คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สิน (บ่อกุ้ง, บ่อปลา, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18222526แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนทรัพย์สิน (บ่อ, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและผลผูกพันสัญญาค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินยอมรับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์-ตากฯ พ.ศ.2509บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนตามมาตรา18,22,25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ตารางวาละ 1000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและการผูกพันตามสัญญาค่าทดแทนที่ดิน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์ - ตากฯ พ.ศ.2509 บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนเวนคืนให้ผู้ไม่มีสิทธิ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบชำระให้เจ้าของที่ดินที่แท้จริง
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนรายของโจทก์ ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระ อันเป็นการชำระหนี้ผิดไป คณะกรรมการจึงต้องชำระให้โจทก์ใหม่
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยผู้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทำขวัญทดแทน เช่นผู้รับจำนองผู้ทรงบุริมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นซึ่ง ไม่ใช่เป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอรับเงินค่าทำขวัญทดแทนภายใน 1 เดือน ตามมาตรา 20 สำหรับมาตรา 26 ก็ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคนใดคนหนึ่งไปแล้ว เจ้าหน้าที่จึงจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่มาเสนอคำขอร้องในภายหลัง ฉะนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ไม่มีสิทธิรับไป ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนเวนคืนให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ เจ้าหน้าที่ต้องชำระให้เจ้าของที่ดินอีกครั้ง
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนรายของโจทก์ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระ อันเป็นการชำระหนี้ผิดไป คณะกรรมการจึงต้องชำระให้โจทก์ใหม่
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยผู้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทำขวัญทดแทน เช่นผู้รับจำนองผู้ทรงบุริมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่เป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอรับเงินค่าทำขวัญทดแทนภายใน 1 เดือน ตามมาตรา 20 สำหรับมาตรา 26 ก็ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคนใดคนหนึ่งไปแล้ว เจ้าหน้าที่จึงจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่มาเสนอคำขอร้องในภายหลัง ฉะนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ไม่มีสิทธิรับไป ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนเวนคืนให้ผู้ไม่มีสิทธิ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องชำระให้เจ้าของที่ดินอีกครั้ง
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนรายของโจทก์.ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระ. อันเป็นการชำระหนี้ผิดไป คณะกรรมการจึงต้องชำระให้โจทก์ใหม่.
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยผู้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทำขวัญทดแทน. เช่นผู้รับจำนองผู้ทรงบุริมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นซึ่ง.ไม่ใช่เป็นเจ้าของที่ดิน. โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอรับเงินค่าทำขวัญทดแทนภายใน 1 เดือน ตามมาตรา 20. สำหรับมาตรา 26 ก็ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทำขวัญทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคนใดคนหนึ่งไปแล้ว. เจ้าหน้าที่จึงจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่มาเสนอคำขอร้องในภายหลัง. ฉะนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ไม่มีสิทธิรับไป. ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้.