คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำหลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก
คดีเดิมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วยแต่ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปถึงวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ10,000บาทศาลได้พิพากษาตามยอมเมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพ้นวันที่31กรกฎาคม2532แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่าโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อนโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำฟ้องซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างใหม่ในฎีกา: ห้ามฎีกาเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์ โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่2สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะหากไม่ทำเป็นหนังสือ สิทธิและหน้าที่โอนไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
เอกสารที่โจทก์ที่2และจำเลยกระทำไว้ต่อกันระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าบ้านระบุเงื่อนไขในการเช่าบ้านไว้รวม12ข้อแล้วลงลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในฐานะผู้ให้เช่าส่วนจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าสัญญาดังกล่าวหาได้มีข้อความอันแสดงว่าโจทก์ที่2เอาทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยเงื่อนไขที่จำเลยได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวอันจะถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่แม้ทางด้านหลังของเอกสารดังกล่าวจะมีข้อความหมายเหตุซึ่งสามีโจทก์ที่2เขียนไว้ว่า"เมื่อผู้เช่าชำระเงินครบจำนวน300,000บาท(สามแสนบาทถ้วน)ผู้ให้เช่าจะโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ผู้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครองแต่ค่าโอนผู้เช่าต้องเป็นผู้ออกถ้าผู้เช่า-ผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่กรรมลงทายาทมีสิทธิดำเนินการต่อตามกฎหมาย"ก็ตามแต่ข้อความตามหมายเหตุนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากหนังสือสัญญาเช่าบ้านแม้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยอ้างเมื่อโจทก์ที่2มิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือการเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572วรรคสองจำเลยไม่อาจบังคับให้โจทก์ที่2ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้เมื่อวินิจฉัยดังนั้นแล้วปัญหาว่าโจทก์ที่1รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้โจทก์ที่1ไม่ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ที่1ด้วยได้ จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2532จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่2ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่27เมษายน2530สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่2ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกค่าเช่าโอนไปยังผู้ซื้อ
เอกสารที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยกระทำไว้ต่อกันระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าบ้าน ระบุเงื่อนไขในการเช่าบ้านไว้รวม 12 ข้อ แล้วลงลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ให้เช่า ส่วนจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าสัญญาดังกล่าวหาได้มีข้อความอันแสดงว่าโจทก์เอาทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยเงื่อนไขที่จำเลยได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว อันจะถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่แม้ทางด้านหลังของเอกสารดังกล่าวจะมีข้อความหมายเหตุ ซึ่งสามีโจทก์ที่ 2 เขียนไว้ว่า "เมื่อผู้เช่าชำระเงินครบจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ผู้ให้เช่าจะโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ผู้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครอง แต่ค่าโอนผู้เช่าต้องเป็นผู้ออก ถ้าผู้เช่าผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่กรรมลง ทายาทมีสิทธิดำเนินการต่อตามกฎหมาย" ก็ตาม แต่ข้อความตามหมายเหตุนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากหนังสือสัญญาเช่าบ้าน แม้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อโจทก์ที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือ การเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง จำเลยไม่อาจบังคับให้โจทก์ที่ 2ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้ เมื่อวินิจฉัยดังนั้นแล้ว ปัญหาว่าโจทก์ที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง กรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ที่ 1ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ที่ 1 ด้วยได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2532 จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่ 2 ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2530 สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 วรรคสอง โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: เหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดก, การอ้างทายาทเพิ่มเติม, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์
ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้ว เหตุแห่งการขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกจึงหมดไปกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีก
ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องปกปิดความจริงว่า ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอีกคนหนึ่ง และยังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ผู้ร้องมิได้ระบุมาในคำร้อง เมื่อผู้คัดค้านมิได้มีข้อเท็จจริงอื่นมาประกอบเพื่อให้รับฟังโดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดทรัพย์มรดกและทายาท อันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ผู้ร้องไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ทั้งคำร้องของผู้คัดค้านก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่สามารถหรือละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้สมควรสั่งเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำร้องคัดค้านมาแต่แรก เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ยังถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้ในกรณีเช่นนี้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจริง ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันโมฆียะกรรมโดยปริยาย แม้ต่อมาจะบอกล้าง แต่มีผลสมบูรณ์เมื่อได้กระทำการแสดงเจตนาไปแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและสิทธิของผู้ค้ำประกัน
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วหากจะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 การที่ผู้ร้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจะขอเข้ารับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้กระทำได้ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาที่ว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เนื่องจากไม่เปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หลังหมดกำหนด ยื่นขอรับช่วงสิทธิการรับชำระหนี้ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วหากจะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91การที่ผู้ร้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วผู้ร้องจะขอเข้ารับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483ให้กระทำได้เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วปัญหาที่ว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่จึงไม่ต้องวินิจฉัยเนื่องจากไม่เปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีบุกรุกที่ดินและประเด็นคำให้การที่ไม่ชัดเจน ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าจำเลยที่1บุกรุกที่ดินโจทก์และนำที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่2เช่าปลูกอ้อยจำเลยที่1ให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่1ไม่ใช่ของโจทก์หากฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีย่อมขาดอายุความฟ้องร้องเพราะจำเลยที่1เข้าทำประโยชน์มาก่อนฟ้องเกินกว่า1ปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคแรก
of 15