พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5656/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริง ผู้รับโอนสิทธิ และการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินย้อนหลัง
แม้มีการบัญญัติเพิ่มเติมความผิดมูลฐานภายหลังจากที่ได้มีการกระทำความผิดมูลฐานนั้นก็ตาม ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานที่บัญญัติเพิ่มเติมดังกล่าวย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับย้อนหลังไปทันที นับแต่วันที่มีการกระทำความผิดมูลฐานนั้น
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติวรรคหก ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่บัญญัติว่าผู้ร้องต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินไปในคราวเดียวกัน และผู้ร้องก็มิได้มีคำร้องขอดังกล่าวเพิ่มเติมมาในภายหลังที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าเงินที่ ส. กับพวกชิงทรัพย์ไปเป็นของผู้เสียหายที่ได้มาโดยสุจริต ผู้เสียหายจึงมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินของตนจาก ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ผู้คัดค้านทั้งสอง ซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายจึงเป็นผู้มีสิทธิในฐานะเจ้าของเงินที่แท้จริง และยังถือได้ว่าเป็นผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนที่จะติดตามเอาเงินคืนจาก ส. กับพวกตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย เมื่อ ส. นำเงินของผู้เสียหายไปซื้อหุ้นและวางเป็นหลักประกันในบัญชี (ซื้อขาย) หลักทรัพย์ และได้เงินปันผลจากหุ้นที่ซื้อซึ่งเป็นทรัพย์สินและดอกผลของผู้เสียหายที่ ส. ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โดยผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับช่วงสิทธิรับเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนี้แทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติวรรคหก ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่บัญญัติว่าผู้ร้องต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินไปในคราวเดียวกัน และผู้ร้องก็มิได้มีคำร้องขอดังกล่าวเพิ่มเติมมาในภายหลังที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าเงินที่ ส. กับพวกชิงทรัพย์ไปเป็นของผู้เสียหายที่ได้มาโดยสุจริต ผู้เสียหายจึงมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินของตนจาก ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ผู้คัดค้านทั้งสอง ซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหายจึงเป็นผู้มีสิทธิในฐานะเจ้าของเงินที่แท้จริง และยังถือได้ว่าเป็นผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนที่จะติดตามเอาเงินคืนจาก ส. กับพวกตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย เมื่อ ส. นำเงินของผู้เสียหายไปซื้อหุ้นและวางเป็นหลักประกันในบัญชี (ซื้อขาย) หลักทรัพย์ และได้เงินปันผลจากหุ้นที่ซื้อซึ่งเป็นทรัพย์สินและดอกผลของผู้เสียหายที่ ส. ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โดยผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับช่วงสิทธิรับเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนี้แทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8748/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากค้ายาเสพติด: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดและต้องพิสูจน์ความสุจริต
แม้ว่าคดีหมายเลขแดงที่ 10521/2542 ของศาลอาญา ซึ่งผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกอีก 1 คน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และคดีหมายเลขดำที่ ย.5547/2546 คดีหมายเลขแดงที่ ย.3553/2548 ของศาลอาญา ซึ่งผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ว่าสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและร่วมกันฟอกเงิน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนให้ยกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าว มิใช่ความรับผิดทางแพ่งตามความหมายของคำว่า "การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความผิดดังที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างในฎีกาหรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 46
เมื่อปรากฏว่าคดีที่ ว. กับพวกถูกฟ้องข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 8870/2546 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับ ว. แต่ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20063/2555 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวว่า ว. กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 500,000 เม็ด น้ำหนัก 46,284.590 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธ์ได้ 10,685.239 กรัม และร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนลักษณะเป็นผงสีส้มจำนวน 1 ซอง น้ำหนัก 2.280 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.739 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ว. จึงเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพิจารณาประกอบกับพฤติการณ์การปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งนำเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารในนามของผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 หรือการนำทองคำแท่งไปฝังไว้ในสนามหญ้าหน้าบ้าน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ โดยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มาตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2546 และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อปี 2541 ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ขณะถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำกลางคลองเปรม ผู้คัดค้านที่ 1 และ ว. ถูกคุมขังอยู่ด้วยกัน จึงมีความสนิทสนมและมีพฤติการณ์ค้าเมทแอมเฟตามีนร่วมกัน ต่อมา ว. พ้นโทษออกมาก่อน แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 โดยกล่าวหาว่าสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฟอกเงิน พร้อมทั้งยึดทรัพย์สินต่าง ๆ หลายรายการรวมทั้งทรัพย์สินตามคำร้องด้วย ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือไม่ ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในการจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2546 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาวินิจฉัยด้วยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องแต่อย่างใด
เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องบังคับตามมาตรา 51 ที่แก้ไขใหม่ แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ที่ถูกยึดไว้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
เมื่อปรากฏว่าคดีที่ ว. กับพวกถูกฟ้องข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 8870/2546 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับ ว. แต่ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20063/2555 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวว่า ว. กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 500,000 เม็ด น้ำหนัก 46,284.590 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธ์ได้ 10,685.239 กรัม และร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนลักษณะเป็นผงสีส้มจำนวน 1 ซอง น้ำหนัก 2.280 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.739 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ว. จึงเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพิจารณาประกอบกับพฤติการณ์การปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งนำเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารในนามของผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 หรือการนำทองคำแท่งไปฝังไว้ในสนามหญ้าหน้าบ้าน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ โดยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มาตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2546 และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อปี 2541 ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ขณะถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำกลางคลองเปรม ผู้คัดค้านที่ 1 และ ว. ถูกคุมขังอยู่ด้วยกัน จึงมีความสนิทสนมและมีพฤติการณ์ค้าเมทแอมเฟตามีนร่วมกัน ต่อมา ว. พ้นโทษออกมาก่อน แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 โดยกล่าวหาว่าสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฟอกเงิน พร้อมทั้งยึดทรัพย์สินต่าง ๆ หลายรายการรวมทั้งทรัพย์สินตามคำร้องด้วย ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือไม่ ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในการจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2546 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาวินิจฉัยด้วยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องแต่อย่างใด
เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องบังคับตามมาตรา 51 ที่แก้ไขใหม่ แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ที่ถูกยึดไว้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน: เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้ เจ้าหนี้บังคับคดีไม่มีสิทธิ
ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ส่วนผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินคงมีสิทธิขอให้คุ้มครองสิทธิของตนในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้ก่อนศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น เพื่อจะได้ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตน เพราะเท่ากับเป็นการคืนทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินให้ไปเป็นประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มุ่งสกัดมิให้ทรัพย์สินซึ่งมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมายถูกนำไปใช้อย่างทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด คงมีเพียงสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้ก่อนศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น เพื่อจะได้ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตน เพราะเท่ากับเป็นการคืนทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินให้ไปเป็นประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มุ่งสกัดมิให้ทรัพย์สินซึ่งมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมายถูกนำไปใช้อย่างทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด คงมีเพียงสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21858-21860/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เงินเจ้าพนักงานเพื่อละเว้นการจับกุม ไม่ใช่ความผิดสนับสนุนเจ้าพนักงาน แต่เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 144
การให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมกรณีเมื่อมีผู้ใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้ามีน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมก่อให้เจ้าพนักงานตำรวจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอยู่ในตัวก็ตาม แต่การกระทำเช่นว่านั้นก็มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดโดยเฉพาะอยู่แล้ว คือ ป.อ. มาตรา 144 อีกทั้งการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามที่ถูกจูงใจก็มิได้สำเร็จลงด้วยการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกโดยการให้เงิน ดังนั้น ถึงหากแม้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จะให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมกรณีเมื่อมีผู้ใช้รถบรรทุกติดสติกเกอร์ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 จัดทำขนส่งสินค้ามีน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจริงก็ตาม การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก็คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 อันเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน มิใช่ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149, 157 ประกอบมาตรา 86 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำเช่นนั้นจริงหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มิใช่เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินที่ขอให้มีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินล้วนเป็นทรัพย์สินที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของได้มาจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐาน คือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบรับฟังไม่ได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐานทั้งสองกรณีดังกล่าวเสียแล้ว คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานด้วย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์สินที่ขอให้มีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินล้วนเป็นทรัพย์สินที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของได้มาจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐาน คือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานตำรวจในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบรับฟังไม่ได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำความผิดมูลฐานทั้งสองกรณีดังกล่าวเสียแล้ว คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐานด้วย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากการฟอกเงิน: สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุด สิทธิยังเป็นของผู้เช่าซื้อเดิม
คดีนี้เป็นการยึดรถยนต์พิพาทเพราะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติดมาชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท มิใช่การนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิด หรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้ให้เช่าซื้อจึงมิอาจอ้างว่าสัญญาเลิกกันตามสัญญาข้อ 6 ที่กำหนดให้สัญญาสิ้นสุดลงในกรณีนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิดหรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11725/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านในคดีฟอกเงิน: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงเท่านั้นจึงมีสิทธิคัดค้าน
ผู้มีอำนาจยื่นคำคัดค้านตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงในเงินของกลางเท่านั้น ผู้ครอบครองเงินของกลางซึ่งแม้จะต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของเงินก็ไม่อาจยื่นคำคัดค้านเพื่อขอเงินของกลางนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องละเมิดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินยึด: ต้องรอคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยขายทอดตลาดรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก 209 คัน ที่คณะกรรมการธุรกรรมของจำเลยมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 ซึ่งบัญญัติหลักเกณฑ์การเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดหรืออายัดไว้ในวรรคสอง ส่วนการชดใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึด หากภายหลังความปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 57 วรรคสี่ นั้นแม้ถ้อยคำในมาตรา 57 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าความปรากฏในภายหลังนั้น กฎหมายจะมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าความปรากฏในภายหลังโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดก็ตาม แต่มาตรา 57 เป็นบทบัญญัติที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่คณะกรรมการธุรกรรมของจำเลยมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นไว้ชั่วคราวตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง เพื่อเลขาธิการจะได้ดำเนินการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไปตามมาตรา 49 ซึ่งหากศาลไต่สวนแล้วเชื่อว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่หากศาลเห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณีย่อมมีนัยแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวว่า คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามมาตรา 57 วรรคสี่ นั้น ต้องเป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีย่อมไม่เข้าองค์ประกอบตามความในมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ ดังนั้นการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขธิการของจำเลยเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ ดังนั้นการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขธิการของจำเลยเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินยึด ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ใช่ทรัพย์สินฟอกเงิน
คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2552 มาตรา 57 วรรคสี่ เป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดย่อมไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินและทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากเกินดุลพินิจและไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบเงินจำนวน 60,950 บาท และเงินจำนวน 18,500 บาท ที่ได้จากการขายทอดตลาดรถจักรยานยนต์ ศาลชั้นต้นพิพากษาริบเงินจำนวน 60,950 บาท แต่ให้คืนเงินจำนวน 18,500 บาท ที่ได้จากการขายทอดตลาดรถจักรยานยนต์ ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ริบเงินจำนวนดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า รถจักรยานยนต์ของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากเงินที่จำหน่ายยาเสพติดโดยผ่อนชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงไม่มีค่าธรรมเนียมศาลอุทธรณ์ที่ต้องสั่งคืนให้แก่ผู้ร้อง
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงไม่มีค่าธรรมเนียมศาลอุทธรณ์ที่ต้องสั่งคืนให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: ศาลยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน แม้ได้มาก่อนมีผลบังคับใช้กฎหมาย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ให้คำจำกัดความคำว่า "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ไว้แล้ว ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจึงมิได้หมายความว่า ต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำผิดและถูกลงโทษเท่านั้น เพียงแต่หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากกการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวหรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว
ทรัพย์สินรายการที่ (1) ถึง (13) และ (17) ถึง (23) เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อนต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคสอง คือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ทรัพย์สินรายการที่ (14) ถึง (16) และ (24) ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อน เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงโดยรับโอนมาจากผู้คัดค้านที่ 2 และมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น ปลูกอยู่บนที่ดินต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 (2) คือ ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับโอนที่ดินทั้งสามแปลงโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนและเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทางแพ่งตามความหมายของคำว่า "การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความผิดหรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาจึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ก็ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง
ทรัพย์สินรายการที่ (1) ถึง (13) และ (17) ถึง (23) เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อนต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคสอง คือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ทรัพย์สินรายการที่ (14) ถึง (16) และ (24) ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อน เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงโดยรับโอนมาจากผู้คัดค้านที่ 2 และมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น ปลูกอยู่บนที่ดินต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 (2) คือ ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับโอนที่ดินทั้งสามแปลงโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนและเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทางแพ่งตามความหมายของคำว่า "การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความผิดหรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาจึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ก็ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง