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นหากฟังว่าโจทก์ชําระค่าหุ้น โจทก์ก็ได้รับค่าหุ้นคืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว และบรรยายต่อมาว่า โจทก์ได้รับหุ้น ต่อมาจำเลยที่ 2 ชําระค่าหุ้นดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์แล้ว ถือเป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้ชัดแจ้งเท่านั้น คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ขัดแย้งกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การและนําสืบในทำนองว่า โจทก์ไม่ได้ชําระค่าหุ้นจึงไม่ใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ตกลงมอบหุ้นให้โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์จะทำงาน แต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงและจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาโดยตลอด จึงได้มีการพูดคุยปรับสัดส่วนในการถือหุ้นของโจทก์ ซึ่งโจทก์ให้ความยินยอมในการปรับลดหุ้นทุกครั้ง หลังจากจำเลยที่ 2 ปรับลดหุ้นของโจทก์ไปเป็นของตนเองแล้วได้ขายหุ้นให้ พ. ซึ่งชําระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ครบถ้วนและยังพยายามหาทางเอากิจการของจำเลยที่ 1 ไปเป็นของตนเอง โดยมีพฤติการณ์ร่วมกันกับโจทก์ในการถอดถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำให้การของจำเลยที่ 2 โดยรวมพอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้การและต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้ของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้นําส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชําระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง ข้ออ้างที่ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าหุ้นคืนแล้วก็ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นหลักฐาน ทั้งไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 มอบหุ้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานจนเสร็จแต่โจทก์ทำไม่ได้ตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 นําสืบว่า จำเลยที่ 2 ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก์ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ ทั้งไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังที่จำเลยที่ 2 อ้าง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์ แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งจนเหลือเพียง 500 หุ้น โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จำนวน 3,000 หุ้น ตามที่มีอยู่เดิม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์จำนวน 2,500 หุ้น ไปเป็นของตนเองโดยไม่ชอบ และจำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 อยู่จำนวน 4,000 หุ้น ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 หุ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น, บันทึกข้อตกลง, และการระงับข้อพิพาท: สิทธิในการเรียกร้องหุ้นคืนหลังทำข้อตกลงประนีประนอม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุว่าการบังคับตามคำพิพากษาไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1139 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าอ้าง จำเลยที่ 2 จัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์แล้วนำหุ้นของโจทก์ที่ลดลงไปเพิ่มในสัดส่วนการถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ แล้วศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อโดยไม่ชอบขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การโอนหุ้นตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับมาถือหุ้นของโจทก์ตามเดิม ซึ่งเลขหมายใบหุ้นบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถือครองอยู่ และบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนไปให้บุคคลอื่นแล้ว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยตรง จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งขันทางการค้าโดยผู้ถือหุ้น, การริบหุ้นเป็นค่าเสียหาย, และความชอบธรรมของข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น
จำเลยเปิดบริษัท ท. ประกอบกิจการอันเป็นการค้าขายแข่งขันกับบริษัทโจทก์ อันเป็นข้อห้ามที่ระบุในกฎผู้ถือหุ้น การที่จำเลยถูกริบหุ้นนำออกขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กฎผู้ถือหุ้น ข้อ 6. ระบุถึงผลแห่งการที่ผู้ถือหุ้นทำการก่อตั้งบริษัทซึ่งกระทำธุรกิจประเภทเดียวกันกับบริษัทซึ่งส่งผลให้บริษัทเกิดความเสียหายว่า ผู้ถือหุ้นดังกล่าวยินยอมให้ริบหุ้นส่วนทั้งหมดที่ครอบครองอยู่และยินยอมชดใช้ค่าปรับอีกหนึ่งร้อยเท่าของความเสียหายที่ประเมินได้ และหรือความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินได้ซึ่งความเสียหายประเภทนี้จะใช้การคาดการณ์ความเสียหายเป็นมูลค่าแทน ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต้นเหตุหมดสิทธิจากบริษัทอันเป็นการชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทเมื่อผู้ถือหุ้นนั้นล่วงละเมิดข้อตกลงในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันที่จะไม่กระทำการค้าขายแข่งขันกับบริษัท ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะ สามารถใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ผนังร่วมหลังรื้อถอนอาคาร: สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละส่วนยังคงอยู่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 สิทธิเหนือพื้นดินเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 17394 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 6 ชั้น จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 17395 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 7 ชั้น โดยตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างในลักษณะมีผนังแบ่งตึกแถวออกเป็นคูหา (ผนังร่วม) มีฐานรากและโครงสร้างหลักเชื่อมต่อเป็นอันเดียวกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 รื้อถอนตึกแถวของจำเลยที่ 1 เหลือเพียงผนังร่วมในส่วนที่ติดกับตึกแถวของโจทก์ทั้งสอง ผนังร่วมในส่วนที่ติดกับตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมจึงต่างอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องสิทธิเหนือพื้นดินไม่สามารถนำ ป.พ.พ. มาตรา 1415 มาปรับใช้ได้
เมื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์และสภาพการใช้งานผนังร่วมตึกแถวใช้เพื่อแบ่งกั้นตึกแถวออกเป็นคูหา ผนังร่วมเปรียบได้กับผนังกำแพงซึ่งหมายเขตที่ดิน โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรวมกันและหลักกรรมสิทธิ์ยังคงมีอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงเพราะสภาพการใช้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ทั้งสองทราบดีว่าผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์รวม แม้ต่อมาภายหลังสภาพของผนังร่วมระหว่างตึกแถวเปลี่ยนแปลงไปและไม่อาจใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิม แต่ผนังร่วมก็ยังคงบ่งบอกเขตแดนกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของรวม กรรมสิทธิ์ผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ จำเลยที่ 1 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำประตูบ้านหรือประตูเข้าพื้นที่ใหม่ในตำแหน่งใหม่ โดยรื้อถอนประตูเดิมทิ้งก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิในการใช้ประโยชน์ผนังร่วมดังกล่าวไปด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงหวงกันผนังร่วมในฝั่งที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่เช่นเดิม กรณีหามีเหตุอันใดให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และให้โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผนังร่วมตึกแถวที่เหลือจากการรื้อถอนทั้งหมดแต่เพียงฝ่ายเดียว
เมื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์และสภาพการใช้งานผนังร่วมตึกแถวใช้เพื่อแบ่งกั้นตึกแถวออกเป็นคูหา ผนังร่วมเปรียบได้กับผนังกำแพงซึ่งหมายเขตที่ดิน โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรวมกันและหลักกรรมสิทธิ์ยังคงมีอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงเพราะสภาพการใช้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ทั้งสองทราบดีว่าผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์รวม แม้ต่อมาภายหลังสภาพของผนังร่วมระหว่างตึกแถวเปลี่ยนแปลงไปและไม่อาจใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิม แต่ผนังร่วมก็ยังคงบ่งบอกเขตแดนกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของรวม กรรมสิทธิ์ผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ จำเลยที่ 1 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำประตูบ้านหรือประตูเข้าพื้นที่ใหม่ในตำแหน่งใหม่ โดยรื้อถอนประตูเดิมทิ้งก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในผนังร่วมระหว่างตึกแถวของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิในการใช้ประโยชน์ผนังร่วมดังกล่าวไปด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ยังคงหวงกันผนังร่วมในฝั่งที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่เช่นเดิม กรณีหามีเหตุอันใดให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และให้โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ผนังร่วมตึกแถวที่เหลือจากการรื้อถอนทั้งหมดแต่เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ค. กรรมการของโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาโอนหุ้นของโจทก์ในบริษัท ช. ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ใช่เจ้าของหุ้นพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ช. และไม่อาจใช้สิทธิใด ๆ ในฐานะผู้ถือหุ้น การดำเนินการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ในบริษัท ช. ในเวลาต่อมา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและจำนวนหุ้นในสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับคืนสู่สถานะผู้ถือหุ้นตามเดิม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกิจการบริษัท ช. ก่อนแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้นให้แก่กรรมการชุดเดิม โดยโจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกิจการของบริษัท ช. ให้แก่โจทก์ เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญหลังเลิกกิจการ: ศาลมีอำนาจสั่งชำระบัญชีได้แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อจัดงานแสดงดนตรี เมื่องานแสดงดนตรีดังกล่าวได้จัดขึ้นและเสร็จสิ้นลงแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญจึงเลิกกันเพราะเสร็จการนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (3) เมื่อยังไม่ได้มีการชำระบัญชีของห้าง และไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปทั้งหมดคืนรวมถึงส่วนแบ่งกำไร แต่จำเลยทั้งสามโต้แย้งว่าการจัดงานแสดงดนตรีดังกล่าวขาดทุน กรณีจึงมีข้อโต้แย้งเรื่องผลประกอบการของห้างหุ้นส่วนซึ่งต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนเพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนมีผลประกอบการขาดทุนจริงหรือไม่ และมีทรัพย์สินคงเหลือเพียงใด แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีมาด้วย แต่การบรรยายฟ้องของโจทก์ย่อมเห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีการชำระบัญชีและตั้งผู้ชำระบัญชีไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่จำต้องให้โจทก์กลับไปฟ้องเป็นคดีใหม่อีกการตั้งโจทก์หรือจำเลยทั้งสามเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกันย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดปัญหาการไม่ร่วมมือกันในการชำระบัญชี เป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีและไม่เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วม กรณีประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างคนต่างขับรถโดยประมาท แต่ความประมาทของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยกจากกันได้ จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยร่วมเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล 14,631 บาท แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โจทก์มิอาจเรียกค่ารักษาพยาบาลจำนวนเดียวกันนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกเพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ค่าใช้จ่ายของญาติผู้ตายที่เดินทางมาช่วยจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือไปจากค่าปลงศพ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
ขณะเกิดเหตุ โจทก์มีอายุ 48 ปี ส่วนผู้ตายกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัย ท. หากผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายย่อมมีโอกาสจบการศึกษาและประกอบอาชีพมีรายได้จากการทำงาน เห็นควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะในอัตราเดือนละ 14,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี หรือ อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ค่าใช้จ่ายของญาติผู้ตายที่เดินทางมาช่วยจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือไปจากค่าปลงศพ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
ขณะเกิดเหตุ โจทก์มีอายุ 48 ปี ส่วนผู้ตายกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัย ท. หากผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายย่อมมีโอกาสจบการศึกษาและประกอบอาชีพมีรายได้จากการทำงาน เห็นควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะในอัตราเดือนละ 14,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี หรือ อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันต้องชำระบัญชี แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนบางคนจัดการทรัพย์สินไปแล้ว ก็ยังไม่ถือเป็นการชำระบัญชี
การที่โจทก์ ช. และกลุ่มเพื่อนร่วมรุ่นตกลงเข้าหุ้นกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเพื่อทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยประสงค์จะนำกำไรที่ได้จากการลงทุนของแต่ละคนมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของรุ่น หากขาดทุนก็ขาดทุนร่วมกัน เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ต่อมา ช. ถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจึงเลิกกันตามมาตรา 1055 (5) และต้องจัดให้มีการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันตามมาตรา 1061 วรรคหนึ่ง ซึ่งการชำระบัญชีนั้นมาตรา 1061 วรรคสาม ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่นั้นเป็นผู้จัดทำ แต่กลับได้ความว่ามีเพียงหุ้นส่วนบางคนเท่านั้นที่เข้าไปเจรจาตกลงกับจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. เกี่ยวกับการจัดการบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลงทุนร่วมกันและได้แสดงหลักฐานการโอนเงินร่วมลงทุน ต่อมาจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ได้ตกลงโอนหลักทรัพย์และเงินลงทุนคงเหลือคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนบางคนตามสัดส่วนของการลงทุนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้คิดคำนวณ โดยที่โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งไม่ได้ร่วมเจรจาหรือตกลงด้วย จึงถือไม่ได้ว่ามีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากหุ้นส่วนทุกคนไม่ได้ตกลงร่วมกัน แม้หุ้นส่วนบางคนจะเข้าไปเจรจากับจำเลยทั้งสองจนกระทั่งได้รับโอนหลักทรัพย์และเงินลงทุนคืนไปแล้ว และจำเลยทั้งสองอ้างว่าหุ้นส่วนคนอื่นไม่มีใครคัดค้านก็ตาม แต่หุ้นส่วนบางคนที่ไม่ได้เข้าร่วมเจรจานั้น ย่อมไม่ได้ตรวจสอบหรือยืนยันความถูกต้องในการจัดการทรัพย์สินของห้าง ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดและปัญหาโต้แย้งกันได้ในภายหลัง พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่ามีการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันที่จะทำให้ไม่ต้องมีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน และกรณียังมีข้อโต้แย้งกันเรื่องผลเฉลี่ยขาดทุนและการคืนทุน จึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนเพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนมีผลประกอบการขาดทุนหรือไม่และมีทรัพย์สินคงเหลือเพียงใด แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีมาด้วยก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่คืนเงินลงทุนส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งจะสามารถบังคับชำระได้เมื่อมีการชำระบัญชี ย่อมเห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีการชำระบัญชีและตั้งผู้ชำระบัญชีไปเสียทีเดียวได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์กลับไปฟ้องเป็นคดีใหม่อีก