คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง มีได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง: ข้อจำกัดและขอบเขตการพิจารณาของศาลสูง
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้มาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามมิให้วินิจฉัยเกินคำขอ และประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบในศาลอุทธรณ์ กรณีปล้นทรัพย์
++ เรื่อง ปล้นทรัพย์ ++
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่ามีเหตุปล้นทรัพย์หรือไม่ ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่ามีการปล้นทรัพย์ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นฟังมา นอกจากนั้นจำเลยยังอ้างในอุทธรณ์อีกว่าตอนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ในภาวะหวาดกลัวจนขาดสติสัมปชัญญะ ผู้เสียหายไม่น่าจะสามารถจำคนร้ายได้ แสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยอมรับว่ามีเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นรับฟัง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ จำเลยหรือพวกของจำเลยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา340 วรรคสอง ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา และการกระทำของจำเลยตามฟ้องคงเป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า กรณีจึงต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน, ข่มขืนใจ, และขู่เข็ญ: การพิจารณาความผิดและบทลงโทษ
โจทก์ฎีกาคัดค้านว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกัน บุกรุกเคหสถานของผู้เสียหาย โดยมีอาวุธและในเวลากลางคืน ซึ่งข้อหานี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่า จำเลยกับพวกมิได้กระทำ ความผิดและยุติแล้ว จึงเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จำเลยกับพวกร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายอีกคนหนึ่งในเวลาประมาณเที่ยงคืนในขณะที่ผู้เสียหายดังกล่าว เข้านอนแล้ว แม้จะมีเจตนาเพียงตามหาคนโดยไม่ได้แสดงอาการ ข่มขู่หรือทำร้ายผู้เสียหายดังกล่าวก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการ เข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการกระทำความผิดตามข้อหา ที่โจทก์กล่าวอ้างแล้ว แม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าไม่กลัวต่อการขู่เข็ญของจำเลย ก็ตาม แต่ตามลักษณะการกระทำของจำเลยที่ใช้อาวุธปืนขู่ ผู้เสียหาย มิให้เกี่ยวข้องห้ามปรามหรือหยุดยั้งการกระทำของ จำเลยทั้งสามกับพวก โดยปกติย่อมทำให้เกิดความกลัวหรือ ความตกใจและผู้เสียหายก็ไม่กล้าขัดขืนหรืออีกนัยหนึ่งยอมปฏิบัติตามคำขู่เข็ญ แสดงให้เห็นได้ในตัวว่าการขู่เข็ญของจำเลยทำให้เกิดผลคือทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือตกใจโดยการขู่เข็ญตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แล้ว จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 364 และมาตรา 309 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดทั้งสองฐานมีโทษเท่ากัน จึงลงโทษเพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และข้อจำกัดการยกปัญหาใหม่ในฎีกา
การที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 นั้น ต้องมีเหตุสมควรอันจะพึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยจึงจะมีคำสั่งภายหลังได้ ที่จำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาโดยไม่มีการอ่านและให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 รับทราบการอ่านภายหลังทั้งที่บุคคลดังกล่าวมิได้รับทราบการอ่านและศาลใช้บทบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ต้องส่งความเห็นโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้นถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ ทั้งมิได้อ้างว่าบทบัญญัติกฎหมายมาตราใดขัดรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีเหตุที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 3ไม่อาจยกปัญหาที่ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ แม้จะขอให้รับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำขอโต้แย้งหรือคำแถลงขอโต้แย้งก็ตาม เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของจำเลยที่ 3 ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษา & การพิพากษาเกินคำขอ & การฟ้องแย้ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอและพิพากษาในส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยมิได้อุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ มีความประสงค์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ไม่อุทธรณ์ ดังนี้ จะอ้างว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเช่นนั้นต้องตามความประสงค์ของโจทก์ แล้วไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ จึงชอบแล้ว จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ ยกฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ตามฟ้องแย้ง ให้โจทก์ที่ 1 รื้อถอนโครงเหล็กที่ต่อเติมบนดาดฟ้าของ อาคารพิพาท จึงเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดนอกเหนือไปจากที่ ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ย่อมจะรวมถึงในส่วนค่าเสียหายด้วย แต่ตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยก ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ให้ยกฟ้องในส่วนนี้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมมีทั้ง คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันอยู่ โจทก์ที่ 1 จึงต้อง เสียค่าขึ้นศาล 1,800 บาท ตามตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้ง อีก 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท แต่โจทก์ที่ 1 เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกามา 6,000 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกิน และเมื่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาเกี่ยวกับฟ้องเดิมในส่วน คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่ให้หักไว้ 200 บาท สำหรับ คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาให้โจทก์ที่ 1จำนวน 5,600 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน อาคารชุด ผู้ขายผิดสัญญาหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โดยที่สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่าผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างตามเวลาที่กำหนดไว้และว่าผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายอาคารชุดหยุดการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผ่อนชำระราคา เป็นเวลาถึง 1 ปีเศษกรณีต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุด ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาโดยมิได้ให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นต้องถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) หรือไม่นั้นมุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่าเหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วยและเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางมัดจำผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้นที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว และลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48(4)(ข) ไม่ได้เช่นกัน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 29 เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความเพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) หรือไม่นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่า เหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วย และเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางเงินมัดจำ ผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวและลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48 (4) (ข) ไม่ได้เช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าคงเหลือ สถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นคำขอรวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 14 และมาตรา 77 ซึ่งหากผู้ต้องเสียภาษีไม่ยื่นเสียภาษีหรือเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ ตรวจสอบพบแล้วจะทำการประเมินภาษีแล้วแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18เมื่อรับแจ้งแล้วผู้ต้องเสียภาษียังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาลต่อไปตามลำดับได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ก่อนทำการประเมินและแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษี ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ต้องเสียภาษีเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอนเมื่อยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอน ผู้ต้องเสียภาษีจึงยังไม่อาจที่จะตกลงสละสิทธิหรือประนีประนอมยอมความในหนี้ภาษีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ได้ ฉะนั้นข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ได้ทำไว้ก่อนมีการประเมินภาษีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับในข้อนี้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวยอมรับการอุทธรณ์รวมทั้งวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1เห็นว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้หนี้ภาษีอากรระงับและโจทก์มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามข้อต่อสู้และตามที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับอุทธรณ์การประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้อีก กรณียังฟังไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลง ของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้การเรียกร้องหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องจากโจทก์ระงับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(20) และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสี่นั้น แม้สถานที่เก็บสินค้าจะถือว่าเป็นสถานที่ประกอบกิจการซึ่งในกรณีปกติจะต้องยื่นคำขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือเป็นรายสถานประกอบการก็ดี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันแล้ว ในการขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอเครดิตรวมกัน คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้ว และโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือที่สำนักงานใหญ่ที่สาขาและที่เก็บสินค้ารวมกันแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในกรณีนี้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 6 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลงอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเลขที่ 19-23 ซอยพิชิตถนนมหาไชยแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้วย ในบัญชีระบุพยานโจทก์อ้างระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2535ลงวันที่ 6 มกราคม 2535 และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 22 กันยายน 2536 เป็นพยานแต่ศาลภาษีอากรกลางมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 15