คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการวินิจฉัยประเด็นสำคัญที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอม แต่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องนั้นแม้ศาลพิพากษายกฟ้องแต่ข้อเท็จจริงที่ว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินนั้นต่อจากจำเลยที่1ดังนั้นการที่จำเลยที่2อุทธรณ์ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่แท้จริงจึงเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อรู้เหตุละเมิดและตัวผู้กระทำ
จำเลยที่1ถึงที่6และป. เจ้ามรดกของจำเลยที่7ได้ร่วมกันขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาโดยอาศัยคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ด. ผู้จะซื้อเมื่อวันที่19ธันวาคม2532แสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้นมาโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่11พฤษภาคม2535เกินกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์จะอ้างว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องหาได้ไม่ ที่โจทก์อ้างว่าเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งเจ็ดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความไว้จึงต้องบังคับตามอายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์โดยชอบต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระผูกพันตามสัญญาภารจำยอม, การโอนสิทธิและหน้าที่, การประพฤติผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้รับโอน
จำเลยที่1ได้แบ่งแยกที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ออกเป็น5แปลงแล้วยกให้จำเลยที่2ถึงที่4ทางภารจำยอมบนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ของโจทก์ยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนของที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง5แปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1395 จำเลยที่1โอนที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่2ถึงที่4ไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับจำเลยที่1ให้เพิกถอนสัญญาภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์แถลงว่าจำเลยที่4ไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมกรณีไม่มีข้อโต้แย้งกันจึงไม่มีข้อพิพาทที่โจทก์จะบังคับจำเลยที่4ตามฟ้องได้ การจดทะเบียนภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มีข้อตกลงและเงื่อนไขว่าเจ้าของสามยทรัพย์จะนำเอาทางภารจำยอมไปให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้เด็ดขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์และหากมีการเปิดทางภารจำยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยบรรดาผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่างๆยินยอมให้ตกได้แก่เจ้าของภารยทรัพย์แต่ผู้เดียวข้อตกลงดังกล่าวแสดงถึงเจตนาของโจทก์เจ้าของภารยทรัพย์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์อย่างชัดเจนคู่สัญญาย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติย่อมเป็นการประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิเมื่อจำเลยที่2และที่3ต่างได้รับการยกให้ที่ดินสามยทรัพย์มาจากจำเลยที่1จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่คือต้องปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาภารจำยอมโดยจะนำที่ดินสามยทรัพย์ของตนไปเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นมาร่วมใช้ไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากโจทก์เมื่อจำเลยที่2นำที่ดินสามยทรัพย์ที่คงเหลือจากการแบ่งแยกไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นอีก4แปลงผ่านแล้วมาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ได้เปิดทางให้บุคคลอื่นที่มีบ้านในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมในที่ดินโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะการกระทำของจำเลยที่2และที่3เป็นการประพฤติผิดสัญญาและเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมได้เพราะที่ดินของจำเลยที่2และที่3เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์ในทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์ ฎีกาของจำเลยที่2และที่3ที่ว่าได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความตามฟ้องแย้งนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องแย้งโดยฟังว่าจำเลยที่2และที่3ไม่ได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความจำเลยที่2และที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์และยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม สินสมรส การใช้สิทธิเกินส่วน และขอบเขตอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยทั้งสองจะได้ให้การต่อสู้ว่า ร.ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมของร. จริงหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้มาด้วยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของ ร. จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่คู่ความอุทธรณ์อันเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์การที่จำเลยที่1ฎีกาว่า ร.ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ตนเพียงคนเดียวจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่พิพาทเป็น สินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์เมื่อ ร. ตายจึงตกเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งตกทอดแก่ทายาทดังนั้นโจทก์และจำเลยที่1จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่พิพาทโดยจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เพียงบางส่วนเมื่อปรากฏว่าที่พิพาทยังมิได้มีการแบ่งแยกกัน ครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วโจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่1ให้ออกจากที่พิพาทได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งปลูกบ้านในที่พิพาทโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิ ฟ้องขับไล่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เป็นส่วนน้อยจำเลยที่1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่พิพาทเป็นคดีใหม่ตามส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม แม้มีข้ออ้างเรื่องนิติกรรมอำพราง ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
เมื่อคำให้การจำเลยแปลความได้ว่า จำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้ว จำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น หาได้มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้ จึงกระทำด้วยเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และจ.3 ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และประเด็นการชำระหนี้ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
เมื่อคำให้การจำเลยแปลงความได้ว่าจำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้วจำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าวสัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้นหาได้มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้จึงกระทำด้วยเอกสารหมายล.1ถึงล.3และจ.3ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันภัย: รายละเอียดไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง, ประเด็นข้อหาต่างกันไม่เป็นฟ้องซ้อน, การยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
ในการฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยประกันภัยที่จะต้องส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาตัวแทน และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า รถยนต์ที่รับประกันภัยแต่ละคันราคาเท่าใด จำนวนเบี้ยประกันภัยแต่ละคันเป็นเงินเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม
คดีแรกโจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยที่ 1 เก็บมาจากลูกค้าของโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้เงินตามเช็ค ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าของโจทก์แล้วไม่นำส่งให้โจทก์ เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตัวแทนไม่นำส่งเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากลูกค้าให้โจทก์ สภาพแห่งข้อหาของทั้งสองคดีต่างกัน แม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากเบี้ยประกันภัยเช่นเดียวกันก็ตาม ฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบต้นฉบับเอกสาร ต้องห้ามมิให้รับฟัง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยค้างส่งเบี้ยประกันภัยนั้น ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างส่งเบี้ยประกันภัยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ประเด็นข้อนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม-ไม่เป็นฟ้องซ้อน-สิทธิในการอุทธรณ์ยุติ-ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
ในการฟ้องเรียกให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยประกันภัยที่จะต้องส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาตัวแทนและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันนั้นโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่ารถยนต์ที่รับประกันภัยแต่ละคันราคาเท่าใดจำนวนเบี้ยประกันภัยแต่ละคันเป็นเงินเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม คดีแรกโจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คที่จำเลยที่1สั่งจ่ายมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยที่1เก็บมาจากลูกค้าของโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยที่1ใช้เงินตามเช็คส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นตัวแทนเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าของโจทก์แล้วไม่นำส่งให้โจทก์เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาตัวแทนไม่นำส่งเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากลูกค้าให้โจทก์สภาพแห่งข้อหาของทั้งสองคดีต่างกันแม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากเบี้ยประกันภัยเช่นเดียวกันก็ตามฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบต้นฉบับเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยค้างส่งเบี้ยประกันภัยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างส่งเบี้ยประกันภัยแก่โจทก์ตามฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ประเด็นข้อนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การใช้รถลากจูงและความรับผิดของผู้รับประกัน
ตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยไม่ประสงค์จะคุ้มครองถึงกรณีที่มีการใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไปลากจูงหรือผลักดันอันทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อโจทก์ผู้เอาประกันใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยกับจำเลยลากจูงรถคันอื่นและเกิดเหตุคดีนี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุโดยตรงจากการลากจูงหรือไม่ ก็ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งความคุ้มครอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้องปรากฏเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลย โดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้วหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้มาก็เป็นการวินิจฉัยที่มิชอบ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำหลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก
คดีเดิมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วยแต่ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปถึงวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ10,000บาทศาลได้พิพากษาตามยอมเมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพ้นวันที่31กรกฎาคม2532แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่าโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อนโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำฟ้องซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่จำต้องวินิจฉัย
of 15