พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมและกักขังคนงานโดยจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย ถือเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงจ้างพวกผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวอีสานให้เป็นคนงานทำหน้าที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยตัดอ้อย และดายหญ้าในไร่ของจำเลย แล้วพวกจำเลยควบคุมบังคับพวกผู้เสียหายตลอดเวลามิให้ไปไหนมาไหนโดยอิสระกักขังให้หลับนอนในเรือนพักภายในไร่ มีกลอนและโซ่คล้องใส่กุญแจไว้ภายนอกห้อง หากต้องการออกไปถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ต้องขออนุญาต และมียามคอยเฝ้าคุมอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำงานล่าช้าก็จะถูกตีเตะทำร้ายทั้งถูกขู่เข็ญมิให้หลบหนี มิฉะนั้นจะถูกยิง ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 และสำหรับจำเลยที่ทำร้ายร่างกายพวกผู้เสียหายย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต่อผู้พิพากษา: การกระทำต้องมีเจตนาทุจริตและมีมูลความผิดชัดเจน
โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา ฟ้องผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยแกล้งหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ โดยข่มขืนใจให้ ส.แก้ราคาหลักทรัพย์ของ ย.ผู้ขอประกันตัวโจทก์จากราคา 120,000 บาท ให้เหลือเพียง 60,000 บาทจนไม่พอประกัน กับแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตไม่ยอมตีราคาหลักทรัพย์ของผู้ขอประกันเมื่อ 9 นาฬิกา จนเมื่อเวลาศาลจะปิดทำการแล้วจึงแจ้งแก่โจทก์ว่าหลักทรัพย์ไม่พอ ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสไปหาหลักทรัพย์มาเพิ่มได้ทันทำให้โจทก์ถูกขังต่อมา แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยผู้ทำหน้าที่ศาลได้ตรวจดูหลักประกันตามบัญชีทรัพย์ที่ผู้ขอประกันยื่นมานั้นว่าจะเชื่อถือได้เพียงใดหรือไม่แล้วเห็นว่าตีราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลเห็นว่าผู้ประกันไม่ควรตีราคาหลักประกันให้สูงผิดความจริงไปมากอันจะทำให้ศาลสิ้นความเชื่อ ถือจึงได้ให้แก้ไขเสียให้ใกล้เคียงกับราคาจริง หากจะต้องเสียเวลาไปบ้างก็เป็นการกระทำที่อยู่ในการใช้ดุลยพินิจภายในขอบอำนาจของผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อข้อเท็จตามคำบรรยายฟ้องก็ไม่มีข้อที่จะแสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ชอบด้วย กฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์ฟ้องจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 310 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส.แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย.ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่ และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้น จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส.แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย.ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่ และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้น จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องกล่าวหาผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่มิชอบโดยทุจริตและข่มขืนใจ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่าไม่มีมูล
โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา ฟ้องผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยแกล้งหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ โดยข่มขืนใจให้ ส. แก้ราคาหลักทรัพย์ของ ย. ผู้ขอประกันตัวโจทก์จากราคา 120,000 บาทให้เหลือเพียง 60,000 บาทจนไม่พอประกันกับแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตไม่ยอมตีราคาหลักทรัพย์ของผู้ขอประกันเมื่อ 9 นาฬิกา จนเมื่อเวลาศาลจะปิดทำการแล้วจึงแจ้งแก่โจทก์ว่าหลักทรัพย์ไม่พอ ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสไปหาหลักทรัพย์มาเพิ่มได้ทันทำให้โจทก์ถูกขังต่อมา แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยผู้ทำหน้าที่ศาลได้ตรวจดูหลักประกันตามบัญชีทรัพย์ที่ผู้ขอประกันยื่นมานั้นว่าจะเชื่อถือได้เพียงใดหรือไม่แล้วเห็นว่าตีราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมากนักซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลเห็นว่าผู้ประกันไม่ควรตีราคาหลักประกันให้สูงผิดความจริงไปมากอันจะทำให้ศาลสิ้นความเชื่อถือจึงได้แก้ไขเสียให้ใกล้เคียงกับราคาจริงหากจะต้องเสียเวลาไปบ้าง ก็เป็นการกระทำที่อยู่ในการใช้ดุลพินิจภายในขอบอำนาจของผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องก็ไม่มีข้อที่จะแสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์ฟ้องจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 310 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส. แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย. ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้นจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส. แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย. ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้นจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิดตามกฎหมายชัดเจน มิเช่นนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ 310 โดยกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยบังอาจหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และจำเลยข่มขืนใจโจทก์โดยมีอาวุธเพื่อให้โจทก์ถอนทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ส่วนการกระทำของจำเลยอย่างไรที่ว่าข่มขืนใจโจทก์ตามมาตรา 309 โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยได้กระทำอย่างไรที่ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์และกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา 310 โจทก์ไม่ได้บรรยายในฟ้องเลย ฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความ/เบิกความเท็จ – ความผิดฐานแจ้งความ/เบิกความเท็จและฐานข่มขืนกระทำชำเรา – เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่
คำฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามคำบอกเล่าของเด็กหญิง อ. บุตรสาวอายุ 8 ปี ว่าเด็กหญิง อ.ได้ถูกเด็กชายไม่ทราบชื่อซึ่งอยู่ในโรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้กล่าวยืนยันถึงตัวผู้ข่มขืนว่า เป็นเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความถึงเรื่องที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่า เป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น ก็เป็นการเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชี้ตัวผู้กระทำผิดเท่านั้น มิใช่จำเลยที่ 1 กล่าวยืนยันเองเมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกข่มขืนมิได้เล่าข้อเท็จจริงเช่นนั้นแก่จำเลยที่ 1 หรือมิได้ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้กระทำผิด คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173,174
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, ฉุดคร่า, กักขัง: ความผิดหลายกระทงตามกฎหมายอาญา
จำเลยฉุดคร่าโจทก์ร่วมจากทางเดินพาเข้าไปในไร่อ้อยข้างทางห่างประมาณ 10 เส้นแล้วจึงข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 284 และ 310 กระทงหนึ่งกับเป็นความผิดตามมาตรา 276 อีกกระทงหนึ่ง ไม่ใช่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีข่มขืนกระทำชำเราและค้าประเวณี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลย 6 คนโดยมิได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1, 2, 3, 4ได้ร่วมข่มขืนใจ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309, 310 จึงลงโทษจำเลยที่ 1,2,3,4ฐานนี้ไม่ได้ และตามฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 5, 6 ได้ข่มขืนใจผู้เสียหายโดยทำให้เกิดความกลัว ว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 309ก็ลงโทษจำเลยที่ 5, 6 ตามมาตรา 309 ไม่ได้เช่นกัน แม้จำเลยที่ 1, 3, 4, 5, 6 มิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1, 3, 4, 5 และ 6 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการลงโทษตามกระทงความผิดที่หนักที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลย 6 คนโดยมิได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1, 2, 3, 4ได้ร่วมข่มขืนใจ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309, 310 จึงลงโทษจำเลยที่ 1, 2, 3, 4ฐานนี้ไม่ได้ และตามฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 5, 6 ได้ข่มขืนใจผู้เสียหายโดยทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 309ก็ลงโทษจำเลยที่ 5, 6 ตามมาตรา 309 ไม่ได้เช่นกัน แม้จำเลยที่ 1, 3, 4, 5, 6 มิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1, 3, 4, 5 และ 6 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการควบคุมตัวโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การข่มขืนใจและหน่วงเหนี่ยวเสรีภาพ
การบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่การกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) หาได้บัญญัติว่าต้องใช้ถ้อยคำของกฎหมายไม่โจทก์จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2)การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2)การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการกระทำโดยมิชอบของเจ้าพนักงาน: อำนาจจับกุม ความจำเป็น และขอบเขตการใช้กำลัง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่การกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หาได้บัญญัติว่าต้องใช้ถ้อยคำของกฎหมายไม่ โจทก์จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2) การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้ และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2) การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้ และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน