คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2508

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และการชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม
การคำนวณราคาตลาดขายสิ่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกสำหรับสินค้าที่เป็นน้ำมัน น้ำมันเบนซิน ฯลฯ ให้คำนวณโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 8) เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าข้อ1(ค) นั้น คำว่า "ราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก" หมายความว่า ราคาขายส่งในช่วงสุดท้ายให้แก่ผู้ขายปลีกซึ่งจะจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง เมื่อปรากฏว่าน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงซื้อจากโจทก์องค์การเชื้อเพลิงได้ขายบางส่วนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และขายปลีกให้ประชาชน กับขายส่งให้แก่ตัวแทนคือปั๊มน้ำมันสามทหารซึ่งเป็นของเอกชน ซึ่งขายปลีกให้แก่ประชาชนทั่วไปอีกทีหนึ่งราคาน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงขายก็แตกต่างกัน แสดงว่าราคาตลาดขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกเฉพาะที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงจึงมิใช่มีเพียงราคาเดียว แต่มี 2 ราคาคือ (1) ราคาขายส่งที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงแล้วองค์การเชื้อเพลิงขายปลีกให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและประชาชน (2) ราคาขายส่งที่องค์การเชื้อเพลิงในฐานะผู้ขายส่งตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การเชื้อเพลิงขายให้แก่ตัวแทน คือปั๊มน้ำมันสามทหารเพื่อขายปลีกให้แก่ประชาชน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันของโจทก์โดยนำจำนวนเงินที่โจทก์ขายส่งให้แก่องค์การเชื้อเพลิงทั้งสองราคาดังกล่าวมาบวกกันแล้วหารด้วยปริมาณน้ำมันที่ขายส่งดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้เป็นราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อลิตร จึงเป็นการคำนวณราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ชอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 8) ดังกล่าว
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรเข้าข่ายการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อย ๆ จนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล