พบผลลัพธ์ทั้งหมด 669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้จากการออกใบเสร็จ ยุติอายุความค่าจ้าง
โจทก์รับจ้างตักดินให้จำเลย โดยคิดค่าจ้างเป็นรายเที่ยวรถ การที่จำเลยออกใบเสร็จว่าโจทก์ได้ตักดินให้แล้ว เป็นจำนวนกี่เที่ยวรถมอบให้โจทก์ไว้ ดังนี้เป็นการยอมรับต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามข้อความในใบเสร็จดังกล่าวจึงเป็นการรับสภาพหนี้ อายุความในสิทธิเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ในวันที่ออกใบเสร็จคือวันที่ 23 พฤศจิกายน 2521 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องใน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2523 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้จากการซื้อขายสินค้า การสันนิษฐานตามกฎหมายเมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องระยะเวลาชำระหนี้
แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องประเพณีการค้าที่ให้ชำระราคาสินค้าภายใน 180 วัน นับแต่วันส่งของตามคำฟ้องแต่จำเลยก็ยืนยันว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปีนับแต่มีการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายกันแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีการค้าดังกล่าวและได้โต้แย้งว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายใน 180 วันตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง ก็ต้องเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งบัญญัไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา490 ว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้าในเวลาเดียวกันกับที่ตนได้รับสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ในวันที่ส่งมอบสินค้านั่นเองอายุความจึงเริ่มนับเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: สันนิษฐานชำระ ณ เวลาส่งมอบ หากโจทก์ไม่พิสูจน์ประเพณีค้า
แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องประเพณีการค้าที่ให้ชำระราคาสินค้าภายใน 180 วัน นับแต่วันส่งของตามคำฟ้อง แต่จำเลยก็ยืนยันว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปีนับแต่มีการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายกันแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีการค้าดังกล่าว และได้โต้แย้งว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายใน 180 วันตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง ก็ต้องเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งบัญญัไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 ว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้าในเวลาเดียวกันกับที่ตนได้รับสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ในวันที่ส่งมอบสินค้านั่นเอง อายุความจึงเริ่มนับเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการโดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารหากไม่มีเจตนาทุจริต
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า'ให้มันยุติธรรมหน่อย'และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า'ให้มันยุติธรรมหน่อย'และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อมูลลงเวลาทำงานโดยนายจ้าง ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า "ให้มันยุติธรรมหน่อย" และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า "ให้มันยุติธรรมหน่อย" และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจ่ายระหว่างสาขาธนาคารต่างประเทศ: รายจ่ายต้องห้ามทางภาษีและจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
เงินที่ธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศรับฝากจากลูกค้าแล้วส่งมาให้สาขาในประเทศไทยลงทุน แม้จะเป็นเงินซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝาก ก็เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเงินดังกล่าวเมื่อส่งมาลงทุนในประเทศไทยย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ดังนั้นดอกเบี้ยที่สาขาในประเทศไทยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศย่อมถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง เป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของเองและใช้เองกับเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนของตนเอง จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10) และ (11) ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจ่ายดอกเบี้ยของสาขาในประเทศไทยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ต้องพิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยควบคู่ไปด้วย
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การวินิจฉัยต้องพิจารณาทั้งการรับประกันภัยและความรับผิดตามสัญญา
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากโอนโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง แต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนดต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งแต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนด ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300