พบผลลัพธ์ทั้งหมด 669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากลูกจ้าง และการไม่มีส่วนรับผิดในความเสียหายโดยตรง
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ไปชนกับรถของบุคคลภายนอก แม้รถยนต์ชนกันครั้งนี้จะเกิดจากจำเลยทำละเมิดและรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งเป็นของโจทก์มีสภาพบกพร่องห้ามล้อไม่ดี แต่โจทก์ก็ไม่ใช่คู่กรณีผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยจึงไม่ใช่เรื่องโจทก์เป็นผู้เสียหายและมีส่วนทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งจะต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442,223 เพื่อเฉลี่ยความรับผิดตามข้อต่อสู้ของจำเลยกรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,426 เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายและพิพากษาให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์เพียงบางส่วนจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องชำระค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้บุคคลภายนอกไปเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายระงับเมื่ออัยการฟ้องและมีคำพิพากษาแล้ว
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 12 กรกฎาคม 2525 ครั้นวันที่ 10มิถุนายน 2525 อัยการฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกัน แต่ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 391 จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 33 ก็ต่อเมื่อปรากฏต่อศาลโดยศาลรู้เองหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษาว่าอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องเรื่องเดียวกันหรือต่างศาลกัน เมื่อศาลไม่รู้ดังกล่าว และการกระทำความผิดของจำเลยตามที่ผู้เสียหายฟ้องได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ สิทธิของผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: ไม่ต้องบอกกล่าวค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในละเมิดที่เกิดจากการทำงาน โจทก์ไม่ต้องแจ้งค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้าง จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความรุนแรงทุบตีเด็กจนเสียชีวิต จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
จำเลยไปตามโจทก์ซึ่งเป็นภริยาให้กลับบ้าน โจทก์ไม่กลับ จำเลยโมโหเข้าแย่งบุตรอายุ 3 เดือนจากโจทก์ขึ้นรถจักรยานยนต์และติดเครื่อง โจทก์ดับเครื่อง จำเลยลงจากรถด้วยความโมโห และจับบุตรทุ่มลงบนถนนกะโหลกศีรษะแตกยุบถึงแก่ความตาย ดังนี้จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณา แต่ประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ 1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่ 1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วย ขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้าง ฯ โจทก์ที่ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชี ดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัว กับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม vs. ประเด็นอื่นนอกเหนือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ที่1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วยขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้างฯ โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวกับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการแก้ไขค่าขาดไร้อุปการะในคำพิพากษา: ดอกเบี้ยยังคงมีผล
ในคดีละเมิด ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า แก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ใช้เงิน 360,000 บาทแก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์แสดงว่าศาลฎีกา พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าสูงเกินไปเท่านั้นส่วนดอกเบี้ยสำหรับเงินต้น ค่าขาดไร้อุปการะมิได้แก้ไขจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงิน 360,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ดอกเบี้ยยังคงมีผล
ในคดีละเมิด ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า แก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ใช้เงิน 360,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แสดงว่าศาลฎีกาพิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าสูงเกินไปเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยสำหรับเงินต้น ค่าขาดไร้อุปการะมิได้แก้ไขจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงิน 360,000 บาท ซึ่งเป็นค่าขาดไร้อุปการะด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การฟ้องคดีใหม่ระหว่างที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน โดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดเจนขึ้นดังนี้สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดของจำเลยแต่การที่โจทก์ฟ้องคดีใหม่ในระหว่างที่คดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกานั้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15