พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ ไม่ถือเป็นความผิดอาญา แม้จะมีการละเว้นตามฟ้อง
ศาลพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ปรกอบกับเอกสารท้ายฟ้องแล้ว เห็นว่า แม้จะเป็นความจริงตามคำฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามกฎหมาย ศาลพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (12), 162, 165, 167 นั้น เป็นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(12),162,165,167 นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้านจะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาพิพากษาต่อไป
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้านจะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดหลายกระทง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องเฉพาะกระทงที่เห็นว่ามีมูลและไม่ประทับฟ้องกระทงที่เห็นว่าไม่มีมูลนั้น โจทก์อุทธรณ์ได้ในทันที ไม่ต้องรอจนกว่าศาลจะได้ตัดสินคดีแล้ว
การระบุพยานของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้บัญชีพยาน ของโจทก์จะมีคำว่า บัญชีระบุพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็ดี จะถือว่าเป็นการระบุเฉพาะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานในคดีนั้นตามบัญชีพยานของตนตลอดทั้งเรื่อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2505 วาระพิเศษ)
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ประทับฟ้องความผิดบางกระทง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และต่อมาได้พิพากษายกฟ้องความผิดกระทงที่ได้ประทับฟ้องไว้โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ การที่โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยนั้น ควรยื่นอุทธรณ์แยกกันเป็นคนละฉบับ
การระบุพยานของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้บัญชีพยาน ของโจทก์จะมีคำว่า บัญชีระบุพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็ดี จะถือว่าเป็นการระบุเฉพาะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานในคดีนั้นตามบัญชีพยานของตนตลอดทั้งเรื่อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2505 วาระพิเศษ)
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ประทับฟ้องความผิดบางกระทง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และต่อมาได้พิพากษายกฟ้องความผิดกระทงที่ได้ประทับฟ้องไว้โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ การที่โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยนั้น ควรยื่นอุทธรณ์แยกกันเป็นคนละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องคดีอาญาแทนบริษัทเมื่อกรรมการฉ้อโกง และหลักการฟ้องซ้ำในคดีอาญา
ในกรณีที่กรรมการบริษัทจำกัดฉ้อโกงบริษัท และบริษัทนั้นไม่ยอมดำเนินคดีกับกรรมการที่ฉ้อโกง ผู้ถือหุ้นย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีทางอาญาขอให้ลงโทษกรรมการผู้นั้นได้
เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่หาว่าจำเลยได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับเงินจำนวนใดแล้ว จะฟ้องจำเลยนี้ในจำนวนเงินเดียวกันนั้นอีก แม้จะอ้างความผิดคนละฐานกับคดีเดิมก็ตาม จะกระทำมิได้ เป็นฟ้องซ้ำเพราะสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปแล้ว
อุทธรณ์บางข้อที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไป ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่หาว่าจำเลยได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับเงินจำนวนใดแล้ว จะฟ้องจำเลยนี้ในจำนวนเงินเดียวกันนั้นอีก แม้จะอ้างความผิดคนละฐานกับคดีเดิมก็ตาม จะกระทำมิได้ เป็นฟ้องซ้ำเพราะสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปแล้ว
อุทธรณ์บางข้อที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไป ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องซ้ำในข้อหาลักทรัพย์หลังศาลแขวงยกฟ้อง แม้เกี่ยวพันกับรับของโจร
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหารับของโจรส่วนข้อหาลักทรัพย์คดีไม่มีมูลให้ยกฟ้อง เช่นนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฐานลักทรัพย์นี้ต่อศาลที่มีอำนาจอีกโจทก์คงฟ้องจำเลยได้ในข้อหาฐานรับของโจรยังศาลที่มีอำนาจเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ความเสียหาย หรือความอาจเสียหายเพียงพอให้ฟ้องสมบูรณ์
ข้อความที่โจทก์ได้บรรยายว่า ในฟ้องในความผิดฐานปลอมหนังสือนั้น เมื่ออ่านแล้วเข้าใจได้ว่า การกระทำของจำเลยกระทำให้โจทก์ต้องเสียหาย หรืออาจเกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ ซึ่งจำเลยก็เข้าใจฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่หลงข้อต่อสู้ ฟ้องของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายทุก ๆ คำจนครบถ้วนตามตัวบทกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญา: การบรรยายฟ้องที่ทำให้เข้าใจถึงความเสียหาย
ข้อความที่โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องในความผิดฐานปลอมหนังสือนั้นเมื่ออ่านแล้วเข้าใจได้ว่า การกระทำของจำเลยกระทำให้โจทก์ต้องเสียหายหรือ อาจเกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ ทั้งจำเลยก็เข้าใจฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่หลงข้อต่อสู้ ฟ้องของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องทุกๆ คำจนครบถ้วนตามตัวบทกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'เคหะ' ใน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: สิ่งปลูกสร้างใช้ประกอบธุรกิจ ไม่ถือเป็นเคหะ แม้มีส่วนที่อยู่อาศัย
'เคหะ' ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489มาตรา 5 นั้น มีความหมายในเบื้องต้นว่า ต้องเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ถึงประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วย ก็ยังนับว่าเป็น'เคหะ' แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'เคหะ' แล้ว แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่กลับกลายเป็นเคหะขึ้นมาได้
โจทก์เช่าโรงเลื่อยเพื่อเลื่อยไม้จำหน่าย นับว่าเช่าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมโดยตรง ไม่ต้องด้วยลักษณะของคำว่า'เคหะ' ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489
สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ถึงประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วย ก็ยังนับว่าเป็น'เคหะ' แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'เคหะ' แล้ว แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่กลับกลายเป็นเคหะขึ้นมาได้
โจทก์เช่าโรงเลื่อยเพื่อเลื่อยไม้จำหน่าย นับว่าเช่าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมโดยตรง ไม่ต้องด้วยลักษณะของคำว่า'เคหะ' ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลังประทับฟ้อง: ศาลต้องถามคำให้การจำเลยก่อนพิพากษา
คดีอาญาศาลประทับฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์จำเลยมาต่อหน้าศาล ศาลจะสั่งงดการพิจารณา แล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีเสียทีเดียว โดยมิได้ถามคำให้การจำเลย หรือหาทนายให้จำเลยเสียก่อนนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา