พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา โจทก์ต้องนำสืบองค์ประกอบความผิดครบถ้วนจึงจะประทับฟ้องได้
ในคดีอาญาแม้จะเป็นเพียงชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ครบองค์ประกอบความผิดที่ได้ฟ้อง จึงจะทำให้คดีโจทก์มีมูลอันจะพึงประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167
ข้อเท็จจริงตามฟ้องและในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งให้หยุดกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดชั่วคราว และขนสินค้าทั้งหมดของห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยออกไปตรวจนับที่อื่นโดยไม่ให้โจทก์มีส่วนรู้เห็นและใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่าปกติก่อนที่จะแจ้งโจทก์ว่าสินค้าสูญหายไปจากบัญชีโดยอ้างว่าสินค้ามีปริมาณมากและโจทก์ไม่ยอมส่งมอบบัญชีรายรับ รายจ่ายของห้างฯ ให้แก่จำเลย อีกทั้งสมุดบัญชีของห้างฯ ยังกระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องทำให้ยากต่อการตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบล่าช้า การที่โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าตรวจพบว่าสินค้าที่จำเลยอ้างว่าสูญหายนั้นไปปรากฏในช่องรายการจ่ายของสมุดคุมยอดจำนวนสินค้าอันแสดงว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ได้หายไปในวันที่จำเลยทำการตรวจนับสินค้า แต่ถูกจำหน่ายไปภายหลังโดยจำเลยมีเจตนายักยอกเอาเป็นของตน โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดว่าการที่สินค้าสูญหายเกิดจากการที่จำเลยเจตนาเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้านั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตอย่างไร เพราะหากจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นจริง จำเลยย่อมไม่นำรายการสินค้าที่ตนยักยอกมาลงในรายการจ่ายดังกล่าวให้เป็นพยานหลักฐานผูกมัดตนเป็นแน่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบความจริงในข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นนี้จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าคดีโจทก์มีมูลตามข้อกล่าวหา
ข้อเท็จจริงตามฟ้องและในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งให้หยุดกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดชั่วคราว และขนสินค้าทั้งหมดของห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยออกไปตรวจนับที่อื่นโดยไม่ให้โจทก์มีส่วนรู้เห็นและใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่าปกติก่อนที่จะแจ้งโจทก์ว่าสินค้าสูญหายไปจากบัญชีโดยอ้างว่าสินค้ามีปริมาณมากและโจทก์ไม่ยอมส่งมอบบัญชีรายรับ รายจ่ายของห้างฯ ให้แก่จำเลย อีกทั้งสมุดบัญชีของห้างฯ ยังกระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องทำให้ยากต่อการตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบล่าช้า การที่โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าตรวจพบว่าสินค้าที่จำเลยอ้างว่าสูญหายนั้นไปปรากฏในช่องรายการจ่ายของสมุดคุมยอดจำนวนสินค้าอันแสดงว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ได้หายไปในวันที่จำเลยทำการตรวจนับสินค้า แต่ถูกจำหน่ายไปภายหลังโดยจำเลยมีเจตนายักยอกเอาเป็นของตน โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดว่าการที่สินค้าสูญหายเกิดจากการที่จำเลยเจตนาเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้านั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตอย่างไร เพราะหากจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นจริง จำเลยย่อมไม่นำรายการสินค้าที่ตนยักยอกมาลงในรายการจ่ายดังกล่าวให้เป็นพยานหลักฐานผูกมัดตนเป็นแน่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบความจริงในข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นนี้จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าคดีโจทก์มีมูลตามข้อกล่าวหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการข่มขืนใจให้ผู้อื่นออกจากทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขังลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364 และ365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้านมิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้านมิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองร้านเช่าพิพาท: สิทธิของผูเช่าเมื่อถูกจำเลยกีดกันการเข้าใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง ลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362,364 และ 365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจเจ้าหน้าที่เพื่อยึดทรัพย์สิน กรณีพิพาทสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ ร้านอาหารพิพาท ซึ่งมี จ. ลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่ง จ. ให้ออกจากร้าน มิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง จ. กลัวจึงยอมออกจากร้านจำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้ บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน นอกจากนั้นโจทก์ ยังนำสืบว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 คดีจึงยังมีปัญหาข้อเท็จจริง ที่ต้องให้ปรากฏชัดแจ้งก่อนว่า โจทก์ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364, 365 ประกอบด้วยมาตรา 83 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณาได้ การที่ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาจึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อรับสภาพหนี้ ไม่ถือเป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีส่วนร่วมออกเช็ค
แม้บันทึกการชำระค่าสินค้า มีข้อความว่า บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและในฐานะส่วนตัวได้ชำระค่าสินค้าวัสดุก่อสร้างและค่าขนส่งที่ยังค้างชำระให้แก่บริษัทโจทก์โดยชำระเป็นเช็ค 5 ฉบับ ตามที่ระบุไว้ ซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย และท้ายบันทึกมีลายมือชื่อจำเลยที่ 3 ลงไว้ในช่องผู้ทำบันทึกพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และตามใบสำคัญการจ่ายมีข้อความระบุว่าเป็นใบสำคัญการจ่ายของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ชำระค่าสินค้าบางส่วนโดยเช็คพิพาทให้แก่บริษัทโจทก์ ซึ่งตอนท้ายเอกสารมีลายมือชื่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นแต่เพียงบันทึกที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คชำระหนี้โจทก์จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วยเท่านั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวโดยจำเลยที่ 3ไม่มีส่วนร่วมในการออกเช็คพิพาท ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในเอกสารรับทราบหนี้ ไม่ถือเป็นความร่วมกระทำความผิด พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีส่วนร่วมในการออกเช็ค
แม้บันทึกการชำระค่าสินค้า มีข้อความว่า บริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและในฐานะส่วนตัวได้ชำระค่าสินค้าวัสดุก่อสร้างและค่าขนส่งที่ยัง ค้างชำระให้แก่บริษัทโจทก์โดยชำระเป็นเช็ค 5 ฉบับ ตามที่ ระบุไว้ ซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย และท้ายบันทึกมีลายมือชื่อ จำเลยที่ 3 ลงไว้ในช่องผู้ทำบันทึกพร้อมประทับตราสำคัญของ จำเลยที่ 1 และตามใบสำคัญการจ่ายมีข้อความระบุว่าเป็นใบสำคัญ การจ่ายของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ชำระค่าสินค้าบางส่วนโดย เช็คพิพาทให้แก่บริษัทโจทก์ ซึ่งตอนท้ายเอกสารมีลายมือชื่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นแต่เพียงบันทึกที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ ยอมรับว่า เป็นหนี้โจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คชำระหนี้โจทก์ จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วยเท่านั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวโดยจำเลยที่ 3ไม่มีส่วนร่วมในการออกเช็คพิพาท ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จ: ศาลมีดุลพินิจไม่ไต่สวนมูลฟ้องได้หากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนจากคำบอกเล่าที่ไม่ได้รับการยืนยัน
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยทราบสิ่งที่เบิกความในคดีเดิมจากคำบอกเล่าของ จ. ข้อความที่ จ.เล่าให้จำเลยฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยันดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดดังฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา