คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 310

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ามนุษย์: การสมคบคิด, ความเสียหาย, และค่าชดใช้
ความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นในคดีนี้ เป็นความผิดคนละประเภทกับความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้เข้าพักอาศัยโดยซ่อนเร้นให้พ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 และยังเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันด้วย ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน สามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ แม้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน ก็เป็นคนละกรรมกัน กรณีมิใช่โจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนกระทงความผิดอื่นในคดีนี้ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิด จะถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ามนุษย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
ตามพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงยินยอมเปลี่ยนลักษณะงานจากการทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลามาเป็นการทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมง แม้ถูกไต้ก๋งเรือบางคนบังคับขู่เข็ญให้ทำงานก็เป็นลักษณะนิสัยใจคอของไต้ก๋งเรือแต่ละคน ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถูกบังคับขู่เข็ญให้ทำงาน และเป็นเรื่องปกติที่เรือประมงซึ่งไปหาปลานอกน่านน้ำไทยต้องล่องทะเลหาปลาเป็นเวลานานจึงจะกลับเข้าฝั่ง และการที่ไต้ก๋งเรือเก็บหนังสือเดินทางของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไว้เพื่อความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างเดินทางก็เป็นวิธีปฏิบัติที่เรือประมงโดยทั่วไปกระทำกัน มิใช่เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดหลบหนี ส่วนค่าจ้างโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงให้ น. และ ก. รับเงินค่าจ้างแทนเพื่อนำไปส่งให้แก่ครอบครัวของแต่ละคนที่ประเทศกัมพูชาแล้วถ่ายรูปส่งให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดดูระหว่างที่ทำงานอยู่บนเรือประมง โดยมีการนำเงินค่าจ้างส่งให้จริง และหลังเกิดเหตุตัวแทนของ ค. เจ้าของเรือประมงได้จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดแล้ว เพียงแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยังโต้แย้งว่ามีค่าแรงในการทำงานวันหยุดและค่าแรงการทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเพิ่มอีก จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดและเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการบังคับใช้แรงงานโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ การแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ศาลฎีกาตัดสินคดีและพิจารณาขอบเขตอำนาจลงโทษ
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง ทำให้ปราศจากเสรีภาพเพื่อให้ผู้อื่นทำการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่เกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์กนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 3 ผู้กระทำผิดเป็นคนไทยและผู้เสียหายทั้งสองได้ร้องขอให้ลงโทษ จำเลยที่ 3 จะต้องรับโทษในราชอาณาจักรและศาลไทยจะลงโทษได้เฉพาะความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 และมาตรา 310 ประกอบมาตรา 8 ตาม ป.อ. เท่านั้น ศาลฎีกาต้องตีความกฎหมายทางอาญา โดยเคร่งครัด จะขยายความมาตรา 8 ไปไกลว่า กฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ให้ลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องอันมีโทษหนักขึ้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 หาได้ไม่ และมาตรา 12 นั้นเองไม่ได้บัญญัติว่า หากกระทำความผิดดังกล่าวไม่ว่าภายในหรือนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7532/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ การใช้กำลังประทุษร้ายต้องกระทำต่อตัวทรัพย์หรือตัวผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับ ป. ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายโดยใช้มีดปอกผลไม้ปลายแหลม 1 เล่ม ฟันข้อมือขวาของผู้เสียหาย 1 ครั้ง มิได้บรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายโดยใช้สายไฟของเครื่องเป่าผมผูกมัดประตูห้องน้ำไว้กับประตูระเบียงห้องจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายไม่สามารถออกจากห้องน้ำได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยและ ป. มิได้ใช้แรงกายภาพกระทำต่อผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ คงเป็นการกระทำที่เป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 310 ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำที่โจทก์บรรยายฟ้องและประสงค์จะให้ลงโทษจำเลย ส่วนการที่ผู้เสียหายใช้มือข้างขวาเปิดบานเกล็ด ป. ใช้มีดปอกผลไม้ปลายแหลมฟันข้อมือผู้เสียหาย 1 ครั้ง เป็นเหตุให้มีบาดแผลยาว 1 ซ.ม. เมื่อผู้เสียหายร้องขอให้จำเลยเอายามาให้ ป. เอายามาให้ผู้เสียหาย นับว่าผิดวิสัยของคนร้ายที่ประสงค์ทำร้ายร่างกายเจ้าของทรัพย์เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ การกระทำของ ป. จึงเป็นการกระทำที่มิได้เกี่ยวเนื่องกับการลักทรัพย์และเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ป. เอง เพราะจากคำเบิกความของผู้เสียหายไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นด้วยในลักษณะอย่างใด จำเลยคงมีความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจารด้วยกำลังประทุษร้าย และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา องค์ประกอบความผิดและขอบเขตการลงโทษ
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นนั่งรถยนต์แล้วให้ผู้เสียหายขับไป อันเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย และใช้อำนาจผิดคลองธรรม โดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ถึงแม้ว่าความผิดฐานใช้อุบายหลอกลวงไปเพื่อการอนาจารกับความผิดฐานขู่เข็ญและใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อการอนาจารจะเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน แต่ลักษณะของการกระทำต่างกัน องค์ประกอบในการกระทำความผิดจึงต่างกัน แม้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอั้งยี่ซ่องโจรเพื่อฮั้วประมูลภาครัฐ ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.เสนอราคา
ผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกหน่วงเหนี่ยว ขวางทาง ฉุดรั้งและข่มขืนใจโดยถูกประทุษร้ายเพื่อให้ยอมไม่เข้าร่วมเสนอราคาไม่ได้ยอมตามที่ถูกกระทำดังกล่าว กลับได้เข้าไปยื่นซองเสนอราคาและร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง จนการจัดประกวดราคาในวันดังกล่าวถูกยกเลิก การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงเป็นเพียงการพยายามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 6 และ ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก
เจตนาในการตั้งกลุ่มกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ซ่องโจรของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ก็เพื่อกระทำความผิดฐานต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ จึงเป็นเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ป.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 209 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนสลบและการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาพิพากษาว่าการกระทำความผิดแตกต่างรายละเอียดเล็กน้อยไม่ถือต่างจากฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนสลบ แต่การพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 3 เพียงผู้เดียวที่สลบ แม้ข้อเท็จจริงการพิจารณาจะต่างกับคำฟ้อง แต่กรณีเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องการพิจารณาต่างจากฟ้องในข้อสาระสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยทรมาน, ลักทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ร่วมกันทำลายศพ: ศาลแก้โทษและกระทงความผิด
จำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตลอดว่าจะทำอย่างไรต่อไปไม่ใช่เพียงแต่ร่วมทางไปโดยจำยอม แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ลงมือทำร้ายและฆ่าผู้ตายทั้งสอง แต่เป็นผู้ควบคุมตัวผู้ตายที่ 2 อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังและขับรถอีกคันหนึ่งติดตามไปตลอดทาง อันมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การกระทำความผิดทั้งหมดสำเร็จผล จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังที่จำเลยที่ 3 ฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายที่ 2 และฆ่าผู้ตายที่ 2 โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) แล้วคงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจนำโทษความผิดฐานอื่นมาลงแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อีกและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 ที่บัญญัติว่า สำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งจะกระทำไม่ได้เฉพาะโทษประหารชีวิตที่โดยสภาพแล้วไม่อาจกำหนดโทษอื่นได้อีกเท่านั้น กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วก็คงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษและเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385-2387/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยว, บังคับให้ทำสัญญา, แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน, ความผิดฐานอาญา
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันขับรถยนต์ปาดหน้ารถยนต์โจทก์ร่วม แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วคุมตัวโจทก์ร่วมไปเจรจาหนี้สินกันโดยบังคับโจทก์ร่วมให้ใช้หนี้แก่จำเลยที่ 7 แทนจำเลยที่ 3 พฤติการณ์เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำอันเป็นการกระทำความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมต่อจำเลยทั้งเจ็ดกับพวก โดยกระทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของผู้อื่น อันเป็นการกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยืนล้อมคุมเชิงโต๊ะเจรจาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 4 และที่ 7 ไว้ เป็นพฤติการณ์ในเชิงข่มขู่โจทก์ร่วมอยู่ในตัว เพราะก่อนมีการเจรจา โจทก์ร่วมถูกบังคับใส่กุญแจมือมาพบจำเลยที่ 4 และที่ 7 ทั้งจำเลยที่ 4 ยังได้เตรียมแบบพิมพ์สัญญายืมและสัญญาค้ำประกันที่มีการกรอกข้อความว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ยืมสิ่งของจากจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ร่วมซึ่งตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจำยอมต้องลงชื่อในสัญญาดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์ร่วมจะเป็นหนี้จำเลยที่ 3 อยู่ก็ตาม แต่จำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่มีสิทธิใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายในการบังคับให้โจทก์ร่วมจำยอมต้องชำระหนี้แทนจำเลยที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ตนเองได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ทำสัญญายืมสร้อยคอทองคำ ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิจากจำเลยทั้งเจ็ด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก อีกฐานหนึ่งด้วย แต่การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องและมีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
หลังจากจำเลยที่ 1 ขับรถปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์ร่วมให้หยุดรถ จำเลยที่ 6 ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้เดินมาที่รถโจทก์ร่วมและบอกโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ว่า เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วจับโจทก์ร่วมใส่กุญแจมือควบคุมตัวไปพบจำเลยที่ 4 และที่ 7 ถือได้ว่าจำเลยที่ 6 แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 145 วรรคแรกด้วย แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเดียวเพื่อบังคับให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้จำเลยที่ 7 แทนจำเลยที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวต่อเนื่อง: กระทำชำเราโทรมเด็กหญิงหลายครั้ง ความผิดต่อเนื่องในวาระเดียวกัน
หลังจากจำเลยกับพวกกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงที่ขนำที่เกิดเหตุครั้งแรกแล้ว จำเลยกับพวกยังคงควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้โดยพาผู้เสียหายไปที่ขนำอีกแห่งหนึ่งแล้วร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงในครั้งต่อไปถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ. มาตรา 90
of 16