พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค กรณีเช็คขีดคร่อมและการมอบหมายให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
ช. มายืมเงินจากโจทก์แล้วมอบเช็คสองฉบับซึ่งมีจำหน่ายเป็นผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้ แต่เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายแก่ผู้ซื้อ โจทก์ไม่มีเงินฝากในธนาคาร จึงนำเช็คดังกล่าวไปให้ ก. เพื่อเข้าบัญชีของ ก. เพื่อเรียกเก็บเงิน ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเช็คพิพาทสองฉบับนั้น หากเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ได้ความว่า จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น คดีของโจทก์ย่อมมีมูล (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2519)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ได้ความว่า จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น คดีของโจทก์ย่อมมีมูล (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ และความเสียหายจากการปฏิเสธการจ่ายเงิน
ช. มายืมเงินจากโจทก์แล้วมอบเช็คสองฉบับซึ่งมีจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้แต่เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายแก่ผู้ถือโจทก์ไม่มีเงินฝากในธนาคาร จึงนำเช็คดังกล่าวไปให้ ก. เพื่อเข้าบัญชีของก. เพื่อเรียกเก็บเงิน ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเช็คพิพาทสองฉบับนั้น หากเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ได้ความว่า จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีของโจทก์ย่อมมีมูล (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่10/2519)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ได้ความว่า จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นคดีของโจทก์ย่อมมีมูล (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่10/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยนิตินัยและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินของโจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายที่อ้างเป็นเหตุยกฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยมานั้นไปเลยทีเดียวก็ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นที่อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงิน ต้องพิสูจน์เจตนา
การที่จะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็เกิดเป็นความผิดเสมอไป กรณีจะต้องปรากฏด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น จำเลยได้ออกด้วยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย เจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คหรือวันออกเช็ค จำเลยเป็นเจ้าหนี้ธนาคารอยู่เป็นจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด (อ้างฎีกาที่ 259/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค: ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่ความผิดเสมอไป ต้องมีเจตนาที่จะไม่ให้ใช้เงิน
การที่จะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็เกิดเป็นความผิดเสมอไปกรณีจะต้องปรากฏด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น จำเลยได้ออกด้วยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วยเจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คหรือวันออกเช็คจำเลยเป็นเจ้าหนี้ธนาคารอยู่เป็นจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด(อ้างฎีกาที่ 259/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำไม่เป็นความผิดอาญา แม้มีข้อพิรุธในเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ศาลฎีกายืนยกฟ้อง
การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องเป็นความผิดอาญาอันจะลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายคำฟ้องได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่เป็นความผิดทางอาญา ศาลก็หาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกไม่
จำเลยเป็นผู้ทำและลงลายมือชื่อของตนเองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไวยาวัจกรดำเนินคดีฟ้องแทนวัด ป. ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ซึ่งการทำเอกสารอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะทำได้ในฐานเป็นเจ้าอาวาส แม้วัด ป. จะมีฐานะเป็น นิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นของจำเลยเองมิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้หนึ่งผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร และเมื่อนำไปใช้ ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต กล่าวคือ ทราบแล้วว่าวัดป.ไม่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวัดโดยชอบด้วยกฎหมายได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำหนังสือถึงนายอำเภอเพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัด ป. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้กรอกข้อความ เจตนาไม่กรอกข้อความในช่องข้อหนึ่งในแบบรายงานที่ว่า เป็นวัดที่ได้รับอนุมัติให้ตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการมหาเถรสมาคมแล้ว อันเป็นสารสำคัญในการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา แล้วจำเลยที่ 1 ในฐานผู้มีหน้าที่ตรวจข้อความ ไม่ตรวจข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้วัด ป.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และเป็นส่วนหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าวัด ป. เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ จำเลยทั้งสามมีเจตนาทุจริตเพื่อให้วัด ป. ได้ที่ดินของวัดโจทก์การกระทำของจำเลยทำให้วัดโจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หากจะถือว่าเป็นความผิด ผู้ได้รับความเสียหายก็คือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องราวที่ยื่นนั้น หาใช่โจทก์ไม่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่เป็นความผิดทางอาญา ศาลก็หาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกไม่
จำเลยเป็นผู้ทำและลงลายมือชื่อของตนเองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไวยาวัจกรดำเนินคดีฟ้องแทนวัด ป. ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ซึ่งการทำเอกสารอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะทำได้ในฐานเป็นเจ้าอาวาส แม้วัด ป. จะมีฐานะเป็น นิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นของจำเลยเองมิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้หนึ่งผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร และเมื่อนำไปใช้ ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต กล่าวคือ ทราบแล้วว่าวัดป.ไม่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวัดโดยชอบด้วยกฎหมายได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำหนังสือถึงนายอำเภอเพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัด ป. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้กรอกข้อความ เจตนาไม่กรอกข้อความในช่องข้อหนึ่งในแบบรายงานที่ว่า เป็นวัดที่ได้รับอนุมัติให้ตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการมหาเถรสมาคมแล้ว อันเป็นสารสำคัญในการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา แล้วจำเลยที่ 1 ในฐานผู้มีหน้าที่ตรวจข้อความ ไม่ตรวจข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้วัด ป.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และเป็นส่วนหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าวัด ป. เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ จำเลยทั้งสามมีเจตนาทุจริตเพื่อให้วัด ป. ได้ที่ดินของวัดโจทก์การกระทำของจำเลยทำให้วัดโจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หากจะถือว่าเป็นความผิด ผู้ได้รับความเสียหายก็คือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องราวที่ยื่นนั้น หาใช่โจทก์ไม่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม รวมถึงความผิดต่อเจ้าหน้าที่ การพิจารณาความผิดต้องดูที่ผู้เสียหายและข้อเท็จจริง
การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องเป็นความผิดอาญาอันจะลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายคำฟ้องได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ไม่เป็นความผิดทางอาญา ศาลก็หาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกไม่
จำเลยเป็นผู้ทำและลงลายมือชื่อของตนเองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไวยาวัจกรดำเนินคดีฟ้องแทนวัด ป. ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งการทำเอกสารอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะทำได้ในฐานเป็นเจ้าอาวาส แม้วัด ป.จะมีฐานะเป็น นิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นของจำเลยเองมิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้หนึ่งผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร และเมื่อนำไปใช้ ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต กล่าวคือทราบแล้วว่าวัด ป.ไม่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวัดโดยชอบด้วยกฎหมายได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำหนังสือถึงนายอำเภอเพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัด ป. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้กรอกข้อความ เจตนาไม่กรอกข้อความในช่องข้อหนึ่งในแบบรายงานที่ว่า เป็นวัดที่ได้รับอนุมัติให้ตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการมหาเถรสมาคมแล้ว อันเป็นสารสำคัญในการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา แล้วจำเลยที่ 1 ในฐานผู้มีหน้าที่ตรวจข้อความ ไม่ตรวจข้อความดังกล่าว เป็นเหตุให้วัด ป.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และเป็นส่วนหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าวัด ป. เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ จำเลยทั้งสามมีเจตนาทุจริตเพื่อให้วัด ป. ได้ที่ดินของวัดโจทก์การกระทำของจำเลย ทำให้วัดโจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หากจะถือว่าเป็นความผิด ผู้ได้รับความเสียหายก็คือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องราวที่ยื่นนั้น หาใช่โจทก์ไม่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ไม่เป็นความผิดทางอาญา ศาลก็หาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกไม่
จำเลยเป็นผู้ทำและลงลายมือชื่อของตนเองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไวยาวัจกรดำเนินคดีฟ้องแทนวัด ป. ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งการทำเอกสารอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะทำได้ในฐานเป็นเจ้าอาวาส แม้วัด ป.จะมีฐานะเป็น นิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็เป็นของจำเลยเองมิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้หนึ่งผู้ใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิดฐานปลอมเอกสาร และเมื่อนำไปใช้ ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต กล่าวคือทราบแล้วว่าวัด ป.ไม่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวัดโดยชอบด้วยกฎหมายได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำหนังสือถึงนายอำเภอเพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัด ป. โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้กรอกข้อความ เจตนาไม่กรอกข้อความในช่องข้อหนึ่งในแบบรายงานที่ว่า เป็นวัดที่ได้รับอนุมัติให้ตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการมหาเถรสมาคมแล้ว อันเป็นสารสำคัญในการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา แล้วจำเลยที่ 1 ในฐานผู้มีหน้าที่ตรวจข้อความ ไม่ตรวจข้อความดังกล่าว เป็นเหตุให้วัด ป.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และเป็นส่วนหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าวัด ป. เป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ จำเลยทั้งสามมีเจตนาทุจริตเพื่อให้วัด ป. ได้ที่ดินของวัดโจทก์การกระทำของจำเลย ทำให้วัดโจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หากจะถือว่าเป็นความผิด ผู้ได้รับความเสียหายก็คือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องราวที่ยื่นนั้น หาใช่โจทก์ไม่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จ: การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จต้องทำในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
คดีอาญาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ได้ฟ้อง จึงจะทำให้คดีโจทก์มีมูลอันศาลจะพึงประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปได้
คดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จ โจทก์จะอ้างว่าข้อความที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ จะต้องพิจารณาในชั้นพิจารณาไม่ใช่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
คดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จ โจทก์จะอ้างว่าข้อความที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ จะต้องพิจารณาในชั้นพิจารณาไม่ใช่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จต้องปรากฏในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาความสำคัญของข้อเท็จจริงต้องเกิดขึ้นในชั้นไต่สวน
คดีอาญาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ได้ฟ้อง จึงจะทำให้คดีโจทก์มีมูลอันศาลจะพึงประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปได้
คดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จ โจทก์จะอ้างว่าข้อความที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่จะต้องพิจารณาในชั้นพิจารณาไม่ใช่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่
คดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จ โจทก์จะอ้างว่าข้อความที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่จะต้องพิจารณาในชั้นพิจารณาไม่ใช่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถูกตัดสิทธิมรดก ไม่มีอำนาจฟ้องคดีปลอมพินัยกรรมของผู้อื่น แม้จะถูกกล่าวหาปลอมพินัยกรรมเอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมของ ป.เจ้ามรดก ขอให้ลงโทษแต่โจทก์เองก็ถูกฟ้องว่าปลอมพินัยกรรมของ ป. เหมือนกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษโจทก์ฐานปลอมพินัยกรรม คดีถึงที่สุด ดังนี้โจทก์จึงตกเป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ป.ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (5)โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยอันจะมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง