คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนและแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามในข้อเท็จจริง-อุทธรณ์, สัญญาแบ่งมรดก, และการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาท
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา จะนำดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 200,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคตแต่อย่างใดการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อทำบุญและจัดงานศพจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคแรก โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคมถึง กิมเช็ง ทราบ เรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาทเอาไว้ทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น ส่วนเฮียเอา5หมื่นเหลือนอกนั้นให้อีแป๊วอีณีไปเพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอาหรอกเวลานี้เอ็งก็มีบ้านอยู่กันแล้ว ไม่เดือดร้อนอะไรแล้วถนอม" เอกสารดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง เพราะเป็นแต่เพียงหนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่มีผลผูกพันให้โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเป็นจำนวนเพียง 50,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การไม่ชัดเจน vs. การปฏิเสธลายมือชื่อปลอม: ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้ว
การที่จำเลยให้การต่อสู้โจทก์เพียงว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้เป็นประเด็นให้ศาลวินิจฉัยด้วยว่าเหตุใดหรือด้วยวิธีอย่างใดโจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบ เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้เพราะมิได้ให้การไว้ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวซึ่งยุติลงในศาลชั้นต้นแล้วอีก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้เพราะถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจึงเป็นการชอบแล้ว จำเลยให้การว่า เช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับจำเลยมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ลายมือชื่อในเช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอม ดังนี้ คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม จึงเป็นคำให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ไม่จำต้องกล่าวว่าปลอมอย่างไรอีกชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองและศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้แล้ว จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาอีก จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาในปัญหานี้และพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับหนี้และผ่อนชำระ แม้ต่อมาจะอ้างว่าเป็นการบรรเทาโทษอาญา
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้ตามสัญญาว่าจ้างทำฟิลม์โปร่งแสงโฆษณาโดยบรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำจำนวนกี่แผ่น ค้างชำระค่าจ้างอยู่จำนวนเท่าใด และจำเลยได้รับสภาพหนี้ในเงินค่าจ้างดังกล่าวอย่างไร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น สามารถทำให้จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดีแล้ว ไม่เคลือบคลุม เมื่อคำให้การจำเลยเป็นเรื่องที่ต่อสู้ว่าจำเลยมิได้รับสภาพหนี้ ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาระงับด้วยการแปลงหนี้ใหม่มาเป็นมูลหนี้ตามเช็คจึงเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การต่อสู้ไว้และเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยยกขึ้นมาอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคแรก เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อศาลอาญาธนบุรีในการพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพและตกลงผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โดยได้ผ่อนชำระให้ไปแล้ว 40,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาบางส่วนให้แก่โจทก์ เมื่อได้กระทำภายในอายุความ 2 ปี ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14 ใหม่) โจทก์ฟ้องหลังจากจำเลยงดการผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ยังไม่เกิน 2 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การ หากไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาลชั้นต้น จะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 บัญญัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความและขอให้หักผลประโยชน์ไว้ และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยที่ 2 มาขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาย่อมต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคแรก ที่ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้ชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการโต้แย้งสิทธิครอบครอง
ย.และส. รวมทั้งจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาก่อน จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของย.และส.ซึ่งได้บุกเบิกมาย.และส. ตายเมื่อ พ.ศ. 2527ก่อนตายได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยครอบครองตลอดมาและได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยชอบ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท จึงอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 ไม่ได้ ดังนั้นศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์หาได้ไม่ เพราะว่าเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้สินของผู้ชำระบัญชีและการตีความข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า 'ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวโจทก์หรือไม่ ..... เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่า. จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้ว. จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก'. แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด.จำเลยที่2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกา. แต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว. คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น.
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ. แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนว่าค่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรม. คดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย.
of 2