คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อเจ้าของไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และผลของการรับเงินค่าเช่า
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อใช้ประโยชน์ไม่ได้, บทสันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหัก เสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้นหมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่อาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง ย่อมเป็นความเสียหายร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าต้องซ่อมแซมตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลยจำเลยไม่สามารถแสดงได้ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้วกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกว่าฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วมกันในคดีละเมิด และความชัดเจนของคำฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงฟ้องคดีร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แม้มูลหนี้เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกันแต่ความเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคนย่อมต้องแล้วแต่ผลแห่งละเมิดที่โจทก์แต่ละคนได้รับจากมูลละเมิดนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์จึงมิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ดังนั้นโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้ค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเท่าใดการที่โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดรวมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการบรรยายคำขอบังคับไม่แจ้งชัดคำฟ้องของโจทก์จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดแจ้งถึงเหตุขัดแย้งในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องค่าเสียหาย โดยยกเอาคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาเป็นข้อบรรยายแล้วสรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เอง เป็นทำนองว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มีความขัดแย้งกันเอง โดยไม่มีข้อความบรรยายให้ปรากฏชัดว่าขัดแย้งในเรื่องใด เพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780-5781/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากไม่ได้คัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว แต่เน้นเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาด
จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ของจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยกลับอ้างแต่เหตุอันควรเพิกถอนการขายทอดตลาดว่าราคาต่ำไป และมีคำขอท้ายฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780-5781/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยอ้างเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยไม่คัดค้านคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว
++ คดีแดงที่ 5780-5781/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ 3 ++
++
จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ของจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยกลับอ้างแต่เหตุอันควรเพิกถอนการขายทอดตลาดว่าราคาต่ำไป และมีคำขอท้ายฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การปฏิเสธการยอมรับสิทธิสัญญาเมื่อภาระเกินประโยชน์
ความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ที่ว่าทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินเป็นสิทธิที่ผู้ร้องผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อจะพึงได้รับทั้งสองฝ่ายหาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เพราะในขณะที่ผู้ร้องในฐานะผู้เช่าซื้อจะได้รับโอนบ้านและที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาจำเลยในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนซึ่งขาดอยู่ตามสัญญานั้นเช่นกัน บ้านและที่ดินแปลงย่อยที่ผู้ร้องทั้งหมดขอปฏิบัติตามสัญญาอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งติดจำนองธนาคาร ท.เจ้าหนี้มีประกันที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166 ล้านบาทเศษ โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) แม้จะนำสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินแปลงย่อยขายทอดตลาดเงินที่ได้ก็ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาคือได้ไม่เท่าเสีย แทนที่กองทรัพย์สินของจำเลยจะเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับทำให้ลดน้อยลงเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องไม่ถอนที่ดินแปลงใหญ่เมื่อนำมาโอนให้ผู้ร้องกับพวกที่เช่าซื้อทั้งหมดเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา การที่เจ้าหนี้มีประกันขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันดังกล่าวเป็นสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่มีหน้าที่ขายทรัพย์โดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนองเท่านั้น และการที่ต้องขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแสดงให้เห็นว่ากองทรัพย์สินของจำเลยไม่พอไถ่ถอนจำนองซึ่งเป็นจำนวนมากได้ ประกอบกับยังมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินถึง 1,271 ล้านบาทเศษ เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ อันทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ข้ออ้างที่ว่าธนาคาร ท.ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้ไปแล้ว 30 ล้านบาท และจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก โดยคำนวณแล้วเมื่อนำออกขายทอดตลาดจะได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทนั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้หรือไม่ซึ่งจะต้องพิจารณาเฉพาะสิทธิหรือประโยชน์และภาระตามสัญญาที่จะตกแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ธนาคารท.ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เนื่องจากหนี้จำนองเกิดจากการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับพวกและธนาคารท.จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันหรือไม่มีประกันนั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นกล่าวอ้างไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่มีข้อความบัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 158 ฉะนั้น ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรย่อมแล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอ สมควรมีคำสั่งโดยไม่จำต้องไต่สวนคำร้องหรือสืบพยานผู้ร้องเสียก่อน ก็อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรง การฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่กระทบความเสียหายร้ายแรงไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
แม้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นประการใดและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรือไม่เพียงใด จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายโดยตรง นายจ้างจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง อ้างว่ากระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำยังไม่เป็นความผิดร้ายแรงจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าแม้มิใช่กรณีร้ายแรง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือไปจากข้ออ้างที่ยกขึ้นเป็นเหตุตามคำร้องเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโจทก์ไม่ได้ยกเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพียงกล่าวอ้างไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น
ฎีกาของโจทก์มิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบในข้อไหน อย่างไร คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเท้าความถึงการพิจารณาในศาลชั้นต้นนับแต่โจทก์ยื่นคำฟ้องจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้อง และว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และให้รับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งในฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
of 15