พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมันเนย: การตีความ 'เนย' ตาม พ.ร.ก. และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า'นอกจากมันเนย' ไปต่อท้ายคำว่า'เนย' แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า 'เนย' มีความหมายถึง'มันเนย' ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89,89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้วมิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และการชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม
การคำนวณราคาตลาดขายสิ่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกสำหรับสินค้าที่เป็นน้ำมัน น้ำมันเบนซิน ฯลฯ ให้คำนวณโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 8) เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าข้อ1(ค) นั้น คำว่า "ราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก" หมายความว่า ราคาขายส่งในช่วงสุดท้ายให้แก่ผู้ขายปลีกซึ่งจะจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง เมื่อปรากฏว่าน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงซื้อจากโจทก์องค์การเชื้อเพลิงได้ขายบางส่วนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และขายปลีกให้ประชาชน กับขายส่งให้แก่ตัวแทนคือปั๊มน้ำมันสามทหารซึ่งเป็นของเอกชน ซึ่งขายปลีกให้แก่ประชาชนทั่วไปอีกทีหนึ่งราคาน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงขายก็แตกต่างกัน แสดงว่าราคาตลาดขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกเฉพาะที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงจึงมิใช่มีเพียงราคาเดียว แต่มี 2 ราคาคือ (1) ราคาขายส่งที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงแล้วองค์การเชื้อเพลิงขายปลีกให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและประชาชน (2) ราคาขายส่งที่องค์การเชื้อเพลิงในฐานะผู้ขายส่งตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การเชื้อเพลิงขายให้แก่ตัวแทน คือปั๊มน้ำมันสามทหารเพื่อขายปลีกให้แก่ประชาชน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันของโจทก์โดยนำจำนวนเงินที่โจทก์ขายส่งให้แก่องค์การเชื้อเพลิงทั้งสองราคาดังกล่าวมาบวกกันแล้วหารด้วยปริมาณน้ำมันที่ขายส่งดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้เป็นราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อลิตร จึงเป็นการคำนวณราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ชอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 8) ดังกล่าว
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการค้าข้าวส่งออก: นายหน้า vs. ผู้ขาย การประเมินภาษีค่านายหน้า
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์จำหน่ายข้าวสารและเป็นนายหน้าและตัวแทนค้าต่างในกิจการทุกประเภทในการติดต่อขายข้าวให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศทางห้างโจทก์เสนอราคาขายข้าวโดยบวกค่าระวางบรรทุก ค่าประกันและค่านายหน้ารวมเข้าไปด้วย แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ และไม่ได้ขออนุญาตต่อทางราชการได้ความว่าโรงสีเป็นผู้ขออนุญาตส่งข้าวไปขายต่างประเทศเป็นผู้ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเท่าราคาข้าวที่ขายเข้ามาในประเทศ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติตามพิธีการส่งออกของกรมศุลกากร เสียภาษีศุลกากร ค่าพรีเมี่ยม และภาษีการค้าข้าว กระสอบบรรจุข้าวส่งไปขายต่างประเทศก็มีตราของผู้ซื้อประทับอยู่ แสดงว่าโรงสีรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ซื้อตัวจริงในต่างประเทศโจทก์อ้างว่าโรงสีขายข้าวให้โจทก์ แต่การซื้อขายไม่มีการวางมัดจำหรือทำสัญญาซื้อขายข้าวกันโจทก์ไม่มีโกดังเก็บข้าวเองเมื่อโรงสีส่งมอบข้าวแล้วโจทก์ยังไม่ชำระเงินค่าข้าวประกอบกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อในต่างประเทศส่งมาชำระค่าข้าวนั้นโจทก์จะรับเอาทั้งหมดไม่ได้คงรับได้เฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของโจทก์เองเท่านั้นพฤติการณ์เหล่านี้แสดงว่าโจทก์เพียงแต่ทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน หรือรับจัดธุรกิจจัดการให้โรงสีและผู้ซื้อในต่างประเทศได้ซื้อขายกันแม้บางเดือนมีการขาดทุนเพราะคำนวณค่าใช้จ่ายผิดพลาดบ้างการกระทำของโจทก์ก็เข้าลักษณะเป็นการประกอบการค้าประเภทนายหน้าตามประมวลรัษฎากรหาใช่โจทก์เป็นผู้ขายข้าวส่งต่างประเทศเองไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1388/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป-ไม่สำเร็จรูปทางภาษีอากร การประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และการคืนค่าขึ้นศาล
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันที โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้นแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และ 89(3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และมาตรา89ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟัง มาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้นแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และ 89(3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) และมาตรา89ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟัง มาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป vs. ไม่สำเร็จรูป ภาษีอากร การประเมินภาษี และเบี้ยปรับ
น้ำมันสะระแหน่และน้ำมันระกำนั้น แม้ก่อนจะใช้รับประทานหรือทา ต้องนำไปผสมกับแอลกอฮอล์หรือวัสลินเสียก่อน แต่การใช้แอลกอฮอล์หรือวัสลินผสมก็เพื่อจะลดหรือบรรเทาความเข้มของตัวยาและเพื่อสะดวกในการใช้เท่านั้น จึงถือว่าเป็นยาที่อาจอุปโภคบริโภคได้ทันทีโดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นอีก และเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3 ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 (2) และ 85 (3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีและคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
ยาระงับความรู้สึกบาบิตอล ควินิน และควินินซัลเฟตผง ซึ่งเป็นยาผงนั้น การเอาสิ่งอื่นมาผสมเพื่อให้ตัวยาเกาะแน่นเป็นยาเม็ด หรือเอายาผง 3 ประเภทนี้ละลายในน้ำกลั่นก่อนเพื่อใช้เป็นยาฉีด แต่การผสมหรือใช้ละลายดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภคเท่านั้น แม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายกับน้ำกลั่น ยา 3 ประเภทนี้ก็อยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชะเอมแท่งนั้น การสะกัดโดยใช้แอลกอฮอล์และน้ำ หรือทำน้ำยาสะกัดชะเอม ก็เพื่อความสะดวกในการใช้ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 (2) และ 85 (3) มิได้เพ่งเล็งว่า ผู้ประกอบการค้าขัดขืนหรือมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ การที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการสินค้าโดยคาดหมายเอาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินแล้วสั่งให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ประเมินพร้อมด้วยเบี้ยปรับ และเมื่อโจทก์โต้แย้งไม่ยอมชำระภายในกำหนด เช่นนี้ โจทก์ต้องเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 ทวิ ไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีและคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้ผู้ประกอบการค้าชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี และคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่สั่งให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล สำหรับสินค้าหลายชนิดซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยโจทก์ถือว่าสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูป โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแต่ละศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สินค้าตามฟ้องบางชนิดไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่มิได้สั่งไว้ว่าเงินภาษีเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มเอากับสินค้าชนิดนั้นควรถูกเพิกถอนไปด้วยหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกเลิกเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งหมดเสียนั้น แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องหรือนำสืบให้ปรากฏว่าสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าไม่สำเร็จรูปนั้น เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยสั่งให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการคิดหักเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อไม่มีทางคิดเงินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปนั้นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว จึงคืนเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสินค้าไทยศิลาดลประกอบเป็นโคมไฟฟ้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นโคมไฟฟ้า ไม่ใช่ศิลปวัตถุ
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าไทยศิลาดลชนิดต่างๆ เพื่อขาย ได้เอาปลั๊ก สายไฟ โป๊ะไฟซึ่งใช้ผ้าไหมไทยทำด้วยมืออย่างประณีตมีราคาแพง ติดเข้ากับสินค้าไทยศิลาดลทำเป็นตะเกียงแล้วขายไปด้วยกัน โป๊ะกับคนโทศิลาดลมีราคาใกล้เคียงกันและโป๊ะมีราคามากกว่าคนโท เมื่อเอาเครื่องประกอบทองเหลืองเพื่อติดหลอดไฟรวมเข้ากับโป๊ะด้วยจะยิ่งมีราคามากขึ้นไปอีกจึงจะถือว่าสินค้าไทยศิลาดลของโจทก์เป็นทรัพย์ประธานเสมอไปหาได้ไม่ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏว่าได้มีการเจาะก้นแจกันศิลาดลเพื่อยึดโคมไฟฟ้าไว้ให้มั่นคงแข็งแรงสินค้าไทยศิลาดลของโจทก์ซึ่งได้ประกอบเข้ากันกับเครื่องไฟฟ้าและโป๊ะไฟ จึงเป็นแต่ชิ้นส่วนของโคมไฟฟ้า ทั้งตามเอกสารที่โจทก์อ้างมีภาพสินค้าไทยศิลาดลกับโป๊ะไฟด้วยกันและภาษาอังกฤษบรรยายประกอบ เห็นว่าเป็นภาพโฆษณาสินค้าไทยศิลาดลที่ทำเป็นโคมไฟฟ้าแบบราชวงศ์หมิงแบบขวดน้ำเต้าแบบหม้อชาหรือกาแฟลายมังกร แบบเทพนม แบบเศียรนาคแบบอื่นๆและแบบช้างฉะนั้นสินค้าไทยศิลาดลกับโป๊ะและเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ซึ่งได้ประกอบเข้าด้วยกัน จึงไม่ได้เป็นศิลปวัตถุสำหรับดูเล่นเพื่อความสวยงามหรือเป็นเครื่องประดับแต่เป็นโคมไฟฟ้าตามความเป็นจริง โจทก์จึงต้องเสียภาษีประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 3(ก) ร้อยละ 10 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีและการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องชำระหนี้เมื่อผู้ประกอบการล้มละลาย พิจารณาจากกำหนดชำระหนี้และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
"เงินเพิ่ม" ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี ให้ถือว่าเป็นเงินภาษีและ ถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีการค้า เมื่อกรมสรรพากรมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีการค้าก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วยแม้ว่ามูลหนี้ภาษีการค้าจะเกิดขึ้นก่อนผู้ประกอบการค้าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานประเมินจะมิได้แจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1826/2511)
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ(ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง การที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ(ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง การที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีและเงินเพิ่มในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องและการลำดับการชำระหนี้
"เงินเพิ่ม" ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี ให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และ ถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีการค้า เมื่อกรมสรรพากรมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีการค้าก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่ามูลหนี้ภาษีการค้าจะเกิดขึ้นก่อนผู้ประกอบการค้าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานประเมินจะมิได้แจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1826/2511)
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น