คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกในคดีฆ่าผู้อื่น โดยพิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์แห่งการกระทำ
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้วางโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบกับมาตรา 225 แล้ว ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 นั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว จึงเพิ่มโทษอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 51 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกในคดีฆ่าผู้อื่น: ศาลฎีกาพิจารณาการขอเพิ่มโทษตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้วางโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบกับมาตรา 225 แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากไม่ได้รับล้างมลทินตาม พ.ร.บ. 25 พุทธศตวรรษ และการพิจารณาโทษกักกันสำหรับผู้กระทำผิดติดนิสัย
ตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ผู้ที่ได้รับล้างมลทินคือ ผู้ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษที่ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ คือวันที่ 13 พฤษภาคม 2500 ฉะนั้น เมื่อจำเลยต้องโทษและพ้นโทษภายหลังที่กฎหมายดังกล่าวในคดีก่อนใช้บังคับ จำเลยย่อมไม่ได้รับล้างมลทิน ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยได้ตามกฎหมาย
จำเลยกระทำผิดติดสิสัยเคยถูกพิพากษาให้กักกันมาครั้งหนึ่งแล้วในคดีก่อน พ้นจากการกักกันมาได้เพียง 4 เดือน ก็มากระทำผิดขึ้นอีก ศาลจะพิพากษาให้กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 10 ปีอีกก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันทรัพย์สิน: การยิงตอบเพื่อป้องกันการลักทรัพย์และการทำร้ายตัว
อย่างไรเรียกว่าทำโดยป้องกัน ผู้ร้ายมาลักทรัพย์เจ้าทรัพย์ยิงผู้ร้าย ๆ ยิงตอบ เจ้าทรัพย์จึงยิงไปอีกถูกผู้ร้ายตายดังนี้ เรียกว่าทำโดยป้องกันไม่มีโทษ
of 3