คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 167

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเบิกความเท็จ: การพิสูจน์มูลฟ้องในชั้นไต่สวน และการฟ้องก่อนศาลตัดสินคดีหลัก
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเมื่อโจทก์ยืนยันว่าข้อความที่จำเลยเบิกความเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดีคืออาจทำให้มีผลแพ้ชนะคดีกันได้ ก็เพียงพอแล้วที่จะฟังว่าคดีมีมูลส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร เท็จหรือไม่เท็จ ก็จะต้องฟังพยานในชั้นพิจารณาต่อไป การฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ หาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดฐานเบิกความเท็จเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็ค: การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีและการสั่งระงับการจ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คอ้างเหตุผลว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งระงับการจ่ายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินตามเช็คและบังอาจออกเช็คให้ใช้เงินที่มีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้ และออกเช็คในขณะที่ออกจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชีพอจ่ายตามเช็ค เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) และ (3)มิใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยห้ามมิให้ใช้เงินตามเช็ค โดยมีเจตนาทุจริต ตามมาตรา 3(5) แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ฟ้องของโจทก์ก็เป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าคดีมีมูลหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีโจทก์มีมูลให้เสร็จไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากธนาคารปฏิเสธจ่ายเนื่องจากลายมือชื่อ
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1) และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ " ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีนั้นโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คหรือไม่ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 3 (1) ในกรณีอื่น หรือมาตรา 3 (2) หรือมาตรา 3 (3) และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงจะต้องนำสืบถึงจำนวนเงินในบัญชีของจำเลยในวันออกเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากธนาคารปฏิเสธจ่ายด้วยเหตุลายมือชื่อไม่ตรง
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1) และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ " ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีนั้นโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คหรือไม่ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 3(1) ในกรณีอื่น หรือมาตรา 3(2) หรือมาตรา 3(3) และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงจะต้องนำสืบถึงจำนวนเงินในบัญชีของจำเลยในวันออกเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีเช็ค: ศาลต้องพิจารณาพยานโจทก์ก่อนด่วนสรุปว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อและกรอกรายการตามเช็ค ข้อเท็จจริงจะมีมูลว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมออกเช็คกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ศาลชั้นต้นควรพิเคราะห์จากพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนจะด่วนฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 นั้นหาชอบไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท การแสดงความเห็นโดยสุจริต และความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าอย่างไร และว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตนั้น มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและตามทางไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์นำสืบ คำสั่งดังกล่าวจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(5)แล้ว
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีเช็ค: โจทก์ต้องนำสืบสถานะทางการเงินของจำเลย ณ วันที่ออกเช็คเพื่อแสดงมูลความผิด
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงวันที่ออกเช็คว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คหรือบัญชีปิดแล้วด้วย เพราะเป็นสาระสำคัญแห่งคดีที่จะแสดงให้เห็นว่าคดีมีมูลความผิดหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏ คดีโจทก์ก็ไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีเช็ค: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ณ วันที่เช็คถึงกำหนด
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงวันที่ออกเช็คว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คหรือบัญชีปิดแล้วด้วย เพราะเป็นสาระสำคัญแห่งคดีที่จะแสดงให้เห็นว่าคดีมีมูลความผิดหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏ คดีโจทก์ก็ไม่มีมูล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่มีความผิด
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าตึก ซึ่งจำเลยที่ 1 นำมาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้กับโจทก์ในศาล และโอนทรัพย์สินอื่นที่โจทก์นำยึดไว้ให้จำเลยที่ 2 ทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รู้เห็นในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้นำสิทธิการเช่าตึกดังกล่าวไปค้ำประกันการชำระหนี้ไว้กับโจทก์ และการที่จำเลยที่ 2ร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดก็เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูล.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีแรงงานส่งผลต่อการวินิจฉัยความชอบธรรมของการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า เดิม จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลธุรการ ต่อมาโจทก์เลิกจ้างเพราะจำเลยใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยละทิ้งหน้าที่ไปทำงานส่วนตัวให้จำเลยจำเลยจึงฟ้องโจทก์ต่อศาลแรงงานว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรมในการพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จว่า ส. ได้รับแต่ง ตั้งเป็นหัวหน้ารักษาความปลอดภัย อยากได้รายได้พิเศษ จำเลยจึงฝาก ส. ทำงานที่ร้านอาหารโดยให้ไปทำในช่วงที่มิใช่เวลาทำงานของโจทก์ ฝากงานให้แล้ว ส. มาทำงานสายจำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนและเบิกความอันเป็นเท็จว่าจำเลยไม่เคยใช้ พ. ไปทำธุระส่วนตัวร้านอาหารที่จำเลยฝากงานให้ไปทำอยู่ที่ห้าง อ. เอกสาร ล.6 จำเลยเขียนฝากงานให้ ส. ทำที่โรงแรมจำเลยก็เบิกความเท็จว่าจำเลยเขียนฝากงานให้ทำที่ห้าง อ. เอกสาร ล.9 เป็นหนังสือที่จำเลยขอบใจ พ. เกี่ยวกับเรื่องงานที่จำเลยได้มอบหมายให้ไปทำและให้เก็บเป็นความลับ จำเลยก็เบิกความเท็จว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอบใจ พ.ที่ไปช่วยงานร้านอาหารโดยส. ขอร้องและจำเลยไม่รู้เรื่องข้อความที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบิกความนี้เป็นข้อสำคัญในคดี จะอ้างว่าแม้จำเลยจะเบิกความเป็นเท็จก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปย่อมไม่ถูกต้อง ที่ศาลสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ.
of 13