คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สง่า อำพันแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คปลอมแก้ตัวยาแก้ตัวยาก: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเดิม แม้การแก้ไขไม่ประจักษ์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว.ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขจำนวนเงิน – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว. ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีอาญาที่มิชอบด้วยวิธี สิทธิโจทก์และดุลยพินิจศาลในการพิพากษา
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ประทับฟ้อง จ่ายสำเนาวันนี้นัดพิจารณาเวลา 11.30 นาฬิกา เป็นการสั่งลอย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะว่านัดพิจารณาอะไร และนัดพิจารณาหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องเพียง 1 ชั่วโมงเศษ อันเป็นเวลากะทันหัน แม้จะถือว่าโจทก์ทราบกำหนดนัดแล้วไม่มาศาลก็ยากที่โจทก์จะปฏิบัติได้ทันท่วงที ยังไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดนัดพิจารณาคดีอาญาที่เร่งรีบและไม่ชัดเจน ศาลยกฟ้องโจทก์โดยมิชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าประทับฟ้อง จ่ายสำเนา วันนี้นัดพิจารณาเวลา 11.30 นาฬิกาเป็นการสั่งลอยๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะว่านัดพิจารณาอะไรและนัดพิจารณาหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องเพียง 1 ชั่วโมงเศษอันเป็นเวลากะทันหัน แม้จะถือว่าโจทก์ทราบกำหนดนัดแล้วไม่มาศาลก็ยากที่โจทก์จะปฏิบัติได้ทันท่วงที ยังไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดียึดทรัพย์มรดก เกินกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี
ผู้ร้องมีชื่อในโฉนดโดยถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยผู้แพ้คดีโจทก์บังคับคดียึดที่ดินนี้ได้ แม้เกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองโดยอ้อม และการโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินได้
ม. เจ้าของที่ดินกู้เงินโจทก์โดยนำโฉนดที่ดินพิพาทมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน โดยระบุไว้ในสัญญากู้ว่าได้นำโฉนดที่พิพาทมาจำนองไว้ภายใน 3 ปี แม้จะไม่มีผลบังคับในทางจำนอง แต่การที่ ม. เอาที่ดินพิพาทไปโอนให้ผู้ร้องโดยเสน่หาหลังจากกู้เงินจากสามีโจทก์ไปเพียง 15 วัน ม. ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การที่โจทก์ลงชื่อในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียง เมื่อผู้ร้องทั้งสามแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัดและยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกโฉนด ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการสละสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองโดยอ้อม แม้ไม่มีการจดจำนอง แต่การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ม. เจ้าของที่ดินกู้เงินโจทก์โดยนำโฉนดที่ดินพิพาทมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน โดยระบุไว้ในสัญญากู้ว่าได้นำโฉนดที่พิพาทมาจำนองไว้ภายใน 3 ปี แม้จะไม่มีผลบังคับในทางจำนอง แต่การที่ ม. เอาที่ดินพิพาทไปโอนให้ผู้ร้องโดยเสน่หาหลังจากกู้เงินจากสามีโจทก์ไปเพียง 15 วัน ม. ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การที่โจทก์ลงชื่อในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงเมื่อผู้ร้องทั้งสามแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัดและยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกโฉนด ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการสละสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทเขตที่ดินระหว่างวัดและบุคคลทั่วไป
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์วัดราษฎร์สามัคคีมีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์ที่ 2 กับที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ซึ่งอยู่ติดต่อกันว่าอยู่ตรงที่ใด และที่ดินตรงนั้นจะเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือของสำนักสงฆ์โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงทำบันทึกข้อตกลงว่าให้ที่ดินตรงที่พิพาทกันนั้นตกเป็นของสำนักสงฆ์วัดราษฎร์สามัคคี.ส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 2 ที่ขาดไปนั้น จำเลยที่ 1 ยินยอมให้รังวัดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ชดใช้โจทก์ที่ 2 จนครบข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนี้เป็นการผ่อนผันให้กันและกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทเขตที่ดินโดยการผ่อนผันซึ่งกันและกัน
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์วัดราษฎร์สามัคคีมีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์ที่ 2 กับที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ซึ่งอยู่ติดต่อกับว่าอยู่ตรงที่ใด และที่ดินตรงนั้นจะเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือของสำนักสงฆ์ โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงทำบันทึกข้อตกลงว่าให้ที่ดินตรงที่พิพาทกันนั้นตกเป็นของสำนักสงฆ์วัด ราษฎรสามัคคี ส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 2 ที่ขาดไปนั้น จำเลยที่ 1 ยินยอมให้รังวัดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ชดใช้โจทก์ที่ 2 จนครบ ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนี้เป็นการผ่อนผันให้กันและกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ 2 กับจำเลยที่ 2 เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หรือฟ้องร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามศาลต้องสั่งแก้ไขข้อบกพร่อง
หญิงมีสามีฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสต้องฟ้องร่วมกับสามีหรือได้รับความยินยอมของสามี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถ แต่พิพากษายกฟ้อง โดยว่าไม่มีหลักฐานความยินยอมของสามีเป็นหนังสือศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยส่งหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเสียก่อนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป
of 17