พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์"STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาติดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การตัดต่อเครื่องหมายเดิมและการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องคดีที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีกเห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำแม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างแต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเรื่องสิทธิเครื่องหมายการค้าในขณะที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการฟ้องคดีซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมาย คนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำเรื่องเครื่องหมายการค้าเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องซ้ำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ. และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้. เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ. ศาลพิพากษายกฟ้อง. โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก. ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด. โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก. เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่. ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว. ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ. แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง. แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX. ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น. ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้. เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา. โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1).