คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 89 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อชำระหนี้และประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นการค้ามีหน้าที่เสียภาษี แม้จะครอบครองเกิน 5 ปี
แม้โจทก์จะโอนที่ดินใช้หนี้ให้แก่ ส. ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินแล้ว การที่โจทก์ประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินและที่ดินที่โจทก์โอนตีใช้หนี้เป็นที่ดินแปลงหนึ่งในจำนวนหลายแปลงที่โจทก์จัดสรรขายเพียงแต่วิธีการชำระเงินให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ต่อกันเท่านั้น ดังนั้น การโอนที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในประเภท 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มีอาชีพประกอบการค้าที่ดินแล้ว แม้จะครอบครองมาเกิน 5 ปีก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการค้าหรือหากำไร ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์แล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ยื่นแบบ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนา หลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีกส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนด 5 ปี และการลดหย่อนเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้าง ผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบ จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13) และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3)(4)(9)(13) และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246,247 และ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิเป็นเงินจำนวน 128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มีประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิบัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฎว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลมีอายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับสิทธิได้
กรณีที่จำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร สิทธิของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา10 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ดังนั้น จะนำอายุความสิบปีและการนับอายุความ โดยเริ่มนับจากวันที่นำของเข้าตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม (มาตรา 193/31)และการนับอายุความก็ต้องให้นับเริ่มแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม(มาตรา 193/12) เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิกำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อค้ากำไรและการหลีกเลี่ยงภาษี การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ซื้อที่ดินมาในปี 2519 และต่อมาได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆและขายไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2519 โดยโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในหนังสือสำคัญ กรณีเช่นนี้เป็นการซื้อเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า แม้ในชั้นไต่สวนเพื่อตรวจสอบภาษีรายนี้โจทก์ได้ให้ความร่วมมือโดยมอบอำนาจให้ตัวแทนไปให้ถ้อยคำและยอมรับในเรื่องราคาที่ดินแต่โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินให้ส.ไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินมาแบ่งขายเอง อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุอันควรงดหรือลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้และเบี้ยปรับภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการงด/ลดเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับ กรณีผู้เสียภาษีมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
เงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินเพิ่มสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2525 และเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิสำหรับภาษีการค้าปี 2524 และ 2525 ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเพราะโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้ และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาผิดประเภทสินค้าหลีกเลี่ยงอากร การประเมินภาษี และอายุความทางภาษี
สินค้าชนิดเดียวกันถ้านำเข้ามาในลักษณะที่เป็นอะไหล่รถยนต์จะต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.แต่การนำเข้าแบบซี.เค.ดี. นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน จำเลยนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุมัติคณะกรรมการนำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. จึงต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 เพิ่มราคาและแจ้งให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้นจึงชอบ การเรียกเก็บเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา นั้นมิใช่เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าวางประกันก็เรียกเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่มีการวางประกันกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มไม่ได้ ซึ่งกฎหมายคงไม่ประสงค์จะให้เกิดผลผิดปกติเช่นนั้น การแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้นมิได้มีการกำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้จำเลยนำค่าภาษีอากรที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไปย่อมถือเป็นการแจ้งการประเมินแล้ว จำเลยสำแดงราคาของที่นำเข้าผิดสภาพของสินค้าโดยนำเข้ามาอย่างอะไหล่แต่สำแดงราคาเป็นสินค้าที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.อันเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณจำนวนอากรผิดวัน จะมีอายุความ 2 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น เมื่อกรณีของจำเลยมีการแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 ทวิ(2) จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้ามาในปี 2519 เจ้าพนักงานของโจทก์จึงประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มในปี 2524 และฟ้องคดีเมื่อปี 2528 อยู่ในกำหนดระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในเรื่องอากรที่ค้างชำระนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ ให้ผู้ค้างชำระภาษีต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่มีการค้าง*ชำระเงินภาษีอากรจึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินอากรที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นการให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและเรียกเก็บอากรที่ขาดอายุความ, การคิดดอกเบี้ย, และการหลีกเลี่ยงอากร
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา แม้จะไม่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิก็เรียกเก็บได้ การแจ้งประเมินตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มิได้กำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้นำค่าภาษีอากรจำนวนที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควร ถือได้ว่าเป็นการแจ้งประเมินแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรมีอายุความ 10 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณเงินอากรผิดอันจะมีอายุความ 2 ปี กรณีที่จำเลยแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2) กรณีที่มีการค้างชำระเงินภาษีอากรซึ่งจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาและประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6105/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี การหักค่าใช้จ่าย และเบี้ยปรับ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 14) มาตรา 30 นั้น ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำขอเสียภาษีอากรและได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จะต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดโจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ผ่อนชำระภาษีเป็นรายเดือนตามแบบผ่อนชำระภาษีอากร แต่โจทก์มิได้ผ่อนชำระงวดแรกในกำหนด จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ชำระภาษีอากรตามเงื่อนไขและภายในเวลาที่กำหนดไว้ต้องถือว่าโจทก์มิได้ชำระภาษีอากรภายในเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ดังนี้โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 30 โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แม้โจทก์ยกขึ้นมาเป็นข้อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานตามคำอุทธรณ์เฉพาะในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีการพิจารณาถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสด้วย แสดงว่าภาษีสองประเภทนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มาแล้วตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย โจทก์ยอมรับว่ามิได้มีการหักภาษีเงินได้เมื่อจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และโจทก์จึงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาพร้อมเงินเพิ่มและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าจ้างแรงงานที่เจ้าพนักงานตรวจพบ ดังนั้น การประเมินจึงมิใช่การประเมินที่มิชอบด้วยกฎหมาย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส นั้น เมื่อโจทก์รับซื้อข้าวโพดและข้าวซึ่งเป็นพืชผลในทางการเกษตร โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าทางการเกษตรโจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องหักภาษี ณที่จ่าย เพื่อนำส่งเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้หักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่ง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีจากเงินจำนวนที่ตรวจพบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามกฎหมาย แต่โจทก์ไม่หักไว้และนำส่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มจนกว่าโจทก์จะชำระภาษีในส่วนนี้เสร็จ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่จะต้องเสียหรือนำส่งตามมาตรา 27 มิใช่ชำระเงินเพิ่มเพียงวันที่มีผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการ ค่าโทรศัพท์ และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นกรณีที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานเก็บไว้แต่โจทก์ไม่มีมาแสดงและจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ตลอดจนค่าดำเนินการตามพิธีศุลกากร และอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งเข้ามา ไม่ปรากฏหลักฐานว่า โจทก์จ่ายให้ใคร อย่างไรเมื่อใด จึงเป็นรายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (18) โจทก์ส่งข้าวสาร ไปขายต่างประเทศ โดยไม่ลงบัญชี และสั่งสินค้ากากถั่วเหลืองมาจากต่างประเทศเพื่อขายไม่ลงบัญชี ส่วนที่ลงบัญชีโจทก์แสดงต้นทุนซื้อสูงกว่าความเป็นจริง พฤติการณ์ในการกระทำของโจทก์แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรที่ตนมีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีณ ที่จ่าย โจทก์ละเลยโดยไม่มีเหตุผล เมื่อกฎหมายให้โอกาสโจทก์ก็ใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ต่อมาไม่ปฏิบัติตาม ดังนี้ไม่มีเหตุอันควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการที่ผิดนัดชำระภาษีอากร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้นำสินค้าเข้าชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรขาเข้าจำนวน 1,050,684.10 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์และตามทางนำสืบของโจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าเงินค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระโดยไม่รวมเงินเพิ่มจำนวนเท่าใด เมื่อไม่ทราบจำนวนเงินอากรขาเข้าที่จะใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินเพิ่มได้เช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่อาจให้จำเลยชำระเงินเพิ่มจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามที่โจทก์ขอได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ บัญญัติถึงความรับผิดของผู้เสียภาษีที่ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีอากรไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดไว้โดยเฉพาะเช่นนี้แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดใน ป.พ.พ. อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ที่ 1 ประกอบธุรกิจจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ (ReadyMixedConcrete) เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์ที่ 1 จะแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งคอนกรีตผสมเสร็จให้แก่ลูกค้าโดยใช้รถยนต์บรรทุกที่มีเครื่องผสมคอนกรีตในตัว ทำการผสมคอนกรีตตามอัตราส่วนหรือสูตร ที่ลูกค้ากำหนด แล้วนำไปเทยังหน่วยงานที่ลูกค้ากำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับลูกค้า ต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์หรือคอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อตอบแทนการใช้ราคาอันเข้าลักษณะของสัญญาซื้อขายคู่สัญญามิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร.
of 6