พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือบอกกล่าวการผิดนัดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยผิดนัด, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญากู้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันและจำเลยทั้งสองจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์บอกกล่าวทวงถามและมีหนังสือบังคับจำนองไปยังจำเลยทั้งสอง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือหักทอนทางบัญชีกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 30 กันยายน 2554 หลังจากนั้นไม่มีการเบิกถอนเงินอีก แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 และโจทก์ ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันอีก สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโดยปริยาย โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นกับจำเลยที่ 1 ได้อีก จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อโจทก์ทวงถาม โดยโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการผิดนัดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปยังจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต่อโจทก์ ส่วนหนี้ตามสัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ครั้งสุดท้ายวันที่ 20 ธันวาคม 2559 แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระงวดถัดไป ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกันวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 จึงเป็นการบอกกล่าวภายในกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นความรับผิด
สำหรับค่าเบี้ยประกันภัยและค่าธรรมเนียมในการต่ออายุหนังสือค้ำประกันนั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์บอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าเบี้ยประกันภัยและค่าธรรมเนียมในการต่ออายุหนังสือค้ำประกันที่โจทก์ทดรองจ่ายไป
สำหรับค่าเบี้ยประกันภัยและค่าธรรมเนียมในการต่ออายุหนังสือค้ำประกันนั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์บอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าเบี้ยประกันภัยและค่าธรรมเนียมในการต่ออายุหนังสือค้ำประกันที่โจทก์ทดรองจ่ายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากบัตรภาษี แม้ไม่มีส่วนร่วมทุจริตก็ต้องรับผิดตามสัญญา อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องจำเลยตามข้อตกลงในสัญญาแม้จะไม่ได้ฟ้องบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การผิดสัญญา, ภูมิลำเนา, และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ค่าปรับ
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล ส. โดยมี อ. เป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย อ. จึงมิได้กระทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาแก่โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ อ. ยังเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาล ส. ก็ตาม แต่เมื่อ ธ. เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล ส. ในขณะยื่นฟ้องและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 จึงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยได้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำร้องขอประกันและสัญญาประกันผู้ต้องหาที่จำเลยทำกับโจทก์อยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน คำร้องดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยขอประกัน จ. ซึ่งต้องหาว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค ฉ้อโกง... ฟังได้ว่าจำเลยเจตนาประกันตัวผู้ต้องหาในความผิดฐานฉ้อโกงด้วย เมื่อโจทก์พิจารณาคำร้องขอประกันของจำเลยและอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา จำเลยจะอ้างว่าประกันผู้ต้องหาเฉพาะความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯ ซึ่งระบุไว้ในสัญญาประกันและจะเรียกหลักประกันเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนเงินตามเช็คหาได้ไม่ เมื่อการกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่โจทก์ใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันเป็นเงิน 975,000 บาท อันเป็นการพิจารณาให้ประกันในความผิดฐานฉ้อโกงที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ซึ่งไม่เกิน 3 ใน 4 ของจำนวนเงิน 1,300,000 บาท ที่ผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาฉ้อโกงไปตามหลักเกณฑ์ จึงชอบแล้ว สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
แม้จำเลยจะอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่ 44/16 แต่บ้านเลขที่ 62/2 ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคฯ ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2 ในวันเสาร์ อาทิตย์และจันทร์ ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ กับจำเลยได้แจ้งที่อยู่ให้พนักงานสอบสวนว่าเป็นที่อยู่สะดวกแก่การติดต่อดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบและจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก นั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทันทีที่จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด แต่การที่จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดเป็นเพียงก่อให้เกิดหนี้ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในเงินค่าปรับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้จำเลยชำระหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรก
คำร้องขอประกันและสัญญาประกันผู้ต้องหาที่จำเลยทำกับโจทก์อยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน คำร้องดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยขอประกัน จ. ซึ่งต้องหาว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค ฉ้อโกง... ฟังได้ว่าจำเลยเจตนาประกันตัวผู้ต้องหาในความผิดฐานฉ้อโกงด้วย เมื่อโจทก์พิจารณาคำร้องขอประกันของจำเลยและอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา จำเลยจะอ้างว่าประกันผู้ต้องหาเฉพาะความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯ ซึ่งระบุไว้ในสัญญาประกันและจะเรียกหลักประกันเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนเงินตามเช็คหาได้ไม่ เมื่อการกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่โจทก์ใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันเป็นเงิน 975,000 บาท อันเป็นการพิจารณาให้ประกันในความผิดฐานฉ้อโกงที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ซึ่งไม่เกิน 3 ใน 4 ของจำนวนเงิน 1,300,000 บาท ที่ผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาฉ้อโกงไปตามหลักเกณฑ์ จึงชอบแล้ว สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
แม้จำเลยจะอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่ 44/16 แต่บ้านเลขที่ 62/2 ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคฯ ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2 ในวันเสาร์ อาทิตย์และจันทร์ ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ กับจำเลยได้แจ้งที่อยู่ให้พนักงานสอบสวนว่าเป็นที่อยู่สะดวกแก่การติดต่อดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบและจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก นั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทันทีที่จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด แต่การที่จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดเป็นเพียงก่อให้เกิดหนี้ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในเงินค่าปรับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้จำเลยชำระหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอชดเชยภาษีอากรเท็จ & สัญญาชดใช้ความเสียหาย: จำเลยต้องคืนเงินและชดใช้ดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าออกทั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีสำหรับใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว เมื่อบัตรภาษีดังกล่าวจำเลยที่ 2 นำไปใช้ชำระภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีซึ่งขอรับโอนบัตรภาษีโดยให้สัญญาต่อโจทก์ว่าถ้าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 คืนเงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญา มิได้ฟ้องในลักษณะเรียกคืนลาภมิควรได้ ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีไว้โดยสุจริตหรือไม่และมีบัตรภาษีเหลืออยู่หรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญา แต่สัญญามิได้กำหนดเวลาคืนเงินไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน แล้วจำเลยที่ 2 ไม่คืนให้ตามเวลาที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และ 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีจากโจทก์
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างค้างชำระ เริ่มนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ เมื่อทวงถามแล้วจำเลยยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องว่าได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด โดยมิได้ระบุว่าการทวงถามอันเป็นเหตุให้จำเลยผิดนัดได้กระทำเมื่อใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด แต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 4 ตุลาคม 2539 จำเลยก็ยังไม่ยอมชำระให้นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้างแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์ตั้งแต่วัน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันโจทก์ต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกับจำเลยตามสัดส่วน แม้ข้อตกลงระบุเฉพาะเจ้านี้
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วมีใจความว่าจำเลยและหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดล. เป็นหนี้ค่าอาหารสัตว์กับบริษัทจ. โจทก์ขอรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกับจำเลยครึ่งหนึ่งทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน1,550,000บาทหากบริษัทบังคับให้จำเลยชำระหนี้แล้วโจทก์ไม่ยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวก็ยอมให้จำเลยบังคับคดีได้ทันทีโดยไม่ได้ระบุถึงหนี้ค่าอาหารสัตว์ของบริษัทก. จำกัดก็ตามแต่เมื่อบริษัทก.เป็นบริษัทในเครือของบริษัทจ. ค้าขายสินค้าประเภทเดียวกันมีที่อยู่ที่เดียวกับบริษัทจ. มีกรรมการบริหารชุดเดียวกันและตามใบกำกับสินค้าแต่ละฉบับก็เป็นแบบพิมพ์เหมือนกันซึ่งมีทั้งออกในนามทั้งสองบริษัทแต่มีระบุว่าให้สั่งจ่ายเงินค่าสินค้าในนามบริษัทก. เท่านั้นหนี้สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าเป็นหนี้บริษัทจ. ก็คือหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยชำระให้บริษัทก. นั่นเองเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่บริษัทก. แล้วโจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยครึ่งหนึ่งตามข้อประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยได้ทวงถามโจทก์แล้วโจทก์เพิกเฉยโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยชอบจะใช้สิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความกับหนี้เดียวกัน แม้ระบุชื่อบริษัทต่างกัน
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วมีใจความว่า จำเลยและหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.เป็นหนี้ค่าอาหารสัตว์กับบริษัท จ. โจทก์ขอรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกับจำเลยครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน1,550,000 บาท หากบริษัทบังคับให้จำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ไม่ยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวก็ยอมให้จำเลยบังคับคดีได้ทันที โดยไม่ได้ระบุถึงหนี้ค่าอาหารสัตว์ของบริษัท ก.จำกัดก็ตาม แต่เมื่อบริษัท ก.เป็นบริษัทในเครือของบริษัท จ.ค้าขายสินค้าประเภทเดียวกัน มีที่อยู่ที่เดียวกับบริษัท จ.มีกรรมการบริหารชุดเดียวกันและตามใบกำกับสินค้าแต่ละฉบับก็เป็นแบบพิมพ์เหมือนกันซึ่งมีทั้งออกในนามทั้งสองบริษัท แต่มีระบุว่าให้สั่งจ่ายเงินค่าสินค้าในนามบริษัท ก.เท่านั้น หนี้สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าเป็นหนี้บริษัท จ. ก็คือหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยชำระให้บริษัท ก. นั่นเอง เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่บริษัท ก. แล้ว โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยครึ่งหนึ่งตามข้อประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยได้ทวงถามโจทก์แล้ว โจทก์เพิกเฉย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัด ผิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยชอบจะใช้สิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายืมสิ่งของ, การผิดนัดชำระหนี้, และการฟ้องเรียกทรัพย์คืน พร้อมดอกเบี้ย
แม้ในใบยืมของระบุว่า หากจำเลยไม่ชดใช้สิ่งของที่ยืมไปก็ขอ ชดใช้เป็นเงินสด หากบิดพลิ้วยอมให้บริษัทดำเนินคดี ยอมชดใช้ ดอกเบี้ยให้บริษัท ว. โดยไม่ได้ระบุให้ชดใช้แก่โจทก์ก็ตามการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิใช่ตัวแทนของบริษัท ว. แต่โจทก์ได้โควต้าขายใบยาสูบให้บริษัท ว. โดยโจทก์ต้องซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลงยาบำรุงต่าง ๆ ทั้งยังมีผู้จัดการบริษัท ว. มาเบิกความรับรองและข้างบนใบยืมของระบุว่าจำเลยยืมสิ่งของจากโจทก์และจำเลยลงชื่อ ผู้ยืมไว้กับโจทก์มีใบส่งสินค้าระบุชื่อร้านโจทก์ซึ่งระบุข้อความ ว่าจำเลยยืมของโจทก์ โจทก์นำใบยืมของบริษัท ว. มาใช้เพราะเพิ่งทำกิจการยาสูบเป็นครั้งแรก ดังนี้ โจทก์เบิกความและอธิบาย ผสมเหตุผลมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์มิใช่ตัวแทนบริษัท ว. จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่รับฟังพยานเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4เพราะจำเลยไม่ถามค้านขณะโจทก์เบิกความและไม่ส่งสำเนาให้ โจทก์ก่อนสืบพยาน 3 วัน เป็นการคลาดเคลื่อน ความจริงจำเลยได้ ถามค้าน พยานโจทก์ไว้เกี่ยวกับเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 จึงรับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้ แต่จำเลยอุทธรณ์เรื่องเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลย เป็นนายหน้าบริษัท ว.โจทก์เป็นตัวแทนของเขตจังหวัดพิจิตร เมื่อจำเลยรับของโจทก์ให้จำเลยเซ็นชื่อในใบยืมเพื่ออำพรางการเป็น นายหน้าไม่ประสงค์จะผูกพันนั้น ขัดต่อเหตุผลจะรับฟังเอกสาร หมาย ล.1 ถึง ล.4 เป็นพยานได้หรือไม่ก็ตามไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ข้อวินิจฉัยข้างต้นว่าไม่จำต้องวินิจฉัย ดังนี้จำเลยมิได้ฎีกา คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในเรื่องนี้ไว้ศาลฎีกาจึง ไม่วินิจฉัยให้ การที่จำเลยยืมปุ๋ย ยาบำรุงใบยาสูบ และยาฆ่าแมลงจากโจทก์เพื่อทำใบยาสูบ ไม่ว่าจำเลยจะทำเองหรือไม่ เมื่อในใบยืมของไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูแล้วต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมดส่วนที่ใช้แล้วไม่อาจส่งคืนได้ก็ต้องใช้ราคา เชื่อว่าจำเลยตกลง กับโจทก์ไว้ว่าต้องส่งคืนสิ่งของเมื่อสิ้นฤดูกาลทำใบยาสูบ ซึ่ง อนุมานได้ว่า ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2526 เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนด เวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยไม่ส่งคืนของภายใน สิ้นเดือนเมษายน 2526จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ต่อมาเมื่อโจทก์ มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ 11 เมษายน 2529 จำเลยไม่คืน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันที่ 12 เมษายน 2529 สัญญายืมสิ่งของไม่ต้องปิดอากรแสตมป์เพราะมิได้กำหนดไว้ ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรจึงรับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องปิดแสตมป์ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แม้ในคำฟ้องจะบรรยายว่า จำเลยคืนสิ่งของแก่โจทก์บางส่วนรวมเป็นเงิน 5,790 บาท ต่อมานำเงินมาชำระค่าสิ่งของแก่โจทก์ ยังเหลือสิ่งของรวมเป็นเงิน 48,480 บาท แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ให้จำเลยคืนสิ่งของรวม 81,870 บาท นั้น ในหนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้อง แสดงรายละเอียดของทรัพย์ที่จำเลยยืมโจทก์ไป 6 รายการ เป็นเงิน 48,480บาท ตรงตามฟ้อง ไม่รวมรายการที่ 7 ค่ากรรมกรขนของ คำฟ้อง กับคำบอกกล่าวจึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดี ได้ถูกต้องคำฟ้องโจทก์ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์ ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้องเมื่อลูกหนี้วางทรัพย์กลางโดยมีเงื่อนไข
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินจากจำเลยมาจากห้าง ต.โดยโจทก์และห้าง ต. แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยและจำเลยมีหนังสือตอบ รับยินยอมการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้าง ต. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยบอกปัดความรับผิดให้โจทก์ไปรับเงินจากสำนักงานวางทรัพย์กลาง ซึ่งโจทก์ไม่อาจรับได้ จึงถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การวางเงินของจำเลย ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางนั้น มิใช่วางให้โจทก์รับไปหากแต่วางโดยมีเงื่อนไขให้สำนักงานวางทรัพย์กลางจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริง โดยให้โจทก์และห้าง ต. ไปหาข้อยุติกันก่อน จึงไม่ใช่วางเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 331 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามมาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยจากวันผิดนัด
การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์สืบพยานเพิ่มเติมภายหลังจากสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วเพียงรอฟัง คำพิพากษา เพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์เพราะชื่อโจทก์ตามฟ้องกับหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ไม่ตรงกันนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย และ 187
จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง