พบผลลัพธ์ทั้งหมด 669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายและราคาซื้อขาย ศาลไม่คืนค่าธรรมเนียมแม้ไม่วินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์แม้ศาลจะมิได้พิจารณาในประเด็นที่มีคำขอตามทุนทรัพย์โดยตรงเพราะเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดีก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ศาลจึงไม่จำต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอชดใช้ค่าเสียหาย แม้ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายโดยตรง ก็ไม่ทำให้คดีเปลี่ยนประเภท
โจทก์ฟ้องคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ แม้ศาลจะมิได้พิจารณาในประเด็นที่มีคำขอตามทุนทรัพย์โดยตรงเพราะเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดี ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลจึงไม่จำต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามป.พ.พ.มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย. มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่อง อันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิด สามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม
สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิด สามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความดำเนินคดีอาญาโดยสุจริตไม่เป็นละเมิด และอายุความฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน 10 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เลี่ยมกรอบพระเครื่องให้4องค์แต่ไม่ไปรับพระเครื่องที่โจทก์เลี่ยมกรอบเสร็จแล้วคืนโจทก์จึงขายพระเครื่องไปเช่นนี้การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ฐานยักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งกล่าวหาย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตและการที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาควบคุมตัวและดำเนินการสอบสวนโจทก์จนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์. การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความดำเนินคดีโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด และอายุความฟ้องเรียกทรัพย์คือ 10 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เลี่ยมกรอบพระเครื่องให้4องค์แต่ไม่ไปรับพระเครื่องที่โจทก์เลี่ยมกรอบเสร็จแล้วคืนโจทก์จึงขายพระเครื่องไปเช่นนี้การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ฐานยักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งกล่าวหาย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตและการที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาควบคุมตัวและดำเนินการสอบสวนโจทก์จนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องถืออายุความ10ปีตามป.พ.พ.มาตรา164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยมิได้เจตนาจริงและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก รวมถึงการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สมบูรณ์
ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทของตนให้จำเลยที่1โดยมิได้มีเจตนายกให้จริงๆแต่จำเลยที่1นำทรัพย์ดังกล่าวไปขายให้จำเลยที่3แล้วต่อมาโจทก์ได้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่3ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่านี้จะยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่3หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นหาได้ไม่ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าตนครอบครองที่ดินทรัพย์พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกือบ20ปีก็ตามแต่เมื่อทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1โดยมีการจดทะเบียนที่ดินกรณีต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา1373เมื่อนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1ถึงวันที่ยื่นคำร้องยังไม่ถึง10ปีผู้ร้องจะอ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตามป.พ.พ.มาตรา1382หาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยปราศจากเจตนาจริงและการครอบครองปรปักษ์ ผลกระทบต่อบุคคลภายนอกสุจริต
ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทของตนให้จำเลยที่1โดยมิได้มีเจตนายกให้จริงๆแต่จำเลยที่1นำทรัพย์ดังกล่าวไปขายให้จำเลยที่3แล้วต่อมาโจทก์ได้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่3ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่านี้จะยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่3หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นหาได้ไม่. แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าตนครอบครองที่ดินทรัพย์พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกือบ20ปีก็ตาม.แต่เมื่อทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1โดยมีการจดทะเบียนที่ดินกรณีต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1ถึงวันที่ยื่นคำร้องยังไม่ถึง10ปีผู้ร้องจะอ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์, การโอนหุ้น, สภาพของสังกมะทรัพย์
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่เป็นการซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายในกรณีพิเศษซึ่งมีวัตถุประสงค์ทำการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อเป็นเจ้าของที่แท้จริงจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา1129วรรคสอง โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้จำเลยได้ซื้อหุ้นบริษัทร. และหุ้นธนาคารก. ให้ตามคำสั่งของจำเลยแล้วกลับนำหุ้นที่ซื้อตอนหลังในราคาที่ต่ำกว่ามาโอนให้จำเลยแต่ใบหุ้นที่โอนให้นั้นก็เป็นหุ้นบริษัทร. และหุ้นธนาคารก.ในจำนวนเท่ากันกับที่จำเลยสั่งซื้อใบหุ้นดังกล่าวกับใบหุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยคงแตกต่างกันเฉพาะราคาซื้อขายเท่านั้นซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ราคาหุ้นย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือว่าหุ้นบริษัทเดียวกันจำนวนเท่ากันมีมูลค่าให้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างเดียวกันตามปกติและเป็นทรัพย์ที่มีสภาพเช่นเดียวกับสังกมะทรัพย์ตามป.พ.พ.มาตรา102ด้วยใบหุ้นที่โจทก์จะโอนให้จำเลยหาจำเป็นจะต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อไว้ไม่.