คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477 ม. 12 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความโดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนจากทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นการพนัน
ตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวออกใช้บังคับมิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ส่วนข้อตกลงที่ให้คิดค่าทนายความเป็นร้อยละของทุนทรัพย์ และลดส่วนลงหากบังคับคดีได้เพียงบางส่วน หรือมีการประนีประนอมยอมความกัน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความจึงไม่เป็นโมฆะ และตามสัญญาจ้างว่าความเมื่อไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค และไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่ทนายความต้องลงแรงว่าต่างให้แก่ลูกความจึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 853 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่ใช้ที่ดินและเงินจากคดีชำระค่าตอบแทนเป็นโมฆะ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาทแต่เนื่องจาก จ.ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใด จ.ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40 เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1 เป็นที่ดินที่ จ.จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ.ลูกความ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41 ประกอบ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มี พ.ร.บ.ทนายความพ.ศ.2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 แล้ว และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ มาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายโดยคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ได้จากการดำเนินคดี เป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12 (2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความทวงหนี้ ค่าจ้างคิดเป็นร้อยละของหนี้ ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากคดี
สัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งเป็นทนายความให้ทวงหนี้จากสมาชิกจำเลยนอกศาลโดยคิดค่าจ้างร้อยละ 5 ของยอดหนี้ที่ทวงได้นั้นเป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างทวงถามหนี้สินว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นร้อยละเท่าใดของหนี้ที่ทวงได้เท่านั้นหาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่มูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่และมิใช่เป็นการจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความดำเนินคดี สัญญาดังกล่าวจึงตกลงกันได้เพราะไม่มีกฎหมายห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าความเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทเป็นโมฆะตามกฎหมายทนายความ
เมื่อสัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก้ต่างให้จำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดี สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12(2) การที่โจทก์จำเลยจะทำสัญญากันก่อนว่าความหรือระหว่างว่าความหาเป็นผลให้กฎหมายดังกล่าวไม่ใช้บังคับไม่ สัญญานี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนายเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดีเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก้ต่างให้จำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดี สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12(2) การที่โจทก์จำเลยจะทำสัญญากันก่อนว่าความหรือระหว่างว่าความหาเป็นผลให้ กฎหมายดังกล่าวไม่ใช้บังคับไม่ สัญญานี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การกำหนดค่าจ้างและหักค่าใช้จ่าย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ
สัญญาจ้างว่าความ ซึ่งมีใจความว่า จำเลยจ้างโจทก์ให้ว่าความสองสำนวนค่าจ้าง 750,000 บาท ชำระเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะ. ถ้าจำเลยแพ้ จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างนี้. ถ้าจำเลยจะต้องเสียค่าไถ่ถอนที่ดินและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคดีเท่าใด จำเลยลดเงินนี้หนึ่งในสามจากค่าจ้างได้. สัญญานี้ไม่ใช่สัญญาเข้าเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท อันจะพึงได้แก่ลูกความ. จึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การกำหนดค่าจ้างและการหักค่าใช้จ่าย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ
สัญญาจ้างว่าความ ซึ่งมีใจความว่า จำเลยจ้างโจทก์ให้ว่าความสองสำนวนค่าจ้าง 750,000 บาท ชำระเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะ ถ้าจำเลยแพ้ จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างนี้ ถ้าจำเลยจะต้องเสียค่าไถ่ถอนที่ดินและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคดีเท่าใด จำเลยลดเงินนี้หนึ่งในสามจากค่าจ้างได้ สัญญานี้ไม่ใช่สัญญาเข้าเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท อันจะพึงได้แก่ลูกความ จึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2)
of 2