คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะสัญญาเช่าที่ดินและอาคารกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการ รวมถึงหน้าที่รายงานภาษีขาย
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัท ท. ตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้างอาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5 % ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่า หลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่าจากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ท.แต่อย่างใด เพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปี ลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรม โดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า"บริการ" ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆอันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัท ท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง
ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่า ภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87
ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงานมีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามป.รัษฎากร มาตรา 89 (10) เพราะเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและอาคารพร้อมเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง ไม่ถือเป็นบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทท. ตามบันทึกช่วยจำซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้าง อาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความ ที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5% ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่าหลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่า จากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทท. แต่อย่างใดเพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปีลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรมโดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า "บริการ" ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัทท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทัน ภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน 3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงาน มีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน 2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสีย เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) เพราะเป็น เรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีถูกต้องครบถ้วนและเรียงลำดับเลขที่ตามหลักเกณฑ์
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม มีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคม กันยายน และธันวาคม 2536 เกินกว่าเดือนละ 100,000 บาท จำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง 100,000 บาท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25ธันวาคม 2534 ข้อ 1 วรรคสอง ที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ 3 จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง หากไม่กระทำ ย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา 90/2 (3) การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ 1 ฉบับ โดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า "ขายปลีกรายย่อย ครั้งละไม่เกิน500 บาท รวมทั้งวัน" มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 3,557 บาท แสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่ง ๆ มารวมยอดเงิน แล้วออกใบกำกับภาษีเพียง 1 ฉบับต่อวัน จึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 90/2 (3) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่22) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 6 (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลัง โดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้น ๆ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไป จะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 และ 90(15) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22)ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลย ต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรก็ดี จำเลยไม่ได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้น จึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 14, 15, 16, 17, 18,20, 22 และ 27 ทวิ ก็ดี เจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดี ล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้ และไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แม้ยอดขายต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท การออกใบกำกับภาษีรวมวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคม2536เกินกว่าเดือนละ100,000บาทจำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทตามประกาศดังกล่าวข้อ2และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ3จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งหากไม่กระทำย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา90/2(3)การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6(3)ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลยต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา34แห่งประมวลรัษฎากรก็ดีจำเลยไมได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้นจึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามประมวลรัษฎากรมาตรา14,15,16,17,18,20,22และ27ทวิก็ดีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดีล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้และไม่เป็นสาระแก่คดีศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภาษีอากร และการเรียงลำดับเลขที่เอกสาร
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทและสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการดังนั้นการที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"ซึ่งมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทนั้นแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้น ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 100 เดิม บัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน 25,500,000 บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 77
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้นผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา100เดิมบัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วยดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน25,500,000บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา77 โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆจำนวน1,500ไร่จากบริษัทม. เมื่อวันที่12พฤษภาคม2532แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน25,500,000บาทแล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน56รายเมื่อระหว่างวันที่28มิถุนายน2532ถึงวันที่19ตุลาคม2532ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้นอีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัทม.ทำกับโจทก์ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้นฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัทม. แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวนั้นไม่โดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเองนอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆบางส่วนไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าซื้อขายที่ดินจัดสรรที่ดินแล้วด้วยดังนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า11ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน25,500,000บาทดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา78วรรคหนึ่งบัญญัติไว้กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงานณที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา84,85และ85ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องกล่าวคือมิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วยเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริงแล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา87,87ทวิ(2)และ88กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1เท่าของเงินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลพ.ศ.2497มาตรา12(1)ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำใบกำกับภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ไปใช้คำนวณภาษีของสาขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีได้ ศาลฎีกางดเบี้ยปรับ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ มาตรา 87 และมาตรา 86 วรรคหนึ่งกับวรรคสาม กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นรายสถานประกอบการ เมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกันใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ดังนั้น แม้สถานประกอบการสำนักงานใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการ ของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อ การขาย การนำเข้า การส่งออก การให้บริการออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ การที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาด โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ จึงควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ เงินเพิ่มแม้จะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่นที่มาตรา 89 วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา88ประกอบมาตรา87(3)จะมีบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตามแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาใช่เป็นการประเมินเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแต่เพียงอย่างเดียวอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปไม่โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยหลักฐานที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ การประเมินจากเอกสารที่ไม่พิสูจน์ได้ว่าถูกต้องไม่ชอบ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทของร้าน ช. ภาระการพิสูจน์ถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวย่อมตกแก่โจทก์ เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสารที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ผู้เป็นเจ้าของเอกสารมิได้รับรองความถูกต้องและพยานโจทก์ผู้ไปติดต่อขอมาเคยเบิกความในคดีอาญาเป็นทำนองว่าไม่ได้เห็นต้นฉบับย่อมไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นภาพถ่ายเอกสารที่ถ่ายจากหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทที่ร้านช.ยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงที่แท้จริง การประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเพิ่มสืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้รับภาพถ่ายเอกสารหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทเพียงประการเดียว แล้วประเมินโดยถือว่าราคาซื้อขายตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเป็นราคาซื้อขายที่แท้จริง มิได้ทำการประเมินโดยเปรียบเทียบราคาสินค้าในท้องตลาดหรือราคาที่ผู้อื่นนำเข้าในเวลาใกล้เคียงกัน หรือราคากลางของกองวิเคราะห์ราคาที่ถือเป็นเกณฑ์ในการประเมินตามปกติ แต่เมื่อภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นภาพถ่ายเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง จะถือว่าราคาที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเป็นราคาซื้อขายสินค้ารายพิพาทที่แท้จริงย่อมมิได้ ทั้งปรากฏว่าราคาสินค้ารายพิพาทที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ผู้ขายตามใบกำกับสินค้าและเอกสารควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรงตามราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงเพื่อเสียภาษี การประเมินให้จำเลยที่ 1ชำระภาษีเพิ่มเติมของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ
of 5