พบผลลัพธ์ทั้งหมด 669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน
โจทก์จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินที่ตกลงซื้อร่วมกันเป็นส่วนสัดและทำถนนพิพาทตามที่ตกลงกันก่อนทำหนังสือซื้อขายที่ดินโดยเจ้าของที่ดินอนุญาตและโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยทำรั้วปิดกั้นเป็นเวลาเกิน10ปีเมื่อทางพิพาทได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแล้วโดยจำเลยมิได้ทักท้วงหรือห้ามปรามทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความจำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้น. การได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความมิใช่ได้มาทางนิติกรรมจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในที่ดินของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการฝากทรัพย์ หากเจ้าของรถยังคงครอบครองและควบคุมรถเอง
จำเลยที่2เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณสยามสมควรมอบให้จำเลยที่1ดูแลความเรียบร้อยและจัดการจราจรภายในที่ดินดังกล่าวเมื่อมีรถยนต์เข้ามาในบริเวณสถานที่ดังกล่าวพนักงานของจำเลยที่1จะออกบัตรให้และเจ้าของรถจะต้องคืนบัตรเมื่อนำรถออกไปหากจอดรถจะต้องเสียค่าบริการแต่เจ้าของรถเป็นผู้เลือกสถานที่จอดรถเปิดปิดประตูและเก็บกุญแจรถไว้เองหากเจ้าของรถจะเคลื่อนย้ายรถหรือนำรถออกจากที่จอดหรือนำไปจอดที่ใดในบริเวณนั้นก็ทำได้เองโดยไม่ต้องแจ้งให้พนักงานของจำเลยที่1ทราบเช่นนี้รถยนต์ที่นำมาจอดยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถกรณีจึงไม่ใช่การฝากทรัพย์เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่จำเลยทั้งสองหรือพนักงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้ตกลงจะรักษารถยนต์คันดังกล่าวไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้จำเลยจึงไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องรับผิดในการที่รถยนต์ซึ่งนำมาจอดในที่ดินบริเวณนั้นสูญหายไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จในคดีฉ้อโกงไม่เป็นข้อสำคัญ หากการกระทำไม่เข้าข่ายหลอกลวงให้ส่งทรัพย์
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า'พยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเท็จ'นั้นเป็นการวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ตามที่นำสืบมาไม่มีมูลในความผิดฐานฟ้องเท็จนั่นเองไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. ข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341คือหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงการเอาเช็คไปขอแลกเงินสดมิใช่เป็นการหลอกลวงให้ส่งทรัพย์ถึงโจทก์จะกระทำตามที่จำเลยเบิกความโจทก์ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงดังนั้นแม้จำเลยจะรู้ว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่โจทก์นำมามอบให้จำเลยเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบแล้วจำเลยมาเบิกความว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำไปขอแลกเงินสดจากจำเลยข้อที่จำเลยเบิกความดังกล่าวแม้จะเป็นความเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จเกี่ยวกับเช็คไม่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกง หากการกระทำนั้นไม่เข้าข่ายการหลอกลวงให้ได้ทรัพย์
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า 'พยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเท็จ' นั้นเป็นการวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ตามที่นำสืบมา ไม่มีมูลในความผิดฐานฟ้องเท็จนั่นเอง ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 คือ หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง การเอาเช็คไปขอแลกเงินสด มิใช่เป็นการหลอกลวงให้ส่งทรัพย์ ถึงโจทก์จะกระทำตามที่จำเลยเบิกความ โจทก์ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงดังนั้น แม้จำเลยจะรู้ว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่โจทก์นำมามอบให้จำเลยเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบ แล้วจำเลยมาเบิกความว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำไปขอแลกเงินสดจากจำเลยข้อที่จำเลยเบิกความดังกล่าวแม้จะเป็นความเท็จ ก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกง
ข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 คือ หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง การเอาเช็คไปขอแลกเงินสด มิใช่เป็นการหลอกลวงให้ส่งทรัพย์ ถึงโจทก์จะกระทำตามที่จำเลยเบิกความ โจทก์ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงดังนั้น แม้จำเลยจะรู้ว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่โจทก์นำมามอบให้จำเลยเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบ แล้วจำเลยมาเบิกความว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำไปขอแลกเงินสดจากจำเลยข้อที่จำเลยเบิกความดังกล่าวแม้จะเป็นความเท็จ ก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกให้เช่าทรัพย์มรดกก่อนโอนตามพินัยกรรม และสิทธิฟ้องผู้เช่าผิดสัญญา
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกตึกพิพาทให้แก่มูลนิธิปรากฏว่าเมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมจำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกดังกล่าวจากโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตั้งแต่ก่อนโอนตึกให้แก่มูลนิธิตามพินัยกรรมกรณีเช่นนี้ถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นโจทก์ยังมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมเพื่อจัดการมรดกตามป.พ.พ.มาตรา1719ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญาผู้ให้เช่าย่อมฟ้องผู้เช่าได้ กรณีผิดสัญญาเช่าจำนวนค่าเสียหายไม่จำต้องกำหนดตามอัตราค่าเช่าที่ทำกันไว้ในสัญญาเสมอไปศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งความเป็นจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ถูกถอนสัญชาติไทย และการฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียน
พันตำรวจตรี ส. ปฏิบัติงานในหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าวแทนจำเลย ได้ปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ขณะฟ้องคดีจำเลยยังดำรงตำแหน่งนายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวให้คนต่างด้าวทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนคนต่างด้าว หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นการผิดตัว และกรณีนี้ถือว่า นายทะเบียนคนต่างด้าวได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับผู้ประกันในคดีเช็คที่จำเลยหลบหนี แต่มีการถอนฟ้องหลังจำเลยชำระหนี้ ศาลใช้ดุลพินิจลดค่าปรับ
ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีตามคำร้องของผู้ประกันเพื่อให้โอกาสผู้ประกันนำจำเลยมามอบต่อศาลถึง1เดือนเศษแต่ผู้ประกันกลับเพิกเฉยทั้งๆที่จำเลยเป็นข้าราชการซึ่งผู้ประกันสามารถติดตามหาตัวได้ไม่ยากจึงไม่มีเหตุอันควรปรานีที่จะลดค่าปรับให้แต่เมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวและโจทก์ถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันแล้วและก่อนคดีถึงที่สุดโดยอ้างว่าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์จนเป็นที่พอใจแล้วจึงมีเหตุใหม่ที่จะลดค่าปรับผู้ประกันลงอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ร่วมกันของจำเลยหลายคน ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยทั้งหมด
จำเลยอุทธรณ์โดยในแผ่นแรกของอุทธรณ์ระบุว่าจำเลยที่3เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และในท้ายอุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อจำเลยที่3เพียงผู้เดียวในช่องผู้อุทธรณ์แต่ในคำบรรยายฟ้องอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดและจำเลยทั้งสี่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยกันในตอนท้ายเมื่อสิ้นข้อความที่อุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเฉพาะจำเลยที่3จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาแม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ร่วมกันของจำเลยหลายคน: ศาลต้องพิจารณาคดีทั้งหมด
จำเลยอุทธรณ์โดยในแผ่นแรกของอุทธรณ์ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ และในท้ายอุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 3 เพียงผู้เดียวในช่องผู้อุทธรณ์ แต่ในคำบรรยายฟ้องอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด และจำเลยทั้งสี่ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยกันในตอนท้ายเมื่อสิ้นข้อความที่อุทธรณ์เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาทและการแจ้งความเท็จ: การบรรยายฟ้องที่เพียงพอและการพิจารณาความผิดฐานอาญา
ฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทที่ได้กระทำด้วยหนังสือนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถ้อยคำอันเป็นข้อสำคัญที่ทำให้เห็นว่าเป็นการหมิ่นประมาทแล้ว แม้โจทก์จะไม่สามารถส่งเอกสารที่อ้างว่าเป็นการใส่ความโจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ฟ้องโจทก์ก็ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ครบถ้วนแล้วเช่นกัน เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง มิใช่เป็นการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามสายงานจำเลยก็อาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทและฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้องได้