คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษกรณีมีอาวุธในการปล้นทรัพย์: ความแตกต่างระหว่างบทเพิ่มโทษและบทกำหนดโทษหนักขึ้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง, 83 จำคุกคนละ 20 ปี จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวในการปล้นทรัพย์ จึงให้เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 340 ตรี เป็นจำคุกคนละ 30 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยที่ มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติให้ต้องรับโทษหนักขึ้นมิใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 ป.ว. ฉบับที่ 11 ข้อ 14 และ 15 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 30 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีฆ่าโดยมีพยานหลักฐานเป็นคำรับสารภาพและพยาน circumstantial evidence ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเห็นพ้องต้องกันในการใช้ดุลพินิจลงโทษ
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นในขณะเกิดเหตุ คงมีแต่พยานพฤติเหตุแวดล้อมเพียงปากเดียวซึ่งเบิกความว่าเห็นจำเลยวิ่งออกมาจากไร่อ้อยภายหลังเกิดเหตุ ที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนฆ่าผู้ตาย และฆ่าเพราะอะไรโดยวิธีใด ก็เพราะจำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงศาล ศาลวางโทษจำคุกตลอดชีวิต เมื่อเพิ่มโทษและลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 33 ปี 4 เดือน จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตาม ม.339 และ ม.340 ตรี ไม่ใช่การเพิ่มโทษ แต่เป็นการรับโทษหนักขึ้น จึงใช้ ม.51 เปลี่ยนโทษไม่ได้
กรณีการรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีเป็นคนละเรื่องกับการเพิ่มโทษ และหาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2521) จึงจะนำมาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เป็นโทษจำคุก 50ปีไม่ได้
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, เพิ่มโทษซ้ำความผิด, การจำกัดโทษสูงสุด
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปี กับเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 กึ่งหนึ่ง แต่เมื่อเพิ่มโทษแล้วจะจำคุกเกิน 20 ปีมิได้ ตามมาตรา 51 เช่นนี้ ศาลให้จำคุกจำเลย 20 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการฟ้องคดี และหลักการเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกัน เมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการฟ้องคดี และหลักการเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกันเมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้นจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกตลอดชีวิตและการบวกโทษที่รอลงอาญา โดยบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมย่อมไม่มีผลย้อนหลัง
ฟ้องโจทก์ขอให้บวกโทษที่รอไว้เข้ากับโทษในคดีนี้เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว แม้ว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 51 ของประมวลกฎหมายอาญาให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งข้อความที่บัญญัติใหม่มีผลให้เพิ่มโทษหรือบวกโทษแก่จำเลยได้ก็ตาม แต่บทบัญญัติที่ประกาศใช้ในภายหลังนี้หาเป็นคุณแก่จำเลยไม่ จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ยิงต่อเนื่อง แม้มีเจตนาชิงทรัพย์ ศาลยืนตามบทลงโทษพยายามฆ่า เพิ่มโทษซ้ำกระทำผิด
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัดถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก. แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม. ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย. เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่า. กระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย. แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย. เพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกบทหนึ่ง. หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม. เท่านั้นไม่.
อัตราโทษสำหรับความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา289 ที่จะพึงวางแก่จำเลยมีสถานเดียวคือ ประหารชีวิต.แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 52(1) ให้จำคุก16 ปี. เห็นได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ลดมาตราส่วนโทษที่จะลงตามมาตรา 289 เสียหนึ่งในสามตามมาตรา 80 และ 52(1)ให้แล้ว.
ตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะเพิ่มโทษให้จำเลยให้ต้องจำคุกเกินกว่า 20 ปีไม่ได้. แต่ถ้าศาลวางโทษจำคุก 20 ปี เพิ่มโทษขึ้นไปแล้วลดลงคงจำคุกไม่เกิน 20 ปีได้.
การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีกจะต้องถูกเพิ่มโทษนั้น. ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92,93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการชิงทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัดถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่า กระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย เพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกบทหนึ่ง หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม เท่านั้นไม่
อัตราโทษสำหรับความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา289 ที่จะพึงวางแก่จำเลยมีสถานเดียวคือ ประหารชีวิต แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 52(1) ให้จำคุก16 ปี เห็นได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ลดมาตราส่วนโทษที่จะลงตามมาตรา 289 เสียหนึ่งในสามตามมาตรา 80 และ 52(1)ให้แล้ว
ตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะเพิ่มโทษให้จำเลยให้ต้องจำคุกเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ แต่ถ้าศาลวางโทษจำคุก 20 ปี เพิ่มโทษขึ้นไปแล้วลดลงคงจำคุกไม่เกิน 20 ปีได้
การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีกจะต้องถูกเพิ่มโทษนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการชิงทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัดถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายแต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายเพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกบทหนึ่งหาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม เท่านั้นไม่
อัตราโทษสำหรับความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ที่จะพึงวางแก่จำเลยมีสถานเดียวคือ ประหารชีวิตแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 52(1) ให้จำคุก16 ปีเห็นได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ลดมาตราส่วนโทษที่จะลงตามมาตรา 289 เสียหนึ่งในสามตามมาตรา 80 และ 52(1)ให้แล้ว
ตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะเพิ่มโทษให้จำเลยให้ต้องจำคุกเกินกว่า 20 ปีไม่ได้แต่ถ้าศาลวางโทษจำคุก 20 ปี เพิ่มโทษขึ้นไปแล้วลดลงคงจำคุกไม่เกิน 20 ปีได้
การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีกจะต้องถูกเพิ่มโทษนั้นย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92,93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่
of 3