พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัยโดยตรง และอายุความฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย
แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องห้างฯ น.ผู้เอาประกันภัยเป็นจำเลยด้วยแต่เมื่อได้ความว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน เพราะโจทก์ชอบจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ที่ 9 ที่ 10 ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 วรรคแรก มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 10 รวม ๆ กันมาโดยไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง จำเลยที่ 3ไม่ได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดและค่าเสียหายที่แท้จริงของโจทก์แต่ละคนควรจะเป็นเท่าใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4930/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายสินสมรส: สิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริตและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฎีกาว่า คำให้การของจำเลยทั้งห้าไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น ปัญหาว่าคดีมีประเด็นเรื่องอายุความหรือไม่จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เหตุสุดวิสัย ทนายความเพิ่งได้รับมอบอำนาจและสำเนาคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยคำร้องขอขยายระยะเวลาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลชั้นต้นใช้เวลาพิจารณาพิพากษา2 ปี จำเลยที่ 1 แต่งทนายความชั้นอุทธรณ์ในระยะกระชั้นชิดทนายจำเลยที่ 1 ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาได้ จึงเป็นเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายประการใดบ้าง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีชดเชยค่าระวางเรือให้บริษัทในเครือ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ขอให้สั่งให้จำเลยงดเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลดเงินเพิ่มจึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยอมรับผิดต่อผู้ซื้อในค่าระวางเรือสำหรับน้ำหนักสินค้าที่ขาดไปเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ก็เพื่อลดต้นทุนของผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมนำค่าระวางเรือดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายและนำมาเป็นรายรับเพิ่มขึ้น จึงชอบแล้ว
โจทก์ยอมรับผิดต่อผู้ซื้อในค่าระวางเรือสำหรับน้ำหนักสินค้าที่ขาดไปเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ก็เพื่อลดต้นทุนของผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมนำค่าระวางเรือดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายและนำมาเป็นรายรับเพิ่มขึ้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิ แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ก็ถือเป็นทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต แต่จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เพราะการเอาไปไม่ใช่การถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้หลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ไม่ใช่การทำลายเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต แต่จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 เพราะการเอาไปไม่ใช่การถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้หลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองจากผู้จำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานของลูกหนี้ แม้หนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ผู้จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับจำนองจากการกระทำของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยในศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคือมีสิทธิบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแต่ก็หาตัดสิทธิโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่จะบังคับชำระหนี้อันเกิดจากความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม) และมาตรา 745ไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยแก่จำเลยที่ 2ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินตามฟ้องของจำเลยที่ 2 มาจำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ก่อความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทจำเลยที่ 2 จึงมิใช่มีฐานะเป็นเพียงผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เท่านั้นแต่เป็นผู้จำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 อาจก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้นั้นจากทรัพย์สินที่จำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม)(มาตรา 193/27 ใหม่)และมาตรา 745 ได้ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกันนั้นจะขาดอายุความหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1ด้วยการทำสัญญารับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ทั้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แปลงหนี้ใหม่ โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็นหรือยินยอมด้วยจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นความรับผิด ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก เหตุไม่ได้ระบุข้อผิดพลาดทางกฎหมายในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ฎีกาโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าข้อนำสืบของจำเลย ข้อวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อไหนอย่างไรให้ชัดแจ้ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารสิทธิเพื่อปกปิดการยักยอก สิทธิฟ้องระงับเมื่อคดีถึงที่สุด
จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบรับเงินแล้วใช้เอกสารปลอมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ร่วม เพื่อปกปิดการกระทำของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินบางส่วนของโจทก์ร่วมไป แม้การปลอมเอกสารดังกล่าวจะกระทำภายหลังที่จำเลยยักยอกเงินไปแล้วก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับที่จำเลยได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป โดยจำเลยมีเจตนาที่จะใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั่นเอง ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานยักยอก จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าว และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ที่โจทก์ฎีกาว่าการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นการกระทำในเวลาต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมกันนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวระงับไปแล้วฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่ 4 (ผู้รับเหมาช่วง) ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องได้ตามกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหายที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การยกเรื่องฟ้องของโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 เข้าทำสัญญาจ้างและรับเงิน แต่จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3ที่ 4 ลงชื่อในใบรับเงิน และจำเลยที่ 1 ยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปีระบุรายได้ว่าจากการรับเหมาก่อสร้างเป็นเงินที่ขาดทุนสุทธิตรงกับงบดุลของจำเลยที่ 1 และตามงบกำไรขาดทุนของจำเลยที่ 1ก็ระบุรายได้ไว้ในรายการแรกว่าได้จากการรับเหมาก่อสร้างจำนวนเงินตรงกับใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ที่รับเงินงวดที่ 1 ซึ่งออกให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ยอมเข้ารับเอาผลงานที่จำเลยที่ 4ได้กระทำไปเกินขอบอำนาจของตัวแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการกระทำผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 โจทก์ว่าจ้าง จ. ทำงานส่วนที่เหลือต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งทิ้งงาน โจทก์จึงต้องจ่ายเงินค่าจ้างงานทั้งหมดเป็นเงินเท่ากับเงินที่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว 1 งวด จำนวน 149,800 บาทบวกด้วยเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ จ. เป็นค่าจ้างในการทำงานส่วนที่เหลืออีก 782,965 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 932,765 บาทเพราะฉะนั้นโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินเท่ากับเงินจำนวนดังกล่าวลบด้วยค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 หากทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างจำนวน 749,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน 183,765บาท จำนวนเงินดังกล่าวคือค่าเสียหายจริงที่โจทก์ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หลักประกันเป็นเงินสดที่ผู้รับจ้างมอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงินประกันความเสียหาย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์รับไปแล้วต้องนำไปหักออกจากค่าเสียหายในจำนวนทั้งหมดด้วย