พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า: การกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าได้นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในปีที่ล่วงมาแล้ว กล่าวคือในปีที่ถึงกำหนดชำระภาษีการค้าแล้ว และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมาตรวจสอบพบในภายหลัง เจ้าพนักงานประเมินจึงจะมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ (7)เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้านั้นได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อจะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในปีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า ทั้งในขณะเกิดเหตุคดีนี้ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติม มาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือนยังไม่ใช้บังคับดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าโดยอาศัยมาตรา 86 เบญจ มิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 87 ทวิ (7) แห่งประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นการให้อำนาจประเมินภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า เมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือนยังไม่ใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินมิอาจกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าตามมาตรา 87 ทวิ (7) แต่มีอำนาจภายหลังไม่ยื่นแบบ
มาตรา 83 ทวิ (7) แห่งประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นการให้อำนาจประเมินภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือน ยังไม่ใช้บังคับการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าโดยกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าโดยมิชอบตามประมวลรัษฎากร
มาตรา 83 ทวิ (7) แห่งประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นการให้อำนาจประเมินภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือน ยังไม่ใช้บังคับการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ชอบด้วยกฎหมายและการผูกพันของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อการชำระภาษี
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ. 2525ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าโจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87,87 ทวิ(7) นั้น เป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้วการที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3ที่ 4 และที่ 5 ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บเพิ่มขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติม: หลักฐานการคำนวณรายรับที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริง
บริษัทโจทก์เริ่มดำเนินกิจการโรงแรม ส. มาตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2511 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2514 แล้วให้บริษัท ร. เช่าดำเนินกิจการโรงแรมต่อมา ปรากฏว่าบริษัทยื่นรายการ เสียภาษีการค้าไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในเดือนพฤษภาคม 2514 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่บริษัทโจทก์ดำเนินกิจการโรงแรม ส. ได้ยื่นรายการเสียภาษีไว้ 20,295 บาท แต่ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2515 รวม 6 เดือน บริษัท ร. ดำเนินกิจการโรงแรม ดังกล่าวมีรายรับเดือนละ60,945 บาท ถึง 73,320 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 7 เดือน แต่มีรายรับเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวดังนี้ จึงเห็นได้ว่ามีเหตุที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจะใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87ประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเอาแก่บริษัทโจทก์ และใช้อำนาจตามมาตรา 87ทวิ(7) กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์เสียใหม่ได้
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าไร จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่ง เป็น สถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุม ยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณ ถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มา เป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ(7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าไร จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่ง เป็น สถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุม ยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณ ถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มา เป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ(7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติม: การใช้รายรับจากผู้เช่าเพื่อคำนวณรายได้ที่แท้จริงของผู้ประกอบการ
บริษัทโจทก์เริ่มดำเนินกิจการโรงแรม ส. มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2511 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2514 แล้วให้บริษัท ร. เช่าดำเนินกิจการโรงแรมต่อมา ปรากฏว่าบริษัทยื่นรายการเสียภาษีการค้าไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในเดือนพฤษภาคม 2514 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่บริษัทโจทก์ดำเนินกิจการโรงแรม ส. ได้ยื่นรายการเสียภาษีไว้ 20,295 บาท แต่ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2515 รวม 6 เดือน บริษัท ร. ดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวมีรายรับเดือนละ 60,945 บาท ถึง 73,320 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 7 เดือน แต่มีรายรับเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว ดังนี้ จึงเห็นได้ว่ามีเหตุที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจะใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเอาแก่บริษัทโจทก์ และใช้อำนาจตามมาตรา 87 ทวิ (7) กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์เสียไม่ได้
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าใด จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุมยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มาเป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าใด จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุมยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มาเป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, อายุความลาภมิควรได้, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศนำเขามาในราชอาณาจักร และได้ชำระราคาการค้าตามที่จำเลยได้เรียกเก็บให้แก่กรมศุลกากร ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนี้การกระทำของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนจำเลยก็ไม่ใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างฎีกา 869/2520)
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและต่อสู้ด้วยว่าคดีขาดอายุความ ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์อุทธรณ์ในประเด็นนี้ขึ้นมา ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยได้ มิใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้ และจำเลยก็ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฉะนั้นการฟ้องเรียกภาษีดังกล่าวคืน จึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างฎีกาที่ 869/2520 และ 1164/2520)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาต่อมาตาม มาตรา 227, 247 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข คือเรื่องละ 50 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ซึ่งเกินไป เมื่อศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้โจทก์ไป
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและต่อสู้ด้วยว่าคดีขาดอายุความ ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์อุทธรณ์ในประเด็นนี้ขึ้นมา ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยได้ มิใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้ และจำเลยก็ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฉะนั้นการฟ้องเรียกภาษีดังกล่าวคืน จึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างฎีกาที่ 869/2520 และ 1164/2520)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาต่อมาตาม มาตรา 227, 247 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข คือเรื่องละ 50 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ซึ่งเกินไป เมื่อศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน สิทธิเรียกร้องไม่เป็นลาภมิควรได้ และการประเมินภาษี
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรการที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลักจึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้นกรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่