คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อเองได้ และไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเสมอไป การโต้แย้งคำวินิจฉัยต้องชัดเจน
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใดและสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้ว ศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อเจ้าของรถในคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ได้ เมื่อข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยไม่ตรงตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้งศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์และการยกข้ออ้างเรื่องการครอบครองที่ไม่เข้าข่ายการฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเพราะจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา อีกทั้งจำเลยมิได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ภายในกำหนด1 ปี นั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งนี้แม้ว่าความข้อนี้โจทก์ยกขึ้นฎีกาดังกล่าว โจทก์จะได้บรรยายฟ้องไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิในที่ดินพิพาทมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวแทนและเจ้าของรถ กรณีรถแท็กซี่ทำละเมิด
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า รถแท็กซี่คันที่เกิดเหตุเป็นรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3878กรุงเทพมหานครของอ. น้องชายจำเลยที่ 2 ไม่ใช่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นการฟ้องผิดตัวนั้น ปรากฏว่า ในข้อนี้จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร เท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า รถแท็กซี่คันเกิดเหตุไม่ใช่คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถแท็กซี่ ได้นำรถแท็กซี่ หมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 2 ไปเข้าเป็นสมาชิกในสหกรณ์แท็กซี่ก่อน แล้วให้จำเลยที่ 1 นำออกไปวิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณของบุตรต่อบุพการีและการถอนคืนการให้ทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ด่าโจทก์ว่า "มึงจะหนีไปไหนก็ไป กูจะไม่เลี้ยงมึงแล้ว ทรัพย์สินที่อยากได้ก็มาฟ้องเอาเพราะยกให้แล้ว ถ้ากลับมาอยู่บ้านจะเอายาเบื่อให้กิน" แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงการกล่าววาจาหยาบคายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยแก้อุทธรณ์ของโจทก์ยอมรับว่า จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อโจทก์จริง แต่กล่าวด้วยความโกรธ ดังนั้น จำเลยจะกลับมาฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวอีกไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยด่าว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีด้วยถ้อยคำดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นถ้อยคำที่รุนแรงในลักษณะขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไปโดยขู่เข็ญว่าจะให้ยาเบื่อกินถ้ากลับมาอีก ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีหนี้โจทก์เกินห้าหมื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านตามประเด็นดังกล่าวหรืออุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามความใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนเช็คถึงกำหนด การที่โจทก์ยอมรับเช็คดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ยอมขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยแล้วและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผู้ใดอีก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นที่จำเลยฎีกาก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะแม้จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์เพียงคนเดียว แต่เมื่อหนี้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 9 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นสู่การต่อสู้ในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ แม้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์และทางนำสืบของโจทก์ขาดสาระสำคัญตามมาตรา 34 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 กล่าวคือมิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลย และได้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลที่ให้เลิกการเช่านาโดยยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 วรรคแรก แห่งกฎหมายดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดก, อายุความ, สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดก: ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาโจทก์ไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้วแม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องทรัพย์มรดกหลังพ้นอายุความ: สิทธิทายาทและการสละมรดก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องหนี้, การยึดเช็คเป็นหลักฐาน, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลย-ที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247
of 15