คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และความหมายของคำว่า 'ครอบครอง' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไร และได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง, 225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายบทจำกัด คิดว่าต้องครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะไม้หวงห้ามตามกฎหมาย ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีไม้งิ้วอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 ซึ่งไม้งิ้วในท้องที่ที่จำเลยกระทำผิดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 แต่ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 และบัญญัติให้ไม้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิได้กำหนดให้ไม้งิ้วเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ดังนั้นไม้งิ้วย่อมไม่เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกต่อไป จำเลยจึงเป็นผู้พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางนากับไม้ยาง
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้ห่วงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงจัดเป็น 'ไม้อื่น' ตามกฎหมาย แม้ถูกกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงเป็น 'ไม้หวงห้ามประเภท ก.' หรือ 'ไม้อื่น' ที่ต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนด
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถ่านไม่ใช่ไม้แปรรูปตามกฎหมายป่าไม้ แม้ได้จากการเผาไม้
ถ่านเป็นวัตถุธาตุที่ได้จากการเอาไม้ไปเผาหรืออบ ไม่มีสภาพเป็นไม้ จึงไม่เป็นไม้แปรรูปตามความหมายของพระราชบัญญัติป่าไม้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถ่านไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การมีถ่านในครอบครองจึงไม่เป็นความผิด
ถ่านเป็นวัตถุธาตุที่ได้จากการเอาไม้ไปเผาหรืออบ ไม่มีสภาพเป็นไม้. จึงไม่เป็นไม้แปรรูปตามความหมายของพระราชบัญญัติป่าไม้.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถ่านไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ผู้ครอบครองจึงไม่มีความผิด
ถ่านเป็นวัตถุธาตุที่ได้จากการเอาไม้ไปเผาหรืออบ ไม่มีสภาพเป็นไม้ จึงไม่เป็นไม้แปรรูปตามความหมายของพระราชบัญญัติป่าไม้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอ้างการครอบครองต่อเนื่อง ศาลไม่ต้องฟ้องขับไล่ใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถาง. เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา.กล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดี. ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15. โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่. จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นา.ดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณา. หากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190.โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว.นอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: ห้ามแก้ไขคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการอ้างข้อเท็จจริงใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถาง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา กล่าวคือ ยังครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดี ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่ จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นา ดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณา หากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้คำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
of 5