คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 310

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการข่มขืนกระทำชำเรา: ศาลฎีกาพิพากษาความผิดฐานฆ่าจากการกระทำต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 1 ถอดกางเกงเดินเข้าไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกงและยืนพิงลูกกรงระเบียงซึ่งสูงเพียงก้น โดยผู้ตายมิได้ยินยอมที่จะให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเรานั้น จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้ตายหลบหลีกขัดขืนมิให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราแล้วอาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคารโรงเรียนถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายดิ้นรนขัดขืนเพื่อมิให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราจนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคารโรงเรียนจนได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย กระทำอนาจาร พยายามข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น
จำเลยทั้งสามขึ้นไปบนอาคารโรงเรียนพร้อมกัน ขณะที่จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยืนอยู่ข้างหน้าพยานโจทก์ซึ่งยืนอยู่ห่างผู้ตายประมาณ 1 วา พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมหรือสนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์ ความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 กับพวกใช้กำลังประทุษร้ายโดยล็อกคอผู้เสียหายทั้งสองให้เข้าไปนั่งในรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ แล้วจำเลยที่ 1 พูดบังคับ ขู่เข็ญให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้จำเลยที่ 1 กับพวกคนละ 1,000 บาท หากไม่ให้จะอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ไม่ได้ ผู้เสียหายทั้งสองเกรงกลัวจึงยอม ตามที่จำเลยที่ 1 ขู่บังคับ และได้มอบเงิน 500 บาท ให้จำเลยที่ 3 ไป วันเดียวกัน ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์นัดหมายให้จำเลยที่ 1 มารับเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 มารับเงินจึงถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับกุมได้ แล้วจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในวันเดียวกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้มารับเงิน ส่วนที่เหลือจากผู้เสียหายทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แสดง ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันวางแผนและกระทำความผิด ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้น ทั้งยังร่วมกับจำเลยที่ 1 นำเงิน 500 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้ในวันเกิดเหตุไปใช้ในการรับประทานอาหารกันการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดโดยร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้งสองให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและกรรโชกผู้เสียหายทั้งสอง และการที่จำเลยทั้งสามกับพวกเอาตัวผู้เสียหายทั้งสองไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในรถยนต์โดยเจตนาทำให้ผู้เสียหายทั้งสองปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อมีการขู่เรียกเอาเงินโดยเจตนากรรโชกเอาทรัพย์จนผู้เสียหายทั้งสองยินยอมให้เงินก็เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม ไม่ใช่กระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโดยมิชอบ ข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหาย ชี้เจตนาใช้อำนาจเกินขอบเขต
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมผู้เสียหายที่ได้ก่อการทะเลาะวิวาทก่อนหน้านั้นแต่เหตุแห่งการทะเลาะวิวาทได้ยุติลงแล้ว เหตุวิวาทยังไม่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า โดยมีคู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ แต่มิได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบอีกทั้งไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสงสัยว่ากระทำความผิดมาแล้วจะหลบหนี จำเลยซึ่งไม่มีหมายจับไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับผู้เสียหาย จำเลยจับผู้เสียหายโดยไม่แจ้งข้อหาไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กลับนำไปควบคุมที่ด่านตรวจ ชี้เจตนาจำเลยว่ากระทำโดยโกรธแค้น แสดงอำนาจ เพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ศาลฎีกายกฟ้องคดีอาญา ฐานฆ่าและกักขัง เนื่องจากพยานหลักฐานขัดแย้งและไม่น่าเชื่อถือ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ฐานฆ่าผู้อื่น ให้ประหารชีวิตและฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ความผิดฐาน ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง คงมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเฉพาะความผิด ฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้พาผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะสีขาวไป และการที่ผู้ตายถูกฆ่าเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานทำให้ผู้อื่น ปราศจากเสรีภาพในร่างกายของจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 เพราะเป็น ข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังไม่จำกัดระยะเวลา หากทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังตาม ป.อ. มาตรา 310 นั้นไม่ได้กำหนดว่าผู้กระทำผิดจะต้องหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเป็นเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นความผิด หากการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นทำให้ผู้อื่นต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายแล้วก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 310 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขัง: การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศและการลิดรอนเสรีภาพ
จำเลยกอดคอผู้เสียหายและจับแขนผู้เสียหายลากเพื่อจะพาเข้าห้องพักในโรงแรม เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ มีความผิดฐานกระทำอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ผู้เสียหายนั่งรถยนต์ไปกับจำเลย ผู้เสียหายขอลงจากรถตั้งแต่ตอนถึงตลาดแล้ว แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงเป็นว่าจะไปธุระกับเพื่อนก่อน เมื่อถึงหน้าโรงแรม ผู้เสียหายรู้ตัวว่า จำเลยคิดมิดีมิร้ายจึงพูดขอลงและจะเปิดประตูรถ แต่จำเลย ไม่ยอมให้ลงโดยล็อกประตูรถไว้ ดังนี้จำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายไม่ให้ลงจากรถจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุมและสถานที่เกิดเหตุ
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบางบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3)(4)และวรรคสองฉะนั้นพันตำรวจโทว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)การที่พันตำรวจโทว. ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้วพันตำรวจโทว. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้นแต่พันตำรวจโทว. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)ได้เมื่อพันตำรวจโทว. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140และ141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบ กับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) (4) และวรรคสอง ฉะนั้น พันตำรวจโท ว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) การที่พันตำรวจโท ว.ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้ว พันตำรวจโท ว.คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่พันตำรวจโท ว.มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา19 วรรคสาม (ข) ได้ เมื่อพันตำรวจโท ว.มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความของผู้เสียหายในคดีอาญา ทำให้สิทธิการฟ้องคดีอาญาเป็นอันระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 กระทงหนึ่ง ฐานร่วมกันกระทำผิดต่อเสรีภาพและฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง,310 วรรคแรก,83เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานกระทำผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกกระทงหนึ่ง จำเลยฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความว่าผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทุกข้อหา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะความผิดตามมาตรา 278 และ 310 วรรคแรก ออกจากสารบบความคงมีปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยกระทำผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้นซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ และคดียังไม่ถึงที่สุดการที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นการยอมความกันในความผิดที่ศาลฎีกาวินิจฉัยนี้ด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้อง
of 16