พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสินค้าก่อสร้างและเครื่องเรือน: ทองเหลืองรูปตัวที/แอล เข้าข่ายต้องเสียภาษีตามบัญชีที่ 1 และ 2
ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวทีผู้ซื้อนำไปใช้คั่นในการปูพื้นหินขัดหรือหินอ่อน เป็นส่วนประกอบในการตกแต่งพื้นอาคาร และทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวแอลผู้ซื้อนำไปทำคิ้วเครื่องเรือนและติดขอบบันได เป็นวัสดุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน แม้มิใช่สิ่งจำเป็นในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน แต่ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน จึงเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4 (6)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 และบัญชีที่ 2 หมวด 4 (1) (3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 133) พ.ศ.2526 และมิได้รับยกเว้นภาษีการค้าตาม มาตรา 5(8) การที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่ผลิตสินค้าขึ้นเอง สินค้านี้มิใช่สินค้าตามมาตรา 7(4) อันจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามกฎหมาย ถือเป็นการขายสินค้าและต้องเสียภาษี
โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศซึ่งเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์มีสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ โรงงานของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับสินค้าที่ส่งออก โจทก์ก็ไม่ได้รับยกเว้นการทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าจึงถือว่าเป็นการขายสินค้านั้นโดยถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีการค้าส่งออก: สินค้าที่ผ่านการถลุงและผสมโลหะ ไม่ถือเป็นแร่ตามบัญชีอัตราภาษี
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายประมวลรัษฎากร ในประเภทการค้าที่ 1 ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าดังที่ระบุไว้ในชนิด 8 (ก) นั้น กำหนดเฉพาะสินค้าที่ยังมีสภาพเป็นแร่อยู่ และยังระบุข้อยกเว้นไว้ชัดว่าไม่ให้รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากแร่อันต้องเสียภาษีตามอัตราในชนิด 1 อีกด้วย
โจทก์ส่งออกสินค้าพิพาทซึ่งเป็นโลหะผสมที่ผ่านการถลุงมาจากแร่และยังมีการผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วอีกชั้นหนึ่งจึงมิใช่เป็นแร่โลหะหรือสินแร่โลหะตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 8 (ก) โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้าพิพาท
โจทก์ส่งออกสินค้าพิพาทซึ่งเป็นโลหะผสมที่ผ่านการถลุงมาจากแร่และยังมีการผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วอีกชั้นหนึ่งจึงมิใช่เป็นแร่โลหะหรือสินแร่โลหะตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 8 (ก) โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้าพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าส่งออกที่เป็นโลหะผสมที่ผ่านการถลุงแล้ว มิใช่แร่หรือสินแร่
ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายประมวลรัษฎากร ในประเภทการค้าที่ 1 ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าดังที่ระบุไว้ในชนิด 8(ก) นั้น กำหนดเฉพาะสินค้าที่ยังมีสภาพเป็นแร่อยู่ และยังระบุข้อยกเว้นไว้ชัดว่าไม่ให้รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากแร่อันต้องเสียภาษีตามอัตราในชนิด 1 อีกด้วย
โจทก์ส่งออกสินค้าพิพาทซึ่งเป็นโลหะผสมที่ผ่านการถลุงมาจากแร่และยังมีการผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วอีกชั้นหนึ่งจึงมิใช่เป็นแร่โลหะหรือสินแร่โลหะตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 8(ก) โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้าพิพาท.
โจทก์ส่งออกสินค้าพิพาทซึ่งเป็นโลหะผสมที่ผ่านการถลุงมาจากแร่และยังมีการผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วอีกชั้นหนึ่งจึงมิใช่เป็นแร่โลหะหรือสินแร่โลหะตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 8(ก) โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้าพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและผลงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า: ทองเหลืองรูปตัวที/แอลเป็นวัตถุก่อสร้าง ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ.2517 บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 4 บัญญัติว่า 'หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน(1) ฯลฯ (6) กลอน บานพับ คานเหล็ก ผลิตภัณฑ์โลหะใด ๆ ที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม (4)' กลอนบานพับคานเหล็กเหล็กฉาก เป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง แต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอน บานพับ คานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วยทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่นๆป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัด ก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่ายทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับ ดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด 4(6) แห่งบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.2517 และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อลูมิเนียมฟอยล์และลามิเนตฟอยล์เป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษีการค้า พิจารณาจากสภาพการใช้งานจริง
อลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์ (PLAINFOIL หรือ FOIL) และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษ (LAMINATEDFOIL) ที่โจทก์ผลิตขึ้นมานั้น จะเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 บัญชีที่ 1 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติของสินค้าดังกล่าวนั้นว่าจะนำไปเป็นของใช้ในตัวของมันเองได้ในทันทีหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ใช้จะต้องนำของนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับความประสงค์พิเศษของผู้ใช้หรือเพื่อให้รู้แหล่งกำเนิดและชนิดของสินค้านั้นๆหรือไม่ โจทก์ต้องผลิตอลูมิเนียมทั้งสองชนิดดังกล่าวให้มีความหนา ความบาง ความกว้าง ความยาว และอื่นๆตามคำสั่งของลูกค้า แสดงว่าเป็นสิ่งของที่พร้อมจะนำไปใช้จึงมีสภาพที่แท้จริงเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ห่อหรือบรรจุของหรือสินค้าอื่น โดยความมุ่งหมายเพื่อเก็บความร้อน ความชื้น และเก็บกลิ่น แม้ลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้อุตสาหกรรมหีบห่อ เช่นพวกซอง ถุงใส่ของ โดยการนำไปพิมพ์ข้อความ เคลือบสี หรือนำไปผนึกเพื่อป้องกันมิให้ความชื้นเข้าไปได้ โดยนำไปทำเป็นซองหรือแผงเพื่อบรรจุสินค้า ก็เป็นเพียงการปรับปรุงอลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษให้เหมาะสมกับสภาพที่จะเอาไปห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าของลูกค้า เพื่อให้เกิดความสวยงาม ให้มีความคงทนในการเก็บรักษา ให้รู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายในเป็นอะไร ให้รู้แหล่งกำเนิดของผู้ผลิต อลูมิเนียมทั้งสองชนิดนั้นมิได้คลายสภาพเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่ ยังคงมีสภาพเป็นของใช้ที่ใช้ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าอื่นที่ใช้ได้ทันทีในตัวของมันอยู่นั่นเอง จึงเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 ของบัญชีที่ 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 5(8) ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊ส) เพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นสองส่วน คือส่วนถังแก๊สกับส่วนตะเกียงซึ่งต่อกับถังแก๊ส จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าเพราะตะเกียงนี้ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สจึงมีลักษณะเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งซึ่งใช้กับแก๊สตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 2(ข) หาใช่ชนิด 1(ก) ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89ทวิ ได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89ทวิ ได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก' ในการจัดเก็บภาษีการค้า สินค้าที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไม่ใช่สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราพิเศษ
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21)พ.ศ.2509 หมายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการนำสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาด ซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบ.เพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึก สินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกตามบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ1.5ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความลักษณะสินค้าบรรจุหีบห่อเพื่อเสียภาษีการค้า กรณีลูกกวาดบรรจุปีบเพื่อการเก็บรักษา
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ทนายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการจำหน่ายสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาดซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบเพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีบมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึกสินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ 0.5 ของรายรับ