คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แถมชัย สิทธิไตรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 388 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีแพ่งและอาญา: ศาลวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยโดยไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาอาญา
การที่ศาลวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีส่วนแพ่งว่าการที่รถโจทก์จำเลยชนกันเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ร่วมด้วยหาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งขัดหรือกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาที่ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าการที่รถโจทก์จำเลยชนกันเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ร่วมด้วย จึงเป็นการชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังไม่โอนเมื่อราคายังไม่ครบถ้วน แม้ต่อเติมกระบะก็เป็นส่วนควบ เจ้าของมีสิทธิเอาคืน
โจทก์ขายรถยนต์ซึ่งมีแต่โครงรถยนต์และเครื่องยนต์ให้จำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไขจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนแล้วจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ต่อเติมกระบะเข้ากับรถยนต์โจทก์ กระบะนั้นเป็นส่วนควบของรถยนต์โจทก์จึงฟ้องขอให้แสดงว่ารถยนต์ทั้งคันเป็นของโจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิโอนขายรถยนต์ให้จำเลยที่ 5 และขายต่อให้จำเลยที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การที่บริษัทนายจ้างปลดลูกจ้างทั้งสองออกจากงานโดยข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าลูกจ้างทั้งสองทุจริตต่อหน้าที่และมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทนายจ้างดังที่บริษัทนายจ้างอ้าง และลูกจ้างทั้งสอง เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมีตำแหน่งประธานและเลขาธิการซึ่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนายจ้างต้องการให้ยุบสหภาพนั้น แต่ลูกจ้างทั้งสองไม่ยินยอมนอกจากนี้ลูกจ้างทั้งสองยังได้ทำหนังสือร้องเรียนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้ปรับปรุงบริษัทนายจ้างโดย อ้างว่ามีการทุจริต ทั้งยังได้นำพนักงานของบริษัทนายจ้างเรียกร้องผลประโยชน์อีกหลายเรื่องพฤติการณ์ดังนี้น่าเชื่อว่าลูกจ้างทั้งสอง ถูกปลดออกจากงาน เพราะเหตุเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานอันเป็น การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การที่บริษัทนายจ้างปลดลูกจ้างทั้งสองออกจากงานโดยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าลูกจ้างทั้งสองทุจริตต่อหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทนายจ้างดังที่บริษัทนายจ้างอ้าง และลูกจ้างทั้งสองเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมีตำแหน่งประธานและเลขาธิการ ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนายจ้างต้องการให้ยุบสหภาพนั้น แต่ลูกจ้างทั้งสองไม่ยินยอม นอกจากนี้ลูกจ้างทั้งสองยังได้ทำหนังสือร้องเรียนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้ปรับปรุงบริษัทนายจ้างโดยอ้างว่ามีการทุจริต ทั้งยังได้นำพนักงานของบริษัทนายจ้างเรียกร้องผลประโยชน์อีกหลายเรื่อง พฤติการณ์ดังนี้น่าเชื่อว่าลูกจ้างทั้งสองถูกปลดออกจากงานเพราะเหตุเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบิดามารดา ความสมบูรณ์ของสถานะทางกฎหมาย และการฟ้องคดีรับบุตร
การเป็นบิดากับบุตรระหว่างนาย บ.กับผู้ร้องมีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จึงนำบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับได้ไม่
ปัญหาว่าการฟ้องคดีนี้ขอให้รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะนั้น ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ มิฉะนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญ มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการสลักหลังเช็คและมอบอำนาจให้รับชำระหนี้ ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172
ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนต่อหลักฐานในสำนวน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยสลักหลังเช็คของผู้อื่นมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงทำหนังสือมอบอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีอยู่ต่อผู้อื่นให้โจทก์เพื่อไปรับชำระหนี้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการสลักหลังเช็คและมอบอำนาจให้รับเงินจากลูกหนี้ของจำเลย ถือเป็นการรับสภาพหนี้ตามกฎหมาย
ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนต่อหลักฐานในสำนวน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยสลักหลังเช็คของผู้อื่นมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ต่อมาธนาคารปฏิเสธว่าจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงทำหนังสือมอบอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อผู้อื่นให้โจทก์เพื่อไปรับชำระหนี้ดังกล่าว ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การอ้างข้อตกลงใหม่หลังผิดสัญญาไม่เป็นเหตุให้ระงับบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วต่อมาจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 คำร้องของจำเลยที่ 4 ที่อ้างว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับการบังคับคดีใหม่กับโจทก์ เป็นการกระทำนอกศาลเมื่อโจทก์ปฏิเสธ จำเลยที่ 4 จึงจะยกมาเป็นเหตุไม่ให้ศาลดำเนินการบังคับคดีต่อไปหาได้ไม่ ศาลยกคำร้องของจำเลยที่ 4 ได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนเสียก่อน
of 39