พบผลลัพธ์ทั้งหมด 388 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์เรื่องความเคลือบคลุมของฟ้อง และการอนุญาตให้เจ้าของที่ดินเข้าเป็นโจทก์ร่วม
การที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะชื่อโจทก์ในฟ้องไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความจริงมีถึง 2 คน จะให้จำเลยเข้าใจได้ถูกต้องว่าอะไรแน่นั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเหตุแห่งความเคลือบคลุมของฟ้องโจทก์ขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากที่ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นฎีกานอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่เข้าครอบครองที่ดินที่เช่าไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ถ้าโจทก์แพ้คดีโจทก์ไม่สามารถเรียกค่าทดแทนที่ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินตามสัญญาจากโจทก์ร่วมได้และอาจถูกโจทก์ร่วมเรียกค่าเสียหายได้ด้วยดังนี้ จึงเป็นเหตุจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) ที่จะอนุญาตให้หมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีได้ โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีอำนาจฟ้องให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่เข้าครอบครองที่ดินที่เช่าไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ถ้าโจทก์แพ้คดีโจทก์ไม่สามารถเรียกค่าทดแทนที่ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินตามสัญญาจากโจทก์ร่วมได้และอาจถูกโจทก์ร่วมเรียกค่าเสียหายได้ด้วยดังนี้ จึงเป็นเหตุจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) ที่จะอนุญาตให้หมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีได้ โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีอำนาจฟ้องให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128-2132/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ก็มีผลตามสภาพ หากมีการออก น.ส.3ก. ไม่ชอบด้วยกม. เจ้าหน้าที่เพิกถอนได้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่ดินนั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียนไว้ที่พิพาทเป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรในหมู่บ้านใช้ประโยชน์ร่วมกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วจึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(2)
โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก)ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ครอบครองการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) ให้ไปไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ว่าราชการจังหวัดชอบที่จะดำเนินการเพิกถอนเสียได้ตาม มาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334
โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก)ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ครอบครองการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) ให้ไปไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ว่าราชการจังหวัดชอบที่จะดำเนินการเพิกถอนเสียได้ตาม มาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: สิทธิในการรับมรดกเทียบเท่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าเป็นพี่ผู้ตายขอให้พิพากษาว่าที่ดินที่ผู้ตายครอบครองอยู่เป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับจำเลยไม่มีสิทธิรับมรดกห้ามเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่าเป็นบุตรผู้ตายได้ยื่นเรื่องราวขอรับมรดกผู้ตายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วนั้นจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การนอกประเด็นแต่ประการใด
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนทำสัญญาประกันภัย: จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยจริง แม้ใช้ชื่อผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์แต่ใส่ชื่อ ว. เป็นเจ้าของในทะเบียน และให้ ว. นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการเชิด ว. ให้เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 เองจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1ประมาทขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์โจทก์เสียหายโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญานั้นได้ไม่ต้องวินิจฉัยว่าการเชิดออกเป็นตัวแทนเช่าซื้อรถยนต์ต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เอง ซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส. 3 และ ทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณ โจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่า จำเลยจะต้องออก น.ส. 3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการ ออกน.ส. 3 จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออก น.ส. 3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส. 3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส. 3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนด เวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหากำไร จึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกัน ไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมด ทั้งสองแปลง เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้ว แม้จำเลยขอออก น.ส. 3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้การออก น.ส. 3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนด เวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหากำไร จึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกัน ไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมด ทั้งสองแปลง เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้ว แม้จำเลยขอออก น.ส. 3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เองซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส.3. และทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณโจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่าจำเลยจะต้องออก น.ส.3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการออก น.ส.3. จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออกน.ส.3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส.3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส.3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อหากำไรจึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า "หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกันไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดทั้งสองแปลง" เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้วแม้จำเลยขอออก น.ส.3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้การออก น.ส.3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อหากำไรจึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า "หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกันไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดทั้งสองแปลง" เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้วแม้จำเลยขอออก น.ส.3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิมไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ตามคำให้การจำเลย จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่พิพาทให้จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา1381,1375 ได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยโต้แย้งแย่งหรือรบกวนการครอบครองของโจทก์ด้วยการไม่ยอมให้ไถ่ที่พิพาทคืนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดถูกต้องตามระเบียบ แม้มีผู้ประมูลน้อยรายและขายเหมาแปลง ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
ในวันขายทอดตลาด จำเลยได้มาฟังการขายทอดตลาดด้วยนอกจากนี้ยังมีผู้มาฟังการขายอีก 3 คน การที่โจทก์และ บ. เข้าประมูลราคาเพียง 2 คนก็ดี หรือการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยโดยวิธีขายเหมาทั้งสามแปลงก็ดีเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะพิจารณาดำเนินการตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309 ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดการขายทอดตลาดทรัพย์ได้กระทำไปโดยถูกต้องตามระเบียบแล้วจะขอให้ขายใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองวัตถุระเบิดชนิดสงครามหลังกฎหมายแก้ไข: การใช้กฎหมายย้อนหลังต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดโดยมีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2522อันเป็นเวลาหลังจากที่ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนมาตรา 55 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 6 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งใน มาตรา 55 ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติถึงวัตถุระเบิดสำหรับแต่เฉพาะในการสงครามว่าเป็นความผิดคงบัญญัติถึงประเภท ชนิด และขนาดของวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เท่านั้นแม้ในวันที่จำเลยกระทำผิดจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอยู่แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าวัตถุระเบิดชนิดใดบ้างที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้จึงถือไม่ได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีในวันเกิดเหตุเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจอนุญาตได้แม้ต่อมาจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอันจะถือได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตามแต่กฎกระทรวงดังกล่าวประกาศใช้ภายหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดจึงนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อฉลในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ดิน: การระบุเนื้อที่ประมาณการและการเข้าดูที่ดินก่อนทำสัญญา
ที่ดินที่จำเลยตกลงยกให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแต่มีการระบุเขตติดต่อของที่ดินไว้ทั้งสี่ด้านและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ไปดูที่ดินจนเป็นที่พอใจแล้วนอกจากนี้การที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ก็แสดงว่าจำเลยก็ไม่ทราบจำนวนเนื้อที่แน่นอนดังนั้นแม้จะปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่เพียง 7 ไร่ ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อฉลโจทก์