พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้สินจริง
คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องที่ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดเป็นพยานเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติภายหลังจากจำเลยออกเช็คพิพาท จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเท็จต้องทำให้เกิดความเสียหายและเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ฟ้อง จึงจะประทับฟ้องได้
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 5072 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ล. ย. และ ป. ต่อมา ย. และ ป. ยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จในคดีก่อนเป็น 2 ประการ คือคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์ภายในที่ดินโฉนดเลขที่ 5072 ด้วยประการหนึ่งและคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกิน 10 ปีแล้ว อีกประการหนึ่งในการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ได้ความว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยการแบ่งแยกการครอบครองแล้ว ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการแรกเป็นความเท็จและเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อน และคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในที่ดินของ ย. และ ป. อย่างไร คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการที่ 2 จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ และคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนของ ย.และ ป. นั้น เป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องคำเบิกความของจำเลยทั้งสองที่บางส่วนไม่เป็นเท็จบางส่วนไม่ทำให้โจทก์เสียหายเช่นนี้คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องกรณีเบิกความเท็จต้องเชื่อมโยงกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับ โดยข้อเท็จจริงที่นำสืบต้องอยู่ในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องจะนำมาพิจารณาประกอบคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ เมื่อคำเบิกความของจำเลยทั้งสองบางส่วนไม่เป็นเท็จ และบางส่วนไม่ทำให้โจทก์ได้ รับความเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะประทับฟ้อง ไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและคำพิพากษาศาลที่อาศัยข้อมูลเท็จ โจทก์ต้องแสดงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิทธิของตนเอง
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าที่ดินโฉนด เลขที่ 5072 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ล. ย. และ ป. ต่อมา ย. และ ป.ยกที่ดินเฉพาะ ส่วนของตน ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จในคดีก่อนเป็น 2 ประการ คือคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์ภายในที่ดินโฉนด เลขที่ 5072ด้วย ประการหนึ่งและคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองโดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อ กันเกิน 10 ปีแล้ว อีกประการหนึ่งในการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ได้ความว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดย การแบ่งแยกการครอบครองแล้ว ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการแรกเป็นความเท็จและเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อนและคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในที่ดินของ ย. และ ป. อย่างไร คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการที่ 2 จึงไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิของโจทก์ และคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ได้ รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนของ ย. และ ป. นั้น เป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องคำเบิกความของจำเลยทั้งสองที่บางส่วนไม่เป็นเท็จบางส่วนไม่ทำให้โจทก์เสียหายเช่นนี้คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานรับของโจร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ความผิดฐานยักยอกและรับของโจรเกี่ยวเนื่องกันจึงรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ ดังนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ความผิดฐานยักยอกไม่มีมูลนั้น มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 167 อันเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีอย่างหนึ่ง การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ มาใช้บังคับด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องความผิดฐานยักยอกและรับของโจรต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อความผิดฐานยักยอกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในความผิดฐานยักยอกไว้ด้วยจึงไม่ชอบ สำหรับความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันรับรถของโจทก์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานยักยอก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ จึงเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงการที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มีมูลความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องอาญาและการระงับตามกฎหมาย กรณีเคยฟ้องคดีซ้ำ และความรับผิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงตำแหน่งและหน้าที่ของจำเลยทั้งห้าตลอดจนการกระทำทั้งหลายว่าเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ไว้โดยละเอียดแสดงถึงการกระทำทั้งหลายซึ่งอ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ เพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความว่า การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับในคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทั้งโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5ได้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบกรรมวิธีตามสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยรวม 8 คนฐานร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาโดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85,86,88ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เพียงแต่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งคุ้มครองเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ได้ยื่นคำขอไว้และการกระทำของจำเลยในคดีนี้ก็เป็นเรื่องของการประดิษฐ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องส่วนใหญ่แล้ว ก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ มีข้อแตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งเพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดทางอาญาตามฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เป็นผู้ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำเลยที่ 5 นิติบุคคล ผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นดังกล่าว ส่วนจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็อาจจะเป็นผู้กระทำความผิดได้ตามมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีของโจทก์จึงมีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบกรรมวิธีตามสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยรวม 8 คนฐานร่วมกันผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาโดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตาม กฎหมายและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85, 86, 88 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เพียงแต่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งคุ้มครองเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ได้ยื่นคำขอไว้และการกระทำของจำเลยในคดีนี้ก็เป็นเรื่องของการประดิษฐ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องส่วนใหญ่แล้วก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกับ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ มีข้อแตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งเพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะให้ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดทางอาญาตามฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เป็นผู้ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำเลยที่ 5 นิติบุคคล ผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นดังกล่าว ส่วนจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็อาจจะเป็นผู้กระทำความผิดได้ตามมาตรา 88 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีของโจทก์จึงมีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาในศาลจังหวัดตามวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการวินิจฉัยขาดเจตนาทำให้ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136,137,326 และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนามีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ ในการไต่สวนมูลฟ้องแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาที่ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136, 137, 326, และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง